ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๒. อภิธรรมภาชนีย์
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๗๒] โพชฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

[๔๗๓] ในสภาวธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา๑- อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเปกขาสัมโพชฌงค์ ก็เกิดขึ้น [๔๗๔] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ เนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ (๑) ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (๒) วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ (๓) ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติสัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์ (๔) ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ความสงบ ความสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ภาวะที่สงบระงับ แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (๕) @เชิงอรรถ : @ ข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า (อภิ.สงฺ.อ. ๒๗๗/๒๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ (๖) อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน อุเบกขา ความวางเฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็นกลาง อุเปกขา- สัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ (๗) สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า โพชฌงค์ ๗ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต ด้วยโพชฌงค์ ๗
ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๗๕] โพชฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ [๔๗๖] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น อุเบกขา ความวาง เฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็นกลาง อุเปกขาสัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขา- สัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเปกขาสัมโพชฌงค์


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๓๖๑-๓๖๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=38              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=7275&Z=7346                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=553              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=553&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=8050              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=553&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=8050                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb10/en/thittila#ba300



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :