ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๖๔๒] อัปปมัญญา ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันไพบูลย์ กว้าง ขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลก ทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่ ๒. มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยกรุณาอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่ ๓. มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศ เฉียง ก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่ ๔. มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่๑- @เชิงอรรถ : @ ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ม.มู. ๑๒/๔๓๘/๓๘๕, อภิ.วิ. ๓๕/๖๙๙/๓๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๒๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. เมตตาอัปปมัญญานิทเทส

๑. เมตตาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๔๓] มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนคนเห็นคนผู้หนึ่ง ผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจแล้วพึงรักใคร่ฉะนั้น บรรดาคำเหล่านั้น เมตตา เป็นไฉน ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยเมตตานี้ เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา [๖๔๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่างๆ [๖๔๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป [๖๔๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อยู่ [๖๔๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ทิศต่างๆ ก็เช่นนั้น [๖๔๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก หมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมด โดยประการทั้งปวง ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๒๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๒. กรุณาอัปปมัญญานิทเทส

[๖๔๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา นั้น เมตตา เป็นไฉน ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยเมตตานี้ เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา [๖๕๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท [๖๕๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป [๖๕๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อยู่
๒. กรุณาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๕๓] มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคน ผู้หนึ่งผู้ตกทุกข์ได้ยากแล้วพึงสงสารฉะนั้น บรรดาคำเหล่านั้น กรุณา เป็นไฉน ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยกรุณานี้ เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตที่สหรคตด้วยกรุณา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๒๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๒. กรุณาอัปปมัญญานิทเทส

[๖๕๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่างๆ [๖๕๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป [๖๕๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอยู่ [๖๕๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ทิศต่างๆ ก็เช่นนั้น [๖๕๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก หมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้ [๖๕๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยกรุณา นั้น กรุณา เป็นไฉน ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต จิตนี้ เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยกรุณานี้ เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยกรุณา [๖๖๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท [๖๖๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป [๖๖๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๒๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. มุทิตาอัปปมัญญานิทเทส

๓. มุทิตาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๖๓] มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยมุทิตาไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคนผู้หนึ่ง ผู้เป็นที่รักชอบใจแล้วพลอยยินดีฉะนั้น บรรดาคำเหล่านั้น มุทิตา เป็นไฉน ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย นี้เรียกว่า มุทิตา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยมุทิตานี้ เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตที่สหรคตด้วยมุทิตา [๖๖๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่างๆ [๖๖๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป [๖๖๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอยู่ [๖๖๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่างๆ ก็เช่นนั้น [๖๖๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้ [๖๖๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา นั้น มุทิตา เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๓๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๔. อุเปกขาอัปปมัญญานิทเทส

ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้ชื่อว่ามุทิตา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยมุทิตานี้ เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่ามีจิตสหรคตด้วยมุทิตา [๖๗๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท [๖๗๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป [๖๗๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอยู่
๔. อุเปกขาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๗๓] มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคน ผู้หนึ่งผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ แล้วเป็นผู้มีอุเบกขาฉะนั้น บรรดาคำเหล่านั้น อุเบกขา เป็นไฉน ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเปกขาเจโต- วิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยอุเบกขานี้ เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่ามีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๓๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๔. อุเปกขาอัปปมัญญานิทเทส

[๖๗๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่างๆ [๖๗๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป [๖๗๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึง ชื่อว่าอยู่ [๖๗๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศ ที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ทิศต่างๆ ก็เช่นนั้น [๖๗๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก หมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้ [๖๗๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา นั้น อุเบกขา เป็นไฉน ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเปกขา- เจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยอุเบกขานี้ เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่ามีจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา [๖๘๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท [๖๘๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป [๖๘๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอยู่
สุตตันตภาชนีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๓๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๔๒๖-๔๓๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=51              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=8980&Z=9142                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=741              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=741&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=9549              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=741&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=9549                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb13/en/thittila



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :