ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๑๐. ทสกนิทเทส
[๙๖๖] บรรดาทสกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ ๑. โลภะ (ความโลภ) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ๓. โมหะ (ความหลง) ๔. มานะ (ความถือตัว) ๕. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๖. วิจิกิจฉา (ความสงสัย) ๗. ถีนะ (ความหดหู่) ๘. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ๙. อหิริกะ (ความไม่ละอายบาป) ๑๐. อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวบาป) เหล่านี้ชื่อว่ากิเลสวัตถุ ๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑๐. ทสกนิทเทส

[๙๖๗] อาฆาตวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน อาฆาตวัตถุ ๑๐ คือ ๑. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๒. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๓. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๔. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็น ที่รักที่ชอบพอของเรา ๕. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา ๖. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็น ที่รักที่ชอบพอของเรา ๗. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่ เป็นที่ชอบพอของเรา ๘. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ๙. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ๑๐. ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร เหล่านี้ชื่อว่าอาฆาตวัตถุ ๑๐ [๙๖๘] อกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นไฉน อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ ๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๕. ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) ๖. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๗. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) ๘. อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) ๙. พยาบาท (ปองร้ายเขา) ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิดจากคลองธรรม) เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลกรรมบถ ๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๑๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑๐. ทสกนิทเทส

[๙๖๙] สังโยชน์ ๑๐ เป็นไฉน สังโยชน์ ๑๐ คือ ๑. กามราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ) ๒. ปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ) ๓. มานสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมานะ) ๔. ทิฏฐิสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือทิฏฐิ) ๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือวิจิกิจฉา) ๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือสีลัพ- พตปรามาส) ๗. ภวราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือภวราคะ) ๘. อิสสาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออิสสา) ๙. มัจฉริยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมัจฉริยะ ๑๐. อวิชชาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา) เหล่านี้ชื่อว่าสังโยชน์ ๑๐ [๙๗๐] มิจฉัตตะ ๑๐ เป็นไฉน มิจฉัตตะ ๑๐ คือ ๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) ๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) ๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (พ้นผิด) เหล่านี้ชื่อว่ามิจฉัตตะ ๑๐ [๙๗๑] มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๒๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑๐. ทสกนิทเทส

๑. ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ๒. ความเห็นว่า การบูชาไม่มีผล ๓. ความเห็นว่า การเซ่นสรวงไม่มีผล ๔. ความเห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มี ๕. ความเห็นว่า โลกนี้ไม่มี ๖. ความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี ๗. ความเห็นว่า มารดาไม่มีคุณ ๘. ความเห็นว่า บิดาไม่มีคุณ ๙. ความเห็นว่า สัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะไม่มี ๑๐. ความเห็นว่า สมณะพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่ง เห็นจริงแจ้งประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วย ตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ไม่มีในโลก นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ [๙๗๒] อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ ๑. ความเห็นว่า โลกเที่ยง ๒. ความเห็นว่า โลกไม่เที่ยง ๓. ความเห็นว่า โลกมีที่สุด ๔. ความเห็นว่า โลกไม่มีที่สุด ๕. ความเห็นว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ๖. ความเห็นว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ๗. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคต๑ เกิดอีก ๘. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก ๙. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี @เชิงอรรถ : @ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้กันก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า @อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึง สัตตะ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๒๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

ตัณหาวิจริตนิทเทส

๑๐. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า ไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้ชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐
ทสกนิทเทส จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๖๑๘-๖๒๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=75              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=13507&Z=13599                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1026              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=1026&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=13095              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=1026&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=13095                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila#pts-s966



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :