ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๕)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก
[๗๙๙] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.วิ. (แปล) ๒๖/๖๔๓-๖๔๕/๗๑, ๗๕๒-๗๕๔/๘๗-๘๘ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๙/๒๙๖) @ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าย่อมไม่ทรงฉันอะไรๆ แต่เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก ย่อมทรงแสดงพระ @องค์เหมือนกับว่าทรงฉันอยู่ ดังนั้น การถวายทานแด่พระพุทธเจ้าจึงไม่ควรกล่าวว่ามีผลมาก @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๙/๒๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๓๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค]

๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๕)

สก. พระผู้มีพระภาคเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธาน เป็นผู้อุดม เป็นผู้ล้ำเลิศกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย หาผู้เสมอมิได้๑- เสมอกับบุคคลผู้หาผู้ เสมอมิได้๒- ไม่มีใครเปรียบเทียบ๓- ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ๔- หาบุคคลเปรียบเทียบ มิได้๕- ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธาน เป็นผู้อุดม เป็นผู้ล้ำเลิศกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย หาผู้เสมอมิได้ เสมอกับ บุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้ ไม่มีใครเปรียบเทียบ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ หาบุคคล เปรียบเทียบมิได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามี ผลมาก” สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ใครๆ ที่เสมอเหมือนพระพุทธเจ้าโดยศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่มี สก. หากใครๆ ผู้เสมอเหมือนพระพุทธเจ้าโดยศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มี ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” @เชิงอรรถ : @ หาผู้เสมอมิได้ หมายถึงไม่มีสรรพสัตว์เท่าเทียมกับพระองค์ เพราะไม่มีบุคคลจะเปรียบเทียบได้ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕) @ เสมอกับบุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้ หมายถึงทรงเป็นผู้เสมอกับสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ทั้งในอดีตและ @อนาคต ซึ่งหาผู้เสมอมิได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕) @ ไม่มีใครเปรียบเทียบ หมายถึงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงธรรมที่พระตถาคตแสดงไว้ได้ เช่น @สติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่มีใครสามารถแสดงย่อให้เหลือเป็น ๓ ประการ หรือเพิ่มให้เป็น ๕ ประการได้ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕) @ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ หมายถึงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงธรรมที่พระตถาคตแสดงไว้ได้ เช่น @สติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่มีใครสามารถแสดงย่อให้เหลือเป็น ๓ ประการ หรือเพิ่มให้เป็น ๕ ประการได้ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕) @ หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้ หมายถึงไม่มีใครอื่นที่จะกล้าปฏิญาณว่า เราเป็นพระพุทธเจ้าได้เหมือนพระ @ตถาคต (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๓๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค]

๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)

สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ไม่ว่าในโลกนี้หรือในโลกอื่นก็ตาม ไม่มีผู้ที่จะประเสริฐกว่า หรือจะทัดเทียมพระพุทธเจ้า ผู้ถึงความเป็นยอดแห่งอาหุไนยบุคคล ของเหล่าชนผู้มีความต้องการบุญ ผู้แสวงหาผลไพบูลย์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าจึงมีผลมาก
นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๓๓-๘๓๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=193              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=17997&Z=18026                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1726              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1726&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6671              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1726&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6671                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv17.10/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :