บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
เรื่องอุปัชฌาย์โง่เขลา [๗๖] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เรามีพรรษาครบ ๑๐ เรามีพรรษา ครบ ๑๐ แต่เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ให้อุปสมบท ปรากฏว่า อุปัชฌาย์เป็น ผู้โง่เขลา สัทธิวิหาริกเป็นบัณฑิตก็มี อุปัชฌาย์เป็นผู้ไม่ฉลาด สัทธิวิหาริกเป็น ผู้ฉลาดก็มี อุปัชฌาย์มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็นพหูสูตก็มี อุปัชฌาย์มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกมีปัญญาดีก็มี แม้ภิกษุรูปหนึ่งเคยเป็นอัญเดียรถีย์ ถูกอุปัชฌาย์ว่ากล่าวโดยชอบธรรม ก็โต้ เถียงอุปัชฌาย์ไปเข้าลัทธิเดียรถีย์นั้นดังเดิม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๐๔}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]
๑๘. อาจริยวัตตกถา
บรรดาภิกษุที่มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ ทั้งหลายจึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาครบ ๑๐ เรามีพรรษาครบ ๑๐ แต่เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ให้อุปสมบท ปรากฏว่า อุปัชฌาย์เป็นผู้โง่เขลา สัทธิวิหาริกเป็นบัณฑิตก็มี อุปัชฌาย์เป็นผู้ไม่ฉลาด สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาดก็มี อุปัชฌาย์มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริก เป็นพหูสูตก็มี อุปัชฌาย์มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกมีปัญญาดีก็มี จึงนำเรื่องนี้ ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก ภิกษุได้อ้างว่า เรามีพรรษาครบ ๑๐ เรามีพรรษาครบ ๑๐ แต่เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ให้อุปสมบท ปรากฏว่าอุปัชฌาย์เป็นผู้โง่เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาดก็มี อุปัชฌาย์ เป็นผู้ไม่ฉลาด สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาดก็มี อุปัชฌาย์มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็น พหูสูตก็มี อุปัชฌาย์มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกมีปัญญาดีก็มี จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ เหล่านั้นจึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาครบ ๑๐ เรามีพรรษาครบ ๑๐ แต่เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ให้อุปสมบทเล่า ปรากฏว่าอุปัชฌาย์เป็นผู้โง่เขลา สัทธิวิหาริกเป็นบัณฑิตก็มี อุปัชฌาย์เป็นผู้ไม่ฉลาด สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาดก็มี อุปัชฌาย์มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริก เป็นพหูสูตก็มี อุปัชฌาย์มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกมีปัญญาดีก็มี ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั่น มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ ครั้นแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับ ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่พึงให้อุปสมบท รูปใด ให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ให้อุปสมบทได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๐๕}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]
๑๘. อาจริยวัตตกถา
เรื่องอุปัชฌาย์หลีกไป [๗๗] สมัยนั้น เมื่ออุปัชฌาย์หลีกไปบ้าง สึกเสียบ้าง มรณภาพบ้าง ไปเข้า รีตเดียรถีย์บ้าง ภิกษุทั้งหลายไม่มีอาจารย์ ไม่มีผู้คอยตักเตือนพร่ำสอน จึงนุ่งห่มไม่ เรียบร้อย มีมารยาทไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาต เมื่อคนทั้งหลายกำลังบริโภค ก็ยื่นบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปบนของบริโภคบ้าง บนของเคี้ยวบ้าง บน ของลิ้มบ้าง บนน้ำดื่มบ้าง ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน ส่งเสียงดังในโรงฉันบ้าง คนทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนสมณะเชื้อสายศากย บุตรทั้งหลายจึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมารยาทไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาต เมื่อคน ทั้งหลายกำลังบริโภค ก็ยื่นบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปบนของบริโภคบ้าง บนของเคี้ยวบ้าง บนของลิ้มบ้าง บนน้ำดื่มบ้าง ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน ส่งเสียงดังในโรงฉันบ้าง เหมือนพวกพราหมณ์ในสถานที่เลี้ยง พราหมณ์ฉะนั้นเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุ ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมารยาทไม่สมควร ... ส่งเสียงดังในโรงฉันบ้างเล่า จึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก ภิกษุนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมารยาทไม่สมควร ... ส่งเสียงดังในโรงฉันบ้าง จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้าเรื่องถือนิสสัยอยู่ ๑๐ พรรษา พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน โมฆบุรุษ เหล่านั้น ฯลฯ ครั้นแล้วทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตอาจารย์ อาจารย์จักเข้าไปตั้งจิตสนิทสนมในอันเตวาสิกฉันบุตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๐๖}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]
๑๘. อาจริยวัตตกถา
อันเตวาสิกจักเข้าไปตั้งจิตสนิทสนมในอาจารย์ฉันบิดา เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจารย์และ อันเตวาสิกจักมีความเคารพยำเกรง ประพฤติกลมเกลียวกัน จักถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาศัยภิกษุ มีพรรษา ๑๐ อยู่ อนุญาตให้ภิกษุมีพรรษา ๑๐ ให้นิสสัยได้วิธีถือนิสสัย ภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงถืออาจารย์อย่างนี้ อันเตวาสิกนั้นพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้า จักอาศัยท่านอยู่ ท่านผู้เจริญ ท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจักอาศัย ท่านอยู่ ท่านผู้เจริญ ท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่ อาจารย์ให้อันเตวาสิกรู้ด้วยกาย ให้รู้ด้วยวาจา หรือให้รู้ด้วยกายและวาจา ว่า ดีละ ว่า เบาใจละ ว่า ชอบแก่อุบายละ ว่า สมควรละ หรือว่า จงประพฤติปฏิบัติให้น่าเลื่อมใส อาจารย์ชื่อว่าเป็นผู้ที่อันเตวาสิกถือแล้ว อาจารย์ไม่ให้อันเตวาสิกรู้ด้วยกาย ไม่ให้รู้ด้วยวาจา หรือไม่ให้รู้ด้วยกาย และวาจา อาจารย์เป็นผู้ที่อันเตวาสิกยังมิได้ถือเนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๐๔-๑๐๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=4&siri=24 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=2022&Z=2091 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=91 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=91&items=2 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=91&items=2 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic31.6 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:31.6.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.31.6
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]