ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๓. อุปสัมปาเทตัพพปัญจกะ

๒๓. อุปสัมปาเทตัพพปัญจกะ
ว่าด้วยองค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ควรให้อุปสมบท ๑๖ หมวด
เรื่องภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕
กัณหปักษ์ ฝ่ายดำ ๑
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้ นิสสัย๑- ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ๒- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑)
สุกกปักษ์ ฝ่ายขาว ๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ @เชิงอรรถ : @ ไม่พึงให้อุปสมบท คือ ไม่พึงเป็นอุปัชฌาย์ให้ใครๆ อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย คือ ไม่พึงเป็นอาจารย์ให้ @นิสสัย (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘) @ สีลขันธ์อันเป็นอเสขะเป็นต้น หมายถึงสีล สมาธิ ปัญญา ผล และปัจจเวกขณญาณ ของพระอรหันต์ @(วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๒๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๓. อุปสัมปาเทตัพพปัญจกะ

๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้ นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๒)
กัณหปักษ์ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ตนเองไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นใน สีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ตนเองไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น ในสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ตนเองไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น ในปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ตนเองไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น ในวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ตนเองไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ ชักชวนผู้อื่นในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๓)
สุกกปักษ์ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ตนเองประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในสีลขันธ์ อันเป็นอเสขะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๒๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๓. อุปสัมปาเทตัพพปัญจกะ

๒. ตนเองประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน สมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ตนเองประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน ปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน วิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวน ผู้อื่นในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้ นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๔)
กัณหปักษ์ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน ๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๕)
สุกกปักษ์ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๒๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๓. อุปสัมปาเทตัพพปัญจกะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้ นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๖)
กัณหปักษ์ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ๑- ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย ๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๗)
สุกกปักษ์ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ๕. เป็นผู้มีปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้ นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๘) @เชิงอรรถ : @ มีสีลวิบัติในอธิสีล หมายถึงเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิกและอาบัติสังฆาทิเสส @อาจารวิบัติในอัชฌาจาร หมายถึงเป็นผู้ต้องอาบัติ ๕ กองที่เหลือ (คืออาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ @อาบัติปาฎิเทสนียะ อาบัติทุกกฏ และอาบัติทุพพาสิต)และยังมิได้พ้นจากอาบัติ @ทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ หมายถึงเป็นผู้ละสัมมาทิฏฐิแล้วยึดถืออนัตคาหิกทิฏฐิ (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘, @สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๔/๒๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๒๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๓. อุปสัมปาเทตัพพปัญจกะ

กัณหปักษ์ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ไม่สามารถพยาบาลเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือ สัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้ ๒. ไม่สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน ๓. ไม่สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่าย ที่เกิดขึ้นโดยธรรม ๔. ไม่รู้จักอาบัติ ๕. ไม่รู้จักวิธีออกจากอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๙)
สุกกปักษ์ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. สามารถพยาบาลเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิก หรือ สัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้ ๒. สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน ๓. สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่ เกิดขึ้นโดยธรรม ๔. รู้จักอาบัติ ๕. รู้จักวิธีออกจากอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๒๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๓. อุปสัมปาเทตัพพปัญจกะ

กัณหปักษ์ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ไม่สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา๑- ๒. ไม่สามารถแนะนำในอาทิพรหมจริยกาสิกขา๒- ๓. ไม่สามารถแนะนำในอภิธรรม๓- ๔. ไม่สามารถแนะนำในอภิวินัย๔- ๕. ไม่สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นได้โดยธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๑)
สุกกปักษ์ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา ๒. สามารถแนะนำในอาทิพรหมจริกาสิกขา ๓. สามารถแนะนำในอภิธรรม ๔. สามารถแนะนำในอภิวินัย ๕. สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นได้โดยธรรม ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้ นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๒) @เชิงอรรถ : @ อภิมาจาริกาสิกขา คือ หลักการศึกษาเกี่ยวกับข้อวัตรปฏิบัติ ที่แสดงไว้ในหมวดขันธกวัตร @(วิ.อ. ๓/๘๔/๔๙) @ อาทิพรหมจริยกาสิกขา คือ หลักการศึกษาเกี่ยวกับบัญญัติเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ หมายถึง @สิกขาบทที่มาในภิกขุปาติโมกข์และภิกขุนีปาติโมกข์ เป็นเสกขบัญญัติที่สงฆ์ต้องยกขึ้นแสดงทุกครึ่งเดือน @(วิ.อ. ๓/๘๔/๔๙, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๔/๒๙๒) @ อภิธรรม คือ หลักการที่ว่าด้วยการกำหนดนามรูป (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๙) @ อภิวินัย คือ หลักการในพระวินัยปิฎกทั้งสิ้น (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๒๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๓. อุปสัมปาเทตัพพปัญจกะ

กัณหปักษ์ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ไม่รู้จักอาบัติ ๒. ไม่รู้จักอนาบัติ ๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา ๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก ๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารไม่ได้ดี จำแนกไม่ได้ดี ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะไม่ได้ดี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๓)
สุกกปักษ์ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักอาบัติเบา ๔. รู้จักอาบัติหนัก ๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัย โดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้ นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๔)
กัณหปักษ์ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ไม่รู้จักอาบัติ ๒. ไม่รู้จักอนาบัติ ๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา ๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก ๕. มีพรรษาหย่อน ๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๒๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๕)
สุกกปักษ์ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักอาบัติเบา ๔. รู้จักอาบัติหนัก ๕. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้ นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๖)
อุปสัมปาเทตัพพปัญจกะ ๑๖ หมวด จบ
๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ
ว่าด้วยองค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ควรให้อุปสมบท ๑๔ หมวด
เรื่องภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖
กัณหปักษ์ ๑
[๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้ นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๓๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ

๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑)
สุกกปักษ์ ๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้ นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๒)
กัณหปักษ์ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ตนเองไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นใน สีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ตนเองไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น ในสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๓๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ

๓. ตนเองไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น ในปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ตนเองไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น ในวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ตนเองไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ ชักชวนผู้อื่นในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๓)
สุกกปักษ์ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ตนเองประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน สีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ตนเองประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน สมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ตนเองประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน ปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน วิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวน ผู้อื่นในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๓๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ

กัณหปักษ์ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน ๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน ๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๕)
สุกกปักษ์ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้ สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้ นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๖)
กัณหปักษ์ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ๑- ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย @เชิงอรรถ : @ มีสีลวิบัติในอธิสีล อาจารวิบัติในอัชฌาจาร ทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ดูข้อ ๘๔ หน้า ๑๒๖ (เชิงอรรถ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๓๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ

๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม ๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๗)
สุกกปักษ์ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร ๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ๕. เป็นผู้มีปัญญา ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๘)
กัณหปักษ์ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ไม่สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยพยาบาลอันเตวาสิกหรือ สัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้ ๒. ไม่สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน ๓. ไม่สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่เกิด ขึ้นโดยธรรม ๔. ไม่รู้จักอาบัติ ๕. ไม่รู้จักวิธีออกจากอาบัติ ๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๓๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ

สุกกปักษ์ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. สามารถพยาบาลเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยพยาบาลอันเตวาสิกหรือ สัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้ ๒. สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน ๓. สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้น โดยธรรม ๔. รู้จักอาบัติ ๕. รู้จักวิธีออกจากอาบัติ ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๐)
กัณหปักษ์ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ไม่สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา ๒. ไม่สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริกาสิกขา ๓. ไม่สามารถแนะนำในอภิธรรม ๔. ไม่สามารถแนะนำในอภิวินัย ๕. ไม่สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นได้โดยธรรม ๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๓๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ

สุกกปักษ์ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา ๒. สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริกาสิกขา ๓. สามารถแนะนำในอภิธรรม ๔. สามารถแนะนำในอภิวินัย ๕. สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นได้โดยธรรม ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๒)
กัณหปักษ์ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. ไม่รู้จักอาบัติ ๒. ไม่รู้จักอนาบัติ ๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา ๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก ๕. จำปาติโมกข์ทั้งสอง๑- โดยพิสดารไม่ได้ดี จำแนกไม่ได้ดี ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะไม่ได้ดี ๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๓) @เชิงอรรถ : @ ปาติโมกข์ทั้งสอง หมายถึงอุภโตวิภังค์ คือ ภิกขุปาติโมกข์และภิกขุนีปาติโมกข์ (วิ.อ. ๓/๘๕/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๓๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๒๕. อัญญติตถิยปุพพกถา

สุกกปักษ์ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ ๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ ๓. รู้จักอาบัติเบา ๔. รู้จักอาบัติหนัก ๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๔)
อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ ๑๔ หมวด จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๒๓-๑๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=4&siri=29              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=2415&Z=2763                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=98              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=98&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=98&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic36.2 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:36.2.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.36.2



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :