ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๖๑. เทฺวอุปสัมปทาเปกขาทิวัตถุ

๖๐. โคตเตนอนุสสาวนานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตอุปสมบทกรรมโดยสวดระบุโคตรของอุปัชฌาย์
เรื่องพระมหากัสสปะนิมนต์พระอานนท์มาสวดนาค
[๑๒๒] สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปะมีอุปสัมปทาเปกขะ ท่านจึงส่งทูตไปใน สำนักพระอานนท์ให้นิมนต์ว่า “ท่านอานนท์จงมาสวดอุปสัมปทาเปกขะ๑- นี้” พระอานนท์ตอบไปว่า “กระผมไม่สามารถจะระบุนามของพระเถระ๒- ได้ เพราะ พระเถระเป็นที่เคารพของกระผม” ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดระบุโคตรได้”
๖๑. เทฺวอุปสัมปทาเปกขาทิวัตถุ
ว่าด้วยอุปสมบทอุปสัมปทาเปกขะ ๒ คนเป็นต้น
เรื่องแย่งกันอุปสมบทก่อน
[๑๒๓] สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปะมีอุปสัมปทาเปกขะ ๒ คน อุปสัมปทา เปกขะทั้ง ๒ เถียงกันว่า “ผมจักอุปสมบทก่อน ผมจักอุปสมบทก่อน” ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดอุปสัมปทาเปกขะ ๒ คน ในอนุสาวนาเดียวกันได้” @เชิงอรรถ : @ อุปสัมปทาเปกขะ คือ ผู้มุ่งจะบวชเป็นภิกษุ ผู้ประสงค์จะบวช @ หมายถึงไม่สามารถระบุชื่อของพระมหากัสสปะ ที่จะปรากฏอยู่ในคำสวดว่า “อายสฺมโต ปิปฺผลิสฺส @อุปสมฺปทาเปกฺโข (อุปสัมปทาเปกขะของท่านปิปผลิ) (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๒๒/๓๒๓) เพราะการระบุชื่อและ @โคตรถือเป็นการแสดงความไม่เคารพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๙๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๖๒. คัพภวีสูปสัมปทานุชานนา

เรื่องอุปสมบทครั้งละ ๓ คน มีอุปัชฌาย์รูปเดียว
สมัยต่อมา พระเถระหลายรูปต่างก็มีอุปสัมปทาเปกขะหลายคน อุปสัมปทา เปกขะเหล่านั้นต่างเถียงกันว่า “ผมจักอุปสมบทก่อน ผมจักอุปสมบทก่อน” พระเถระทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดอุปสัมปทาเปกขะ ในอนุสาวนาเดียวกันครั้งละ ๒ คน ๓ คนได้ แต่การสวดนั้น เราอนุญาตให้มี อุปัชฌาย์รูปเดียวกัน ไม่อนุญาตให้มีอุปัชฌาย์ต่างรูปกัน”
๖๒. คัพภวีสูปสัมปทานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาต
อุปสมบทให้กุลบุตรโดยนับอายุ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์
เรื่องพระกุมารกัสสปะ
[๑๒๔] สมัยนั้น ท่านพระกุมารกัสสปะมีอายุครบ ๒๐ ปีนับทั้งอยู่ในครรภ์ ได้อุปสมบทแล้ว ต่อมา ท่านมีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท’ แต่เรามีอายุครบ ๒๐ ปี นับทั้งอยู่ในครรภ์อุปสมบทแล้ว จะเป็นอันได้อุปสมบทหรือไม่หนอ” ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เกิดนับตั้งแต่จิตดวงแรก วิญญาณดวงแรกเกิดปรากฏขึ้นในครรภ์ของมารดา ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต อุปสมบทให้กุลบุตรมีอายุครบ ๒๐ นับทั้งอยู่ในครรภ์ได้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๙๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๖๓. อุปสัมปทาวิธิ

๖๓. อุปสัมปทาวิธิ
ว่าด้วยอุปสมบทวิธี
เรื่องอุปสัมบันถูกโรคเบียดเบียน
[๑๒๕] สมัยนั้น กุลบุตรทั้งหลายที่อุปสมบทแล้ว ปรากฏเป็นโรคเรื้อนก็มี โรคฝีก็มี โรคกลากก็มี โรคมองคร่อก็มี โรคลมบ้าหมูก็มี ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ผู้จะให้อุปสมบท ถามอันตรายิกธรรม ๑๓ ข้อได้”
เรื่องถามอันตรายิกธรรมกับอุปสัมปทาเปกขะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงถามอุปสัมปทาเปกขะอย่างนี้ อาพาธเช่นนี้ของเจ้ามีอยู่หรือ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู เจ้าเป็นมนุษย์หรือ เจ้าเป็นชายหรือ เจ้าเป็นไทหรือ เจ้าไม่มีหนี้หรือ เจ้าไม่ใช่ราชภัฏหรือ มารดาบิดาอนุญาตเจ้าแล้วหรือ เจ้ามีอายุครบ ๒๐ ปีหรือ บาตรและจีวรของเจ้ามีครบแล้วหรือ เจ้าชื่ออะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร
เรื่องสอนซ้อมก่อนถามอันตรายิกธรรม
สมัยนั้น พวกภิกษุถามอันตรายิกธรรมกับพวกอุปสัมปทาเปกขะผู้ยังมิได้สอน ซ้อม พวกอุปสัมปทาเปกขะย่อมสะทกสะท้าน เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมจึงถาม อันตรายิกธรรมภายหลัง” พวกภิกษุก็สอนซ้อมในท่ามกลางสงฆ์นั่นแหละ พวกอุปสัมปทาเปกขะก็สะทก สะท้าน เก้อเขิน ไม่อาจตอบเช่นเดิม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๙๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๖๓. อุปสัมปทาวิธิ

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อม ณ ที่สมควร จึงถามอันตรายิกธรรมในท่ามกลางสงฆ์” ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกขะอย่างนี้
คำบอกบาตรและจีวร
[๑๒๖] ในเบื้องต้น พึงให้อุปสัมปทาเปกขะถืออุปัชฌาย์ ครั้นให้ถืออุปัชฌาย์ แล้วพึงบอกบาตรและจีวรว่า “นี้บาตร นี้สังฆาฏิ นี้อุตตราสงค์ นี้อันตรวาสก ของเจ้า เจ้าจงออกไปยืนที่โน้น”
เรื่องภิกษุโง่เขลาสอนซ้อม
พวกภิกษุผู้โง่เขลาไม่ฉลาด สอนซ้อม พวกอุปสัมปทาเปกขะถูกสอนซ้อมไม่ดี ก็สะทกสะท้าน เก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้โง่เขลาไม่ฉลาด ไม่พึงสอนซ้อม รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด สามารถสอนซ้อม”
เรื่องภิกษุยังไม่ได้รับแต่งตั้งสอนซ้อม
พวกภิกษุผู้ยังไม่ได้รับแต่งตั้งสอนซ้อม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระ ผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่ได้รับแต่งตั้งไม่พึงสอนซ้อม รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้ง สอนซ้อม” ภิกษุทั้งหลาย พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ตนเองแต่งตั้งตนเองก็ได้ ภิกษุรูปหนึ่ง แต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่งก็ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๙๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๖๓. อุปสัมปทาวิธิ

วิธีแต่งตั้งตนและกรรมวาจา
อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี ชื่อนี้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าชื่อนี้ จะสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง
วิธีแต่งตั้งผู้อื่นและกรรมวาจา
อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่ง คือ ภิกษุผู้ฉลาด สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี ชื่อนี้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ท่านผู้มีชื่อนี้พึงสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุอีกรูปหนึ่ง ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งนั้น พึงเข้าไปหาอุปสัมปทาเปกขะกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า แน่ะผู้มีชื่อนี้ เจ้าฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเจ้า เมื่อภิกษุผู้สอนซ้อม ถามในท่ามกลางสงฆ์ถึงสิ่งที่เกิด สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี” เจ้าอย่าสะทกสะท้าน อย่าเก้อเขิน ภิกษุผู้สอนซ้อมจักถามเจ้าอย่างนี้ว่า ‘อาพาธ เช่นนี้ของเจ้ามีอยู่หรือ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู เจ้าเป็นมนุษย์หรือ เจ้าเป็นชายหรือ เจ้าเป็นไทหรือ เจ้าไม่มีหนี้หรือ เจ้าไม่ใช่ ราชภัฏหรือ มารดาบิดาอนุญาตเจ้าแล้วหรือ เจ้ามีอายุครบ ๒๐ ปีแล้วหรือ เจ้ามีบาตรและจีวรครบแล้วหรือ เจ้าชื่ออะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร’
เรื่องห้ามผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขะเดินมาพร้อมกัน
ภิกษุผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขะเดินมาพร้อมกัน พระผู้มีพระภาครับ สั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขะ ไม่พึงเดินมาพร้อมกัน ภิกษุผู้สอนซ้อมพึงเดินมาก่อน แล้วประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๙๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๖๓. อุปสัมปทาวิธิ

ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี ชื่อนี้ ข้าพเจ้าสอนซ้อมเขาแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ผู้มีชื่อนี้พึงมาได้ พึงเรียกอุปสัมปทาเปกขะว่า “เจ้าจงเข้ามาเถิด”
คำขออุปสมบท
พึงให้อุปสัมปทาเปกขะห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ ขออุปสมบทว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยก ข้าพเจ้าขึ้นเถิด ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๒ สงฆ์โปรดช่วย อนุเคราะห์ยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๓ สงฆ์โปรดช่วย อนุเคราะห์ยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด
คำแต่งตั้งตนเพื่อถามอันตรายิกธรรม
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้ มีชื่อนี้ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงถามอันตรายิกธรรมกับผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ แน่ะผู้มีชื่อนี้ เจ้าฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเจ้า เราจะถามสิ่งที่เกิด สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี” อาพาธเช่นนี้ของเจ้ามีอยู่หรือ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู เจ้าเป็นมนุษย์หรือ เจ้าเป็นชายหรือ เจ้าเป็นไทหรือ เจ้าไม่มีหนี้หรือ เจ้าไม่ใช่ราชภัฏหรือ มารดาบิดา อนุญาตเจ้าแล้วหรือ เจ้ามีอายุครบ ๒๐ ปีหรือ บาตรและจีวรของเจ้ามีครบแล้วหรือ เจ้าชื่ออะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๙๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๖๓. อุปสัมปทาวิธี

ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๑๒๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของ ท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เขามีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี ชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เขามีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขอ อุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่าน ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้ เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เขามี บาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้ มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เขามี บาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้ มีชื่อนี้อุปสมบท มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง ท่านผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้น เป็นมติอย่างนี้
อุปสัมปทาวิธิ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๙๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๙๐-๑๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=4&siri=50              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=3739&Z=3869                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=139              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=139&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=2313              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=139&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=2313                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic74 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:74.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.74



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :