บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร ๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร เหตุปัจจัย [๑๖] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ กามาสวะเป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะและอวิชชาสวะโดยเหตุปัจจัย ภวาสวะ เป็น ปัจจัยแก่อวิชชาสวะโดยเหตุปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๑) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย เหตุปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะ โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ กามาสวะเป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓) [๑๗] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๑๒}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตอาสวะโดยเหตุปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น อาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ อาสวะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น อาสวะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๑)อารัมมณปัจจัย [๑๘] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภอาสวะ อาสวะจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภอาสวะ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น อาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภอาสวะ อาสวะและสัมปยุตตขันธ์ จึงเกิดขึ้น (๓) [๑๙] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณา กุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลส ที่ไม่เป็นอาสวะซึ่งละได้แล้ว ฯลฯ พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่เป็นอาสวะด้วยเจโตปริยญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๑๓}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะเป็น ปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น เพราะปรารภความ ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น อาสวะจึงเกิดขึ้น บุคคลสมาทานศีล ฯลฯ รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน จักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลิน จักษุเป็นต้นนั้น อาสวะจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น อาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ (เหมือนกับข้อความตอนที่ ๒) บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลิน ขันธ์นั้น อาสวะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (๓) [๒๐] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภอาสวะและสัมปยุตตขันธ์ อาสวะจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น อาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภอาสวะและสัมปยุตตขันธ์ ขันธ์ที่ ไม่เป็นอาสวะจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น อาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภอาสวะและ สัมปยุตตขันธ์ อาสวะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๑๔}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
อธิปติปัจจัย [๒๑] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยอธิปติ- ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำอาสวะให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น อาสวะจึงเกิดขึ้น (มี ๓ วาระ เหมือนกับอารัมมณปัจจัย พึงทำ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดยอธิปติ- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจาก มรรค ฯลฯ พิจารณาผล ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดี เพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฎฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่เป็น อาสวะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น อาสวะจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตอาสวะ โดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น อาสวะโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๑๕}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่เป็น อาสวะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ อาสวะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะ โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลิน อาสวะและสัมปยุตตขันธ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนันแน่น ฯลฯ อาสวะจึงเกิดขึ้น (มี ๓ วาระ พึงทำให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น)อนันตรปัจจัย [๒๒] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ อาสวะที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อาสวะที่เกิดหลังๆ โดย อนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อาสวะที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะซึ่งเกิดหลังๆ โดย อนันตรปัจจัย อาสวะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น อาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อาสวะที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อาสวะและ สัมปยุตตขันธ์ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) [๒๓] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่ เป็นอาสวะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอาสวะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่อาสวะโดยอนันตรปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๑๖}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น อาสวะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ อาสวะและสัมปยุตตขันธ์ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) [๒๔] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น อาสวะโดยอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระสมนันตรปัจจัยเป็นต้น [๒๕] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดย สมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญ- ปัจจัย มี ๙ วาระ เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ (พึงแสดงหทัยวัตถุด้วย)อุปนิสสยปัจจัย [๒๖] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อาสวะเป็นปัจจัยแก่อาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย (มี ๓ วาระ) [๒๗] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยอุปนิสสย- ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๑๗}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วมีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น อาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วมีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น อาสวะโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ มี ๓ วาระปุเรชาตปัจจัย [๒๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลพิจารณาจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ (พึงขยายให้ พิสดารอย่างนี้) โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะโดย ปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะปรารภ ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น อาสวะจึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่อาสวะโดยปุเรชาตปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๑๘}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น อาสวะโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะ ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น อาสวะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่อาสวะและขันธ์ที่สัมปยุตด้วย อาสวะโดยปุเรชาตปัจจัย (๓)ปัจฉาชาตปัจจัย [๒๙] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ อาสวะที่เกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย ปัจฉาชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดยปัจฉา- ชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น อาสวะโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ อาสวะและสัมปยุตตขันธ์ที่เกิดภายหลังเป็น ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑)อาเสวนปัจจัย [๓๐] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดย อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระกัมมปัจจัย [๓๑] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย กัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๑๙}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและ กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตอาสวะโดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น อาสวะโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ อาสวะ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๓)วิปากปัจจัยและอาหารปัจจัย [๓๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดยอาหาร- ปัจจัย ได้แก่ อาหารที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดย อาหารปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตอาสวะโดยอาหารปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น อาสวะโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ อาสวะ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย (๓)อินทรียปัจจัยเป็นต้น [๓๓] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย อินทรียปัจจัย ได้แก่ อินทรีย์ที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอินทรียปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๒๐}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอินทรียปัจจัย มี ๓ วาระ เป็นปัจจัย โดยฌานปัจจัย มี ๓ วาระ เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ เป็นปัจจัย โดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระวิปปยุตตปัจจัย [๓๔] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ อาสวะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ อาสวะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยวิปปยุตตปัจจัย (๑) [๓๕] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปป- ยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะโดย วิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย วิปปยุตตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยวิปปยุตต- ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่อาสวะโดย วิปปยุตตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น อาสวะโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็น ปัจจัยแก่อาสวะและสัมปยุตตขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๒๑}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
[๓๖] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ ไม่เป็นอาสวะโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ อาสวะและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย วิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ อาสวะและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย (๑)อัตถิปัจจัย [๓๗] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยอัตถิ- ปัจจัย ได้แก่ กามาสวะเป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะและอวิชชาสวะโดยอัตถิปัจจัย (พึง ผูกเป็นจักกนัย) (๑) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ อาสวะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย อัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ อาสวะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะ โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ กามาสวะเป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๓) [๓๘] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย อัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ (พึงเพิ่ม ข้อความจนถึงอสัญญสัตตพรหม) ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๒๒}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กาย- วิญญาณ ฯลฯ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัย แก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย อัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็น ปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่อาสวะโดยอัตถิปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะปรารภ ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น อาสวะจึงเกิดขึ้น หทัยวัตถุเป็นปัจจัย แก่อาสวะโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น อาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ อาสวะ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๓) [๓๙] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ เป็นอาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ กามาสวะและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะและ อวิชชาสวะโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) กามาสวะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัย แก่ทิฏฐาสวะและอวิชชาสวะโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๑) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น อาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นอาสวะและอาสวะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๒๓}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ อาสวะและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย อัตถิปัจจัย อาสวะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นอาสวะโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ อาสวะและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดย อัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ อาสวะและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดย อัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น อาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นอาสวะและกามาสวะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (พึงผูกเป็นจักกนัย) สหชาตะ ได้แก่ กามาสวะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ และสัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๓)๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร สุทธนัย [๔๐] เหตุปัจจัย มี ๗ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๒๔}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ กัมมปัจจัย มี ๓ วาระ วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ อาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ วิคตปัจจัย มี ๙ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระอนุโลม จบ ๒. ปัจจนียุทธาร [๔๑] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะ โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๔๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๒๕}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๔. อาสวทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็น อาสวะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๓) [๔๓] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ เป็นอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น อาสวะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและที่ไม่เป็นอาสวะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอาสวะ และที่ไม่เป็นอาสวะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๓)๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร [๔๔] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัย มีปัจจัยละ ๙ วาระ) โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระปัจจนียะ จบ ๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ เหตุทุกนัย [๔๕] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๗ วาระ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๒๖}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๑๕. สาสวทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
นมัคคปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระอนุโลมปัจจนียะ จบ ๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม นเหตุทุกนัย [๔๖] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ (บทอนุโลมบริบูรณ์แล้ว) อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระปัจจนียานุโลม จบ อาสวะทุกะ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๒ หน้าที่ ๒๑๒-๒๒๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=42&siri=39 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=42&A=5781&Z=6227 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=343 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=42&item=343&items=19 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=42&item=343&items=19 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu42
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]