บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร ๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร เหตุปัจจัย [๒๑๐] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๑๗}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่จิตโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่จิต และกฏัตตารูปโดย เหตุปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ จิต และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓)อารัมมณปัจจัย [๒๑๑] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ขันธ์ที่ มีจิตเป็นสมุฏฐานจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีจิตเป็น สมุฏฐาน จิตจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและจิตจึงเกิดขึ้น (๓) [๒๑๒] สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิต เป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภ ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น จิตจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่มีจิตเป็น สมุฏฐานด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีจิต เป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณและ อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๑๘}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพาน (เหมือนกับข้อความตอนต้น) บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่ไม่มี จิตเป็นสมุฏฐานโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วย ทิพพจักขุ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย อารัมมณปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพาน (เหมือนกับข้อความตอนต้น) บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น จิตและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วย ทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและ สัมปยุตตขันธ์ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัย แก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และ อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงเพิ่มคำว่า เพราะปรารภ)อธิปติปัจจัย [๒๑๓] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานจึงเกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๑๙}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (มี ๓ วาระ พึงเพิ่มทั้งอารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ) (๓) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะ ออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคล ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำ ความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น จิตจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพานให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็น สมุฏฐานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ฯลฯ บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ฯลฯ จิตและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (๓) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ มี ๓ วาระ (มีเฉพาะอารัมมณาธิปติ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๒๐}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย [๒๑๔] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ (ไม่มีวุฏฐานะ) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จิตที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลังๆ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย (พึงทำการนับทั้ง ๒ อย่างนอกนี้ ให้เหมือนกับปัจจัยนี้นั่นเอง) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มเป็น ๓ วาระ ไม่มีวุฏฐานะ) เป็นปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัยสหชาตปัจจัยเป็นต้น [๒๑๕] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยสหชาตปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (เหมือนกับปัจจยวาร)อุปนิสสยปัจจัย [๒๑๖] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ (พึงทำเป็น ๓ วาระ) (๓) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๒๑}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยอุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะและจิต แล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะและจิตเป็น ปัจจัยแก่จิตโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยอุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะและจิต แล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะและจิตเป็น ปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ มรรคและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยอุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะและจิต แล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะและจิตเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและจิตโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาว- ธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ มี ๓ วาระปุเรชาตปัจจัย [๒๑๗] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคล เห็นแจ้งจิตตสมุฏฐานรูป ฯลฯ โผฏฐัพพะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๒๒}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้ง จิตตสมุฏฐานรูป ฯลฯ โผฏฐัพพะโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินรูปเป็นต้นนั้น จิตจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วย ทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจิตตสมุฏฐานรูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินรูปเป็นต้นนั้น จิตและ สัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์โดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ (๓) [๒๑๘] สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิต เป็นสมุฏฐานโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ กาย รูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ และหทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ เป็นต้นนั้น จิตจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตโดยปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๒๓}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยปุเรชาต- ปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น จิตและ สัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตและสัมปยุตตขันธ์โดยปุเรชาต- ปัจจัย (๓) [๒๑๙] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณ- ปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่มีจิตเป็น สมุฏฐานและกายายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย รูปายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดย ปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและหทัยวัตถุ ฯลฯ (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๒๔}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณ- ปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและกายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย รูปายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตโดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่มีจิตเป็น สมุฏฐานและหทัยวัตถุ ฯลฯ (๒) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ รูปายตนะที่มีจิตเป็น สมุฏฐาน และจักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์โดย ปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ รูปายตนะที่มีจิต เป็นสมุฏฐานและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตและสัมปยุตตขันธ์โดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและหทัยวัตถุ ฯลฯ (๓)ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย [๒๒๐] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยปัจฉาชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีจิต เป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานโดยปัจฉาชาตปัจจัย (พึงขยายปัจฉาชาตปัจจัยให้พิสดารโดยอาการนี้นั่นเอง) เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระกัมมปัจจัยและวิปากปัจจัย [๒๒๑] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๒๕}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่จิตโดยกัมมปัจจัย ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่จิตที่เป็นวิบาก และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ จิต และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก จิตและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยวิปากปัจจัย มี ๙ วาระอาหารปัจจัย [๒๒๒] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) อาหารที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่จิตโดยอาหารปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๒๖}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ กวฬิงการาหารที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่ไม่มี จิตเป็นสมุฏฐานโดยอาหารปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) อาหารที่มีจิตเป็น สมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ จิต และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) [๒๒๓] สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิต เป็นสมุฏฐานโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ อาหารที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอาหารปัจจัย กวฬิงการาหารที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็น ปัจจัยแก่กายนี้ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอาหารปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) อาหาร ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ในปฏิสนธิขณะ อาหารที่ไม่มีจิตเป็น สมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยอาหารปัจจัย (๓) [๒๒๔] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่มีจิตเป็น สมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ในปฏิสนธิขณะ อาหารที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป โดยอาหารปัจจัย กวฬิงการาหารที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็น ปัจจัยแก่กายนี้ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอาหารปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ใน ปฏิสนธิขณะ อาหารที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยอาหารปัจจัย (๓)อินทรียปัจจัยเป็นต้น [๒๒๕] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยอินทรียปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอินทรียปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ จักขุนทรีย์เป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๒๗}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอินทรียปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) อินทรีย์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย อินทรียปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วย จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์ ฯลฯ (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยอินทรียปัจจัย จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณโดยอินทรีย- ปัจจัย กายินทรีย์ ฯลฯ (๓) [๒๒๖] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ อินทรีย์ที่มีจิตเป็น สมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอินทรียปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ จักขุนทรีย์และอุเบกขินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์และสุขินทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ และทุกขินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็น สมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอินทรียปัจจัย จักขุนทรีย์และอุเปกขินทรีย์เป็น ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์ ฯลฯ (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปโดยอินทรียปัจจัย จักขุนทรีย์และอุเปกขินทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์โดยอินทรียปัจจัย กายินทรีย์ ฯลฯ (๓) ... เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ฯลฯวิปปยุตตปัจจัย [๒๒๗] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๒๘}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ (ย่อ) (๒) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๓) [๒๒๘] สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเ ป็นสมุฏฐานโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ จิตเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยวิปปยุตต- ปัจจัย จิตเป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตโดย วิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตโดยวิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนซึ่ง ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยวิปปยุตตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๓) [๒๒๙] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๒๙}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๒) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๓)อัตถิปัจจัย [๒๓๐] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ และอาหาระ (ย่อ) (๒) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๓) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระและ อินทรียะ (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ และอาหาระ (ย่อ) (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๓๐}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
[๒๓๑] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณและจักขายตนะเป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ (สำหรับปัญหาวาระทั้งหมด พึงเพิ่มทั้งปฏิสนธิกาลและปวัตติกาลให้เหมือนกับปัจจยวาร) ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและจิตเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด ก่อนซึ่งไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน จิต และกวฬิงการาหารเป็น ปัจจัยแก่กายนี้ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน จิต และรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัย แก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอัตถิปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ (ย่อ) (๓) (ปัจจยวารเหมือนกับสหชาตวาร พึงเพิ่มบทว่า สหชาตปัจจัยเข้าไว้ทั้งหมด) ... เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย ... เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย ... เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๓๑}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร สุทธนัย [๒๓๒] เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ กัมมปัจจัย มี ๓ วาระ วิปากปัจจัย มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ) อินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ ฌานปัจจัย มี ๓ วาระ มัคคปัจจัย มี ๓ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระอนุโลม จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๓๒}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๒. ปัจจนียุทธาร [๒๓๓] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น สมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย และอาหารปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย (๓) [๒๓๔] สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเ ป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย และปัจฉาชาต- ปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย (๓) [๒๓๕] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัย แก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๓๓}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาต- ปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย (๓)๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร [๒๓๖] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ) โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ [๒๓๗] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ นมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๑๓๔}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๖๑. จิตตสหภูทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม [๒๓๘] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ (พึงเพิ่มการนับอนุโลม) ฯลฯ อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระจิตตสมุฏฐานทุกะ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๓ หน้าที่ ๑๑๗-๑๓๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=43&siri=20 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=43&A=2642&Z=3081 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=43&i=0 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=43&item=170&items=19 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=43&item=170&items=19 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu43
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]