บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๗๒. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๗๒. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร ๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร เหตุปัจจัย [๙๘] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุ ที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตอุปาทานโดย เหตุปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (เหมือนกับอุปาทานทุกะ ไม่มีข้อแตกต่างกัน มี ๙ วาระ)อารัมมณปัจจัย [๙๙] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภอุปาทาน อุปาทานจึงเกิดขึ้น มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ ทาน ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภ ความยินดีเพลิดเพลินฌานนั้น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น พระอริยะพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน พิจารณา กิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ บุคคล เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ (ย่อ) เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ และ อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๔๑}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๗๒. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย (ย่อ ๒ วาระ นอกนี้เหมือนกับอุปาทานทุกะ) (๓) สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่เป็นอารมณ์ของ อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ (อธิปติปัจจัย ในหนหลัง มี ๓ วาระ เหมือนกับอุปาทานทุกะ)อธิปติปัจจัย [๑๐๐] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเป็น ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทำความยินดีเพลิดเพลิน ฌานนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น พระเสขะ พิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาโวทานให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและ ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่ เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (อารัมมณาธิปติปัจจัยและสหชาตาธิปติปัจจัยแม้ทั้ง ๒ อย่างที่เหลือ เหมือนกับ อุปาทานทุกะ) (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๓๔๒}
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]
๗๓. อุปาทานอุปาทานสัมปยุตตทุกะ ๑. ปฏิจจวาร
(อธิปติปัจจัยที่เป็นฆฏนา มี ๓ วาระ เหมือนกับอุปาทานทุกะ ปัจจัยทั้งหมด ก็เหมือนกับอุปาทานทุกะ ในสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่มีโลกุตตระ ปัจจนียะและการนับทั้ง ๒ อย่างนอกจากนี้เหมือนกับอุปาทานทุกะ)อุปาทานอุปาทานิยทุกะ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๓ หน้าที่ ๓๔๑-๓๔๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=43&siri=54 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=43&A=7673&Z=7717 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=43&i=0 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=43&item=461&items=3 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=43&item=461&items=3 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu43
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]