ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
๑๗๑. ตรุณัปปสันนมหามัตตวัตถุ
ว่าด้วยมหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่
[๒๘๓] คนทั้งหลายทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าวต้มและ ขนมหวานแก่ภิกษุ จึงจัดเตรียมข้าวต้มข้น๑- และขนมหวานถวายแต่เช้า พวกภิกษุ ที่รับประเคนข้าวต้มข้นและขนมหวานแต่เช้า ฉันภัตตาหารในโรงอาหารไม่ได้ตาม ต้องการ สมัยนั้น มหาอมาตย์คนหนึ่งผู้เลื่อมใสใหม่ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประธานเพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้น มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้นได้มีความคิด ดังนี้ว่า “ถ้ากระไร เราพึงตกแต่งสำรับเนื้อ ๑,๒๕๐ ที่ เพื่อภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป น้อมเข้าไปถวายภิกษุรูปละ ๑ ที่” โดยล่วงไปแห่งราตรีนั้น เขาสั่งให้จัดเตรียม ของฉันอย่างดี และสำรับเนื้อ ๑,๒๕๐ ที่ แล้วให้เจ้าหน้าที่ไปกราบทูลภัตกาล พระผู้มีพระภาคว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว” ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปนิเวศน์ของมหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้น ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เขาได้ประเคนภิกษุในโรงอาหาร พวกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “มหาอมาตย์ ท่านจงถวายแต่น้อยๆ เถิด” มหาอมาตย์กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านอย่ารับเพียงน้อยๆ เพราะคิดว่า ‘นี่เป็นมหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่’ ผมจัดเตรียมของฉันไว้เป็นจำนวนมากพร้อมด้วย @เชิงอรรถ : @ ข้าวต้มข้น ข้าวต้มที่ควรบริโภค คือมีคติอย่างข้าวสุก (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๘๓/๓๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๙๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๑. ตรุณัปปสันนมหามัตตวัตถุ

สำรับเนื้อ ๑,๒๕๐ ที่ จะน้อมเข้าไปถวายภิกษุรูปละ ๑ ที่ ท่านโปรดรับให้พอความ ต้องการเถิด” พวกภิกษุกล่าวว่า “มหาอมาตย์ พวกอาตมารับแต่น้อยไม่ใช่เพราะสาเหตุนั้น แต่พวกอาตมารับประเคนข้าวต้มข้นและขนมหวานมาแต่เช้าแล้ว ดังนั้นจึงต้องรับ แต่น้อยๆ” ครั้งนั้น มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ ที่ผมนิมนต์ไว้จึงฉันข้าวต้มข้นของผู้อื่นเล่า ผมไม่สามารถจะถวายให้พอแก่ความต้อง การหรือ” โกรธเสียใจคอยจับผิด ได้บรรจุบาตรของภิกษุจนเต็มพลางกล่าวว่า “พวก ท่านจะฉันก็ได้ จะขนเอาไปก็ได้” แล้วได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีตประเคน ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยตนเองกระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ละพระหัตถ์จากบาตร จึงได้นั่งเฝ้า ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้นเห็นชัด ชวนให้อยาก รับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมี กถาแล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับไม่นาน มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้นได้มีความกังวล ได้มีความร้อนใจว่า “ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ ที่ไปโกรธเสียใจคอยจับผิดแล้วบรรจุบาตรของภิกษุจนเต็มพลาง กล่าวว่า พวกท่านจะฉันก็ได้ จะขนเอาไปก็ได้ เราสร้างสมบุญหรือบาปมากกว่า กันหนอ” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้อภิวาทพระผู้มี พระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระราชทานวโรกาส เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับไม่นาน ข้าพระองค์ได้มี ความกังวล ได้มีความร้อนใจว่า ‘ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ ชั่วแล้วหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ ที่ไปโกรธเสียใจคอยจับผิดแล้วบรรจุบาตรของภิกษุ จนเต็มพลางกล่าวว่า พวกท่านจะฉันก็ได้ จะขนเอาไปก็ได้ เราสร้างสมบุญหรือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๙๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๗๑. ตรุณัปปสันนมหามัตตวัตถุ

บาปมากกว่ากันหนอ’ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์สร้างสมบุญหรือบาปมากกว่า กัน” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาอมาตย์ ท่านนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประธานด้วยการให้ที่ล้ำเลิศใด ท่านชื่อว่าสร้างสมบุญไว้มากเพราะการให้ที่เลิศ นั้น ภิกษุแต่ละรูปผู้รับเมล็ดข้าวสุกแต่ละเมล็ดของท่านล้วนเลิศด้วยคุณสมบัติใด ท่านจึงเป็นผู้ที่ชื่อว่าสร้างสมบุญไว้มากเพราะภิกษุผู้เลิศด้วยคุณสมบัตินั้น สวรรค์ เป็นหนทางที่ท่านเริ่มต้นไว้แล้ว” ครั้งนั้น มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้น ร่าเริงเบิกบานใจว่า “ทราบว่าเป็นลาภ ของเรา ทราบว่าเราได้ดีแล้ว ทราบว่าสวรรค์เป็นหนทางที่เราเริ่มต้นไว้แล้ว” แล้ว ลุกจากที่นั่งถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไป ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว ทรงสอบถามพวกภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุได้รับนิมนต์ไว้ที่หนึ่ง แล้วไปฉันข้าวต้มข้นอีกที่หนึ่ง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น ได้รับนิมนต์ไว้ที่หนึ่งแล้วไปฉันข้าวต้มข้นอีกที่หนึ่งเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ อย่าง นี้มิได้ทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสขึ้น ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดง ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรับนิมนต์ไว้ที่หนึ่งแล้ว ไม่พึงไปฉันอีกที่หนึ่ง รูปใดพึงฉัน พึงถูกปรับอาบัติตามธรรม”๑- @เชิงอรรถ : @ พึงถูกปรับอาบัติตามธรรม หมายถึงพึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันปรัมปรโภชนะ ตามความใน @สิกขาบทที่ ๓ แห่งโภชนวรรค (ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๒๑-๒๒๖/๓๘๑-๓๘๔) ภิกษุฉันข้าวต้มข้นที่มี @คติอย่างข้าวสุกของทายกรายหนึ่งแล้วไปฉันภัตตาหารของมหาอมาตย์ นับว่าฉันปรัมปรโภชนะ @(ดู สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๘๓/๓๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๙๐-๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=1566&Z=1623                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=64              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=64&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=64&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/brahmali#pli-tv-kd6:25.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/horner-brahmali#Kd.6.24.7



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :