ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์จับแม่โค
[๒๕๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองภัททิยะตามพระ อัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุง สาวัตถีแล้ว ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถีนั้น สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จับแม่โคที่กำลังข้ามแม่น้ำอจิรวดีที่เขาบ้าง จับที่ หูบ้าง จับที่คอบ้าง จับที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีความกำหนัดจับองค์กำเนิดบ้าง กดลูกโคจนจมน้ำตายบ้าง คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระ ศากยบุตรจึงจับแม่โคที่กำลังข้ามแม่น้ำอจิรวดีที่เขาบ้าง จับที่หูบ้าง จับที่คอบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๓. ยานาทิปฏิกเขปะ

จับที่หางบ้าง ขึ้นขี่หลังบ้าง มีความกำหนัดจับองค์กำเนิดบ้าง กดลูกโคจนจมน้ำ ตายบ้าง เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ จึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จับ แม่โคที่กำลังข้ามแม่น้ำอจิรวดีที่เขาบ้าง จับที่หูบ้าง จับที่คอบ้าง จับที่หางบ้าง ขึ้นขี่ หลังบ้าง มีความกำหนัดจับองค์กำเนิดบ้าง กดลูกโคจนจมน้ำตายบ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจับแม่โคทั้งหลายที่เขา รูปใดจับ ต้องอาบัติทุกกฏ... ไม่พึงจับที่หู ... ไม่พึงจับที่คอ ... ไม่พึงจับที่หาง ... ไม่พึง ขึ้นขี่หลัง รูปใดขึ้นขี่หลัง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีจิตกำหนัด ไม่พึงจับองค์กำเนิด(แม่โค) รูปใดจับ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุไม่พึงฆ่าลูกโค รูปใดฆ่า พึงปรับอาบัติตามธรรม”
๑๕๓. ยานาทิปฏิกเขปะ
ว่าด้วยทรงห้ามยานพาหนะเป็นต้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์โดยสารยานพาหนะและภิกษุเป็นไข้
[๒๕๓] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยสารยานพาหนะเทียมด้วยโคเพศเมีย มีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคเพศผู้มีสตรีเป็นสารถีบ้าง คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนชายหนุ่มหญิงสาว โดยสารยานพาหนะไปเล่นน้ำในแม่น้ำคงคาและแม่น้ำมหี” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๓. ยานาทิปฏิกเขปะ

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงโดยสารยานพาหนะ รูปใด โดยสาร ต้องอาบัติทุกกฏ” ต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปกรุงสาวัตถี ในแคว้นโกศล เพื่อจะเข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาคเป็นไข้ในระหว่างทาง จึงแวะไปนั่งอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง คนทั้งหลาย พบภิกษุรูปนั้นจึงถามว่า “พระคุณเจ้าจะไปไหน ขอรับ” ภิกษุตอบว่า “โยมทั้งหลาย อาตมาจะไปกรุงสาวัตถีเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค” คนเหล่านั้นกล่าวว่า “นิมนต์มาเถิด พระคุณเจ้า เราจะไปด้วยกัน” ภิกษุตอบว่า “อาตมาเป็นไข้ ไปไม่ได้” คนทั้งหลายกล่าวว่า “นิมนต์มาขึ้นยานพาหนะเถิด พระคุณเจ้า” ภิกษุตอบว่า “อย่าเลย พระผู้มีพระภาคทรงห้ามโดยสารยานพาหนะ” ยำเกรงอยู่ ไม่ยอมขึ้นยาน พอไปถึงกรุงสาวัตถีจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานพาหนะสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้”
เรื่องยานพาหนะเทียมด้วยโคเพศผู้และยานพาหนะที่ใช้มือลาก
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “ยานพาหนะที่ทรงอนุญาต นั้นเทียมโคเพศเมียหรือโคเพศผู้” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานพาหนะที่เทียมโค เพศผู้๑- ยานพาหนะที่ใช้มือลาก” @เชิงอรรถ : @ คนที่ลากยานพาหนะจะเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ (วิ.อ. ๓/๒๕๓/๑๖๘) ภิกษุขี่ยานพาหนะประเภทนี้ @ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๕. จัมมขันธกะ]

๑๕๔. อุจจาสยนมหาสยนาปฏิกเขปะ

เรื่องคานหาม
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไม่สบายอย่างหนัก เพราะยานพาหนะกระเทือน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวอ(และ)เปลหาม”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๔-๒๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=3              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=428&Z=467                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=13              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=13&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3769              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=13&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3769                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd5/en/brahmali#pli-tv-kd5:9.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd5/en/horner-brahmali#BD.4.254



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :