บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๒๐๙. สมติงสวิเรจนกถา ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเสวยพระโอสถถ่าย ๓๐ ครั้ง เรื่องสรงพระกายพระผู้มีพระภาค [๓๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีพระวรกายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ พระองค์ได้ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า อานนท์ ตถาคตมีกายหมักหมม ด้วยสิ่งอันเป็นโทษ ตถาคตประสงค์จะฉันยาถ่าย ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาชีวกโกมารภัจถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้ กล่าวกับชีวกโกมารภัจดังนี้ว่า ท่านชีวก พระตถาคตมีพระวรกายหมักหมมด้วย สิ่งอันเป็นโทษ พระตถาคตประสงค์จะฉันพระโอสถถ่าย @เชิงอรรถ : @๑ ผ้าสิไวยกะ เป็นผ้าที่ชาวแคว้นอุตตรกุรุใช้ห่อศพไปทิ้งไว้ในป่าช้า พวกนกหัสดีลิงค์คาบซากศพพร้อมทั้ง @ผ้านั้นไปที่ยอดเขาหิมาลัย ดึงผ้าออกแล้วกินซากศพ พวกนายพรานเห็นผ้านั้น จึงนำมาถวายพระเจ้า @ปัชโชต (วิ.อ. ๓/๓๓๕/๒๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙๔}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๐๙. สมติงสวิเรจนกถา
ชีวกโกมารภัจกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านโปรดทำ พระวรกายของพระผู้มีพระภาคให้ชุ่มชื้นสัก ๒-๓ วัน ครั้นท่านพระอานนท์ทำพระวรกายของพระผู้มีพระภาคให้ชุ่มชื้น ๒-๓ วันแล้ว จึงเข้าไปหาชีวกโกมารภัจถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับชีวกโกมารภัจดังนี้ว่า ท่าน ชีวก พระวรกายของพระผู้มีพระภาคชุ่มชื้นดี เวลานี้ท่านจงรู้เวลาที่ควรเรื่องหมอชีวกทูลถวายพระโอสถถ่าย ๓๐ ครั้ง ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจได้มีความคิดดังนี้ว่า การที่เราจะทูลถวายพระโอสถ ถ่ายชนิดหยาบแด่พระผู้มีพระภาคนั้นไม่สมควรเลย อย่ากระนั้นเลย เราพึงอบก้าน อุบล ๓ ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วน้อมเข้าไปถวายพระตถาคต แล้วได้อบก้าน อุบล ๓ ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้น้อมถวายก้านอุบลก้านหนึ่งแด่พระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงสูดดมก้านอุบลก้านที่ ๑ นี้ วิธีนี้จะทำให้พระผู้มีพระภาค ทรงถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๒ แด่พระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคจงทรงสูดดมก้านอุบลก้านที่ ๒ นี้ วิธีนี้จะทำให้พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๓ แด่พระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคจงทรงสูดดม ก้านอุบลก้านที่ ๓ นี้ วิธีนี้จะทำให้พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง ครั้นชีวกโกมารภัจทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณกลับไป เมื่อชีวกโกมารภัจออกไปนอกซุ้มประตู ได้เกิดความคิดดังนี้ว่า เราทูลถวาย พระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง พระตถาคตมีพระวร กายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จะไม่ทำพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง (แต่) ทำพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙๕}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๐๙. สมติงสวิเรจนกถา
ทรงถ่ายแล้วจะทรงสรงสนานแล้วจึงจะถ่ายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นดังนั้น พระผู้มีพระ ภาคจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้งพอดี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของชีวกโกมารภัจด้วยพระทัย จึงรับสั่งกับท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เวลานี้ ชีวกโกมารภัจออกไปนอกซุ้ม ประตูได้มีความคิดดังนี้ว่า เราทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อให้ถ่าย ครบ ๓๐ ครั้ง พระตถาคตมีพระวรกายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จะไม่ทำพระผู้มี พระภาคให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง (แต่) จะทำพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายแล้วจะทรงสรงสนาน จักทำพระผู้มี พระภาคซึ่งทรงสรงสนานแล้วให้ถ่ายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นดังนั้น พระผู้มีพระภาค จักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้งพอดี อานนท์ ถ้าอย่างนั้นเธอจงเตรียมน้ำร้อนไว้ ท่านพระอานนท์กราบทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วจัดเตรียมน้ำร้อนไว้ถวาย ต่อมา ชีวกโกมารภัจเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลว่า พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายแล้วหรือ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชีวก เราถ่ายแล้ว ชีวกโกมารภัจกราบทูลว่า เมื่อข้าพระองค์ออกไปนอกซุ้มประตูคิดว่า เราทูล ถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง พระตถาคตมี พระวรกายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จะทำพระผู้มีพระภาคให้ไม่ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง (แต่)จะทำพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง พระผู้มีพระภาคทรงถ่าย แล้วจะทรงสรงสนาน จักทำพระผู้มีพระภาคซึ่งทรงสรงสนานแล้วให้ถ่ายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นดังนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้งพอดี พระผู้มีพระภาค โปรดทรงสรงสนานเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระสุคตโปรดสรงสนานเถิด ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสรงน้ำอุ่น วิธีนี้ทำพระผู้มีพระภาคซึ่งทรงสรง สนานแล้วให้ถ่ายอีกครั้งหนึ่งจึงครบ ๓๐ ครั้งพอดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙๖}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๐. วรยาจนากถา
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคไม่ ควรเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่างๆ จนกว่าพระวรกายจะเป็นปกติ๒๑๐. วรยาจนากถา ว่าด้วยหมอชีวกโกมารภัจกราบทูลขอพร [๓๓๗] ต่อมาไม่นานนัก พระผู้มีพระภาคทรงมีพระวรกายเป็นปกติ ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจึงถือผ้าสิไวยกะคู่ ๑ นั้นไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลดังนี้ว่า ข้าพระองค์ ทูลขอพรอย่างหนึ่งกับพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ตถาคตทั้งหลายเลิกให้พรเสียแล้ว ชีวก ชีวกโกมารภัจกราบทูลว่า ข้าพระองค์ทูลขอพรที่เหมาะสมและไม่มีโทษ พระ พุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จงพูดมาเถิด ชีวกเรื่องทรงรับคู่ผ้าสิไวยกะ ชีวกโกมารภัจกราบทูลว่า พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ถือผ้าบังสุกุลอยู่เป็น วัตร ผ้าสิไวยกะคู่นี้เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐสุด มีชื่อเด่นเยี่ยมกว่าคู่ผ้าเป็น อันมาก หลายร้อย หลายพัน หลายแสนคู่ พระเจ้าปัชโชตทรงส่งมาพระราชทาน พระองค์โปรดรับผ้าสิไวยกะคู่ ๑ ของข้าพระองค์เถิดพระพุทธเจ้าข้า และโปรด ทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุสงฆ์พระผู้มีพระภาคทรงรับผ้าสิไวยกะแล้ว ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ชีวกโกมารภัจเห็นชัด ชวนให้อยากรับ ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙๗}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๐. วรยาจนากถา
ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจ ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้ อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถาแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณ แล้วจากไปเรื่องทรงอนุญาตคหบดีจีวร ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคหบดีจีวร รูปใดปรารถนา จะถือผ้าบังสุกุลก็ได้ รูปใดปรารถนาจะรับคหบดีจีวรก็ได้ แต่เราสรรเสริญการยินดี ปัจจัยตามที่ได้เรื่องจีวรเกิดขึ้นมากในกรุงราชคฤห์ คนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตคหบดีจีวร แก่ภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายเหล่านั้นต่างรื่นเริงบันเทิงใจว่า บัดนี้พวกเราจะ ถวายทาน จะบำเพ็ญบุญ เพราะพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ชั่วเพียงวันเดียว จีวรหลายพันผืนได้เกิดขึ้นในกรุงราชคฤห์ ชาวชนบททราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายเหล่านั้นต่างรื่นเริงบันเทิงใจว่า บัดนี้พวกเราจะถวายทาน จะบำเพ็ญ บุญเพราะพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย ชั่วเพียงวันเดียว จีวรหลายพันผืนได้เกิดขึ้นในชนบทเรื่องทรงอนุญาตผ้าปาวาร ผ้าไหม และผ้าโกเชาว์ สมัยนั้น ผ้าปาวาร๑- ได้เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @๑ ผ้าปาวาร คือ ผ้าห่มใหญ่ อาจเป็นผ้าฝ้ายมีขน หรือผ้าชนิดอื่นก็ได้ (วิ.อ. ๓/๓๓๗/๒๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙๘}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๑. กัมพลานุชานนาทิกถา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปาวาร ผ้าปาวารแกมไหมเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปาวารแกมไหม ผ้าโกเชาว์๑- เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าโกเชาว์ปฐมภาณวาร จบ ๒๑๑. กัมพลานุชานนาทิกถา ว่าด้วยทรงอนุญาตผ้ากัมพลเป็นต้น เรื่องผ้ากัมพลราคาครึ่งกาสิยะ [๓๓๘] สมัยนั้น พระเจ้ากาสีทรงส่งผ้ากัมพลราคาครึ่งกาสิยะ๒- ไปพระราชทาน แก่ชีวกโกมารภัจ ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจรับผ้ากัมพลครึ่งกาสิยะนั้นแล้วเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ชีวกโกมารภัจผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระองค์ผู้เจริญ ผ้ากัมพลของข้าพระองค์ผืนนี้ราคาครึ่งกาสิยะ พระเจ้ากาสีพระ ราชทานมา ขอพระผู้มีพระภาคโปรดรับผ้ากัมพลผืนนี้เพื่อประโยชน์และความสุข ตลอดกาลนานแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า @เชิงอรรถ : @๑ ผ้าโกเชาว์ คือ ผ้าทำด้วยขนแพะ ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่ไม่ควร ส่วนผ้าโกเชาว์ปกติทั่วไป ควรอยู่ @(วิ.อ. ๓/๓๓๗/๒๐๘) @๒ ผ้ากัมพล คือ ผ้าทอด้วยขนสัตว์ กาสิยะ หมายถึง ๑,๐๐๐ ผ้ากัมพลราคาครึ่งกาสิยะคือราคา ๕๐๐ @(วิ.อ. ๓/๓๓๘/๒๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙๙}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๑. กัมพลานุชานนาทิกถา
พระผู้มีพระภาคทรงรับผ้ากัมพลแล้ว ชี้แจงให้ชีวกโกมารภัจเห็นชัด ชวนให้ อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับ ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถา เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากัมพลทรงอนุญาตคหบดีจีวร ๖ ชนิด เรื่องผ้าเนื้อดี เนื้อหยาบ [๓๓๙] สมัยนั้น จีวรทั้งชนิดที่มีเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบได้เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตจีวรอะไรบ้าง ไม่ทรงอนุญาตจีวรอะไรบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวร ๖ ชนิด คือ ๑. โขมะ (ผ้าเปลือกไม้) ๒. กัปปาสิกะ (ผ้าฝ้าย) ๓. โกเสยยะ (ผ้าไหม) ๔. กัมพล (ผ้าขนสัตว์) ๕. สาณะ (ผ้าป่าน) ๖. ภังคะ (ผ้าที่ทำด้วยของผสมกัน) [๓๔๐] สมัยนั้น ภิกษุผู้ยินดีคหบดีจีวร พากันรังเกียจไม่ยอมรับผ้าบังสุกุล เพราะคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตจีวรอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ ๒ ชนิด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐๐}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๒. ปังสุกูลปริเยสนกถา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ยินดีคหบดี จีวรยินดีผ้าบังสุกุลได้ แต่เราสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรทั้งสองชนิดนั้น๒๑๒. ปังสุกูลปริเยสนกถา ว่าด้วยการแสวงหาผ้าบังสุกุล เรื่องภิกษุรอกันและไม่รอ [๓๔๑] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล บางพวกแวะเข้า ป่าช้าเพื่อหาผ้าบังสุกุล บางพวกไม่ยอมรอ ผู้แวะเข้าป่าช้าเพื่อหาผ้าบังสุกุลต่างได้ ผ้าบังสุกุล ผู้ที่ไม่รอพูดว่า ท่านทั้งหลาย โปรดให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง พวกที่ได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมท่าน ไม่รอเล่า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการไม่ ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่ไม่รอ สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล บางพวกแวะเข้าป่าช้า เพื่อหาผ้าบังสุกุล บางพวกรออยู่ ผู้แวะเข้าป่าช้าเพื่อหาผ้าบังสุกุลต่างได้ผ้าบังสุกุล ผู้ที่รออยู่พูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย โปรดให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง พวกที่ได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมพวก ท่านไม่แวะไปเล่า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการก็ ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่รออยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐๑}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]
๒๑๒. ปังสุกูลปริเยสนกถา
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล บางพวกแวะเข้าป่าช้า เพื่อหาผ้าบังสุกุลก่อน บางพวกแวะเข้าไปทีหลัง ผู้แวะเข้าป่าช้าเพื่อหาผ้าบังสุกุล ก่อนต่างได้ผ้าบังสุกุล ผู้ที่แวะเข้าไปทีหลังไม่ได้ผ้า จึงพูดว่า ท่านทั้งหลาย โปรด ให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง พวกได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมท่านแวะ ไปทีหลังเล่า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการไม่ ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่แวะเข้าไปทีหลัง สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล พร้อมกันแวะเข้าป่าช้า เพื่อหาผ้าบังสุกุล บางพวกได้ผ้าบังสุกุล บางพวกไม่ได้ผ้า พวกที่ไม่ได้ผ้า พูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย โปรดให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง พวกได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมพวก ท่านหาไม่ได้เล่า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการ ก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่แวะเข้าไปพร้อมกัน สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล นัดกันแวะเข้าป่าช้าเพื่อ หาผ้าบังสุกุล บางพวกได้ผ้าบังสกุล บางพวกไม่ได้ผ้า พวกที่ไม่ได้ผ้าพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายโปรดให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง พวกได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมพวก ท่านหาไม่ได้เล่า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการก็ ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่นัดกันแวะเข้าไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐๒}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๙๔-๒๐๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=34 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=3587&Z=3733 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=135 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=135&items=6 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4630 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=135&items=6 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4630 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:1.30.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#BD.4.394
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]