ปรามาสโคจฉกะ
[๙๓๗] ปรามาสธรรม เป็นไฉน?
ทิฏฐิปรามาสะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ปรามาสธรรม.
ธรรมไม่เป็นปรามาสะ เป็นไฉน?
อกุศลที่เหลือ เว้นปรามาสะเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤต
ในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นปรามาสะ.
[๙๓๘] ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน?
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปทั้งหมด สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ.
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน?
มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.
[๙๓๙] ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ เป็นไฉน?
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง เว้นปรามาสะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ.
ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ เป็นไฉน?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทสหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา
๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔
วิบากในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปและนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ.
ปรามาสธรรม จะกล่าวว่า สัมปยุตด้วยปรามาสะก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุตจากปรามาสะ
ก็ไม่ได้.
[๙๔๐] ธรรมเป็นปรามาสะ และเป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน?
ปรามาสธรรมนั้นแล ชื่อว่า ธรรมปรามาสะ และเป็นอารมณ์ของปรามาสะ.
ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่ไม่เป็นปรามาสะ เป็นไฉน?
อกุศลที่เหลือ เว้นปรามาสะเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓
และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่ไม่เป็นปรามาสะ.
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นปรามาสะและเป็นอารมณ์
ของปรามาสะก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่ไม่เป็นปรามาสะก็ไม่ได้.
[๙๔๑] ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ แต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสส-
*เวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศล
ในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมวิปยุตจากปรามาสะ แต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.
ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน?
มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
วิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.
ธรรมเป็นปรามาสะและสัมปยุตด้วยปรามาสะ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ
แต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ของ
ปรามาสะก็ไม่ได้.
ปรามาสโคจฉกะ จบ
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๘๑๕๒-๘๑๙๔ หน้าที่ ๓๒๔-๓๒๕.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=8152&Z=8194&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=34&A=8152&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=73
ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=937
พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=34&A=7299
The Pali Tipitaka in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=34&A=7299
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔
http://84000.org/tipitaka/read/?index_34
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
