ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๘๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๔. อัคคัญญสูตร]

                                                                 ความบริสุทธิ์แห่งวรรณะ ๔

[๑๑๖] วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อวรรณะ ๔ เหล่านี้ รวมกันเป็นบุคคล ๒ จำพวก คือ ๑. พวกที่ดำรงอยู่ในธรรมดำที่วิญญูชนติเตียนจำพวกหนึ่ง ๒. พวกที่ดำรงอยู่ในธรรมขาวที่วิญญูชนสรรเสริญจำพวกหนึ่ง ในเรื่องนี้ พวกพราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุด คือพราหมณ์ เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์ เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม เกิดจากพระพรหม เป็นผู้ที่พระพรหมสร้างขึ้น เป็น ทายาทของพระพรหม’ วิญญูชนทั้งหลายย่อมไม่รับรองถ้อยคำของพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บรรดาวรรณะ ๔ เหล่านี้ ผู้ใดเป็นภิกษุอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑- ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๒- ปลงภาระได้แล้ว๓- บรรลุประโยชน์ ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นเรียกได้ว่า เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายในวรรณะ ๔ เหล่านั้น โดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม เพราะธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า [๑๑๗] วาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยเหตุผลนี้ เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า ‘ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า’ วาเสฏฐะและภารทวาชะ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบว่า ‘พระสมณโคดม เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูลที่เท่าเทียมกัน๔-’ ดังนี้ ก็พวกศากยะยังต้องตามเสด็จ พระเจ้าปเสนทิโกศลอยู่ตลอดเวลา และพวกเจ้าศากยะยังต้องกระทำการนอบน้อม @เชิงอรรถ : @ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว หมายถึงได้เป็นพระอเสขะ ส่วนพระเสขะ ๗ จำพวก และกัลยาณปุถุชนชื่อว่า @กำลังประพฤติพรหมจรรย์ (ที.ปา.อ. ๑๑๖/๔๘) @ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว หมายถึงทำกิจมีความกำหนดรู้ เป็นต้นในอริยสัจ ๔ ด้วยมรรค ๔ @(ที.ปา.อ. ๑๑๖/๔๘) @ ปลงภาระได้แล้ว หมายถึงปลงกิเลสภาระ(ภาระคือกิเลส) ขันธภาระ(ภาระคือร่างกาย) และอภิสังขารภาระ @(ภาระคืออภิสังขาร) ลงแล้ว (ที.ปา.อ. ๑๑๖/๔๘) @ เท่าเทียมกัน เป็นคำเปรียบเทียบที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงใช้เพื่อยกย่องศากยตระกูลว่าเสมอกับ @ราชตระกูลของพระองค์ (ที.ปา.อ. ๑๑๗/๔๙, ที.ปา.ฏีกา ๑๑๗/๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๘๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๘๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=87&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=2492 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=2492#p87 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๘๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]