ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

หน้าที่ ๓๔๕-๓๔๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

                                                                 ๑๕. สักกายปัญหาสูตร

๑๔. ทุกขปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องทุกข์
[๓๒๗] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ทุกข์ ทุกข์’ ทุกข์มีเท่าไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ สภาวทุกข์มี ๓ ประการนี้ คือ ๑. สภาวทุกข์คือทุกข์ ๒. สภาวทุกข์คือสังขาร ๓. สภาวทุกข์คือความแปรผันไป สภาวทุกข์มี ๓ อย่างเหล่านี้” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นดี จริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
ทุกขปัญหาสูตรที่ ๑๔ จบ
๑๕. สักกายปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องสักกายะ
[๓๒๘] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘สักกายะ (กายของตน) สักกายะ’ สักกายะคืออะไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกว่า สักกายะ ได้แก่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๔๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

                                                                 ๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า สักกายะ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
สักกายปัญหาสูตรที่ ๑๕ จบ
๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องสิ่งที่ทำได้ยาก
[๓๒๙] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร อะไรหนอที่ทำได้ยากใน พระธรรมวินัยนี้” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ การบรรพชาทำได้ยากในพระธรรมวินัยนี้” “อะไรที่บรรพชิตทำได้ยาก” “ความยินดียิ่ง บรรพชิตทำได้ยาก” “อะไรที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๔๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๔๕-๓๔๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=18&page=345&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=18&A=9618 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=18&A=9618#p345 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 18 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๔๕-๓๔๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]