ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๔๐๗-๔๐๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. สติวรรค ๓. มูลกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหา ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตจึงแจ่มแจ้ง ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้ ... เข้าไปนั่งใกล้ แต่ไม่สอบถาม ... สอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ... เงี่ยโสตฟังธรรม แต่ฟังธรรม แล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ได้ ... ฟังแล้วทรงจำไว้ได้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ ทรงจำไว้ได้ ... พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ แต่หาใช่รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง ปุณณิยะ แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้ สอบถาม เงี่ยโสตฟังธรรม ฟังธรรมแล้วทรงจำธรรมไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคต จึงแจ่มแจ้ง ปุณณิยะ ธรรมเทศนาของตถาคตประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล จึงแจ่ม แจ้งโดยแท้”
ปุณณิยสูตรที่ ๒ จบ
๓. มูลกสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง๑-
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า ๑. ธรรมทั้งปวง๒- มีอะไรเป็นมูลเหตุ ๒. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแดนเกิด ๓. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นเหตุเกิด ๔. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่ประชุม @เชิงอรรถ : @ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๘/๑๒๕ @ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๘๓/๒๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๐๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. สติวรรค ๓. มูลกสูตร

๕. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นประมุข ๖. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นใหญ่ ๗. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นยิ่ง ๘. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแก่น เธอทั้งหลายถูกถามแล้วอย่างนี้ จะพึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจาก พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า ๑. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล ๒. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแดนเกิด ๓. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นเหตุเกิด ๔. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่ประชุม ๕. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นประมุข ๖. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นใหญ่ ๗. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นยิ่ง ๘. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแก่น ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ๑. ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล ๒. ธรรมทั้งปวงมีมนสิการเป็นแดนเกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๐๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๐๗-๔๐๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=407&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=11379 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=11379#p407 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๐๗-๔๐๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]