ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๑๘๓-๑๘๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เถรวรรค ๓. ปุณณิยสูตร

๑๐. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) จักถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ อานนท์ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้ จักถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อานันทสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปุณณิยสูตร
ว่าด้วยพระปุณณิยะ
[๘๓] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระธรรมเทศนาของ พระตถาคตแจ่มแจ้งในบางคราว แต่ในบางคราว กลับไม่แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหา ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง แต่เมื่อใด ภิกษุมีศรัทธาและเข้าไปหา เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตจึงแจ่มแจ้ง ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้ ... เข้าไปนั่งใกล้ แต่ไม่สอบถาม ... สอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม เงี่ยโสตฟังธรรม แต่ไม่ทรงจำ ธรรมไว้ ... ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ... พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ แต่ไม่รู้อรรถ ไม่รู้ธรรม ไม่ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม รู้อรรถ รู้ธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว แต่ไม่มี วาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่ หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะประกอบด้วยวาจา ชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ แต่ไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารี เห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ไม่ปลอบ ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๘๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เถรวรรค ๔. พยากรณสูตร

ปุณณิยะ แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เข้าไปหา ๑ เข้าไปนั่งใกล้ ๑ สอบถาม ๑ เงี่ยโสตฟังธรรม ๑ ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ ๑ พิจารณาเนื้อความ แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ๑ เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ มีวาจา งาม เจราจาถ้อยคำไพเราะประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคาย ให้รู้ ความหมายได้ ๑ ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ๑ เมื่อนั้น ธรรมเทศนา ของตถาคตจึงแจ่มแจ้ง ปุณณิยะ ธรรมเทศนาของตถาคตประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึง แจ่มแจ้งโดยแท้
ปุณณิยสูตรที่ ๓ จบ
๔. พยากรณสูตร
ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัตตผล
[๘๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้กล่าว เรื่องนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๑- เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้อีกต่อไป๒-’ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาด ในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมซักถาม สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น ภิกษุนั้นผู้ถูกพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ @เชิงอรรถ : @ กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์ การละเหตุเกิดทุกข์ การทำให้แจ้งซึ่ง @ความดับทุกข์และการอบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) @ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณเพื่อความสิ้น @กิเลสอีกต่อไป เพราะพุทธศาสนาถือว่าการบรรลุอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๑๘๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๘๓-๑๘๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=183&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=5215 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=5215#p183 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๘๓-๑๘๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]