ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เถรวรรค ๑๐. ขีณาสวพลสูตร

ผรุสวาจาเป็นเหมือนผึ่ง เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว ย่อมเกิดที่ปากของคนพาล ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น การปราชัยด้วยทรัพย์ ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้ เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น เป็นความผิดมากกว่า บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่วติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป กับอีก ๕ อัพพุทกัป
โกกาลิกสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ขีณาสวพลสูตร๑-
ว่าด้วยกำลังของพระขีณาสพ
[๙๐] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “สารีบุตร ภิกษุขีณาสพมีกำลังเท่าไร จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว” @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๒๘/๑๘๓-๑๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๐๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เถรวรรค ๑๐. ขีณาสวพลสูตร

ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง ๑๐ ประการ จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’ กำลัง ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็น สภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่สังขาร ทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาอัน ชอบตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพ อาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’ ๒. กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาอันชอบตาม ความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’ ๓. จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ปราศจากเงื่อนธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดย ประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ปราศจากเงื่อนธรรมอันเป็นที่ ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ที่ ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเรา สิ้นแล้ว’ ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่ สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลัง ของภิกษุขีณาสพ ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๐๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เถรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๕. สัมมัปปธาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ... ๖. อิทธิบาท ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ... ๗. อินทรีย์ ๕ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ... ๘. พละ ๕ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ... ๙. โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ... ๑๐. มรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว [แม้ข้อที่ มรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลัง ของภิกษุขีณาสพ ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว‘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง ๑๐ ประการนี้แล จึงปฏิญญา ความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
ขีณาสวพลสูตรที่ ๑๐ จบ
เถรวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วาหุนสูตร ๒. อานันทสูตร ๓. ปุณณิยสูตร ๔. พยากรณสูตร ๕. กัตถีสูตร ๖. อธิมานสูตร ๗. นัปปิยสูตร ๘. อักโกสกสูตร ๙. โกกาลิกสูตร ๑๐. ขีณาสวพลสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๐๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=24&page=204&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=5840 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=24&A=5840#p204 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]