บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |||
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส หน้าที่ ๕๗๑-๕๗๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส
๖. สีลกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล) ๗. สมาธิกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น) ๘. ปัญญากถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา) ๙. วิมุตติกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์) ๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจและเข้าใจเรื่องความรู้ ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์) ย่อมกล่าว สติปัฏฐานกถา สัมมัปปธานกถา อิทธิบาทกถา อินทริยกถา พลกถา โพชฌงคกถา มัคคกถา ผลกถา นิพพานกถา ภิกษุเป็นผู้สำรวมระวัง ระมัดระวัง คุ้มครอง ปกปัก รักษา สังวรด้วยวาจา นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์แห่งวาจา ภิกษุพึงเป็น ผู้ประกอบด้วยความบริสุทธิ์แห่งวาจาเช่นนี้ รวมความว่า พึงมีแนวทางแห่งถ้อยคำ อย่างไร คำว่า พึงมีโคจรในศาสนานี้อย่างไร อธิบายว่า พระเถระถามถึงโคจรว่า ภิกษุพึงประกอบด้วยโคจรเช่นไร คือ ตั้งไว้อย่างไร มีประการอย่างไร เปรียบได้กับ อะไร โคจรก็มี อโคจรก็มีว่าด้วยอโคจรและโคจร อโคจร๑- เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร มีหญิงหม้าย เป็นโคจร มีสาวเทื้อเป็นโคจร มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร มีภิกษุณีเป็นโคจร หรือมีร้าน สุราเป็นโคจร เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ ตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นดุจบ่อน้ำ มักด่าและบริภาษ ปรารถนาแต่สิ่ง ที่มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนา ความหลุดพ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า อโคจร @เชิงอรรถ : @๑ อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๕๑๔/๓๘๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๗๑}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนไม่สำรวม เดินมองช้าง มองม้า มองรถ มองพลเดินเท้า มองสตรี มองบุรุษ มองเด็กชาย มองเด็กหญิง มอง ร้านตลาด มองหน้ามุขเรือน มองข้างบน มองข้างล่าง มองทิศน้อยทิศใหญ่ แม้นี้ก็ ตรัสเรียกว่า อโคจร อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว รวบถือ แยกถือ ... ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ สำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ โทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ แม้นี้ก็ตรัส เรียกว่า อโคจร อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลธรรมเห็น ปานนี้อยู่ เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมดนตรี การดูมหรสพ การเล่านิทาน การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง การสร้างฉากบ้านเมืองให้สวยงาม การละเล่นของคนจัณฑาล การ เล่นกระดานหก การละเล่นหน้าศพ การแข่งชนช้าง การแข่งม้า การแข่งชนกระบือ การแข่งชนโค การแข่งชนแพะ การแข่งชนแกะ การแข่งชนไก่ การแข่งชนนกกระทา การรำกระบี่กระบอง การชกมวย มวยปล้ำ การตรวจพลสวนสนาม การจัดกระบวน- ทัพ แม้นี้ก็ตรัสเรียกว่า อโคจร แม้กามคุณ ๕ ก็ชื่อว่าอโคจร สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธออย่าเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเธอ เที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร มารก็จักได้ช่อง จักได้อารมณ์ ภิกษุทั้งหลาย แดน อื่นที่เป็นอโคจรของภิกษุ เป็นอย่างไร คือ กามคุณ ๕ กามคุณ ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่รู้ได้ทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่รู้ได้ทางหู ... ๓. กลิ่นที่รู้ได้ทางจมูก... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๗๒}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส
๔. รสที่รู้ได้ทางลิ้น... ๕. โผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย นี้ตถาคตเรียกว่า แดนอื่นอันเป็นอโคจรของภิกษุ แม้นี้ก็ตรัส เรียกว่า อโคจร โคจร เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีหญิงหม้าย เป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีนาง ภิกษุณีเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีร้านสุราเป็นโคจร ไม่อยู่คลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร หรือ เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นดุจบ่อน้ำ รุ่งเรืองไปด้วยผ้า กาสาวะ อบอวลไปด้วยกลิ่นของฤษี ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่ง ที่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ผาสุก ปรารถนาแต่ความหลุดพ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาเช่นนั้น แม้นี้ก็ตรัสเรียกว่า โคจร อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนก็สำรวม ไม่เดินมองช้าง มองม้า มองรถ มองพลเดินเท้า... มองทิศน้อยทิศใหญ่ แม้นี้ก็ตรัสเรียกว่า โคจร อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ... ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ แม้นี้ก็ตรัสเรียกว่า โคจร อีกนัยหนึ่ง ภิกษุงดเว้นจากความขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เห็นปานนี้อยู่ เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขาให้ด้วย ศรัทธาแล้ว ไม่พากันขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมดนตรี ... แม้นี้ก็ตรัสเรียกว่า โคจร แม้สติปัฏฐาน ๔ ก็ชื่อว่า โคจร สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวไปในแดนบิดาของตนอันเป็นโคจรเถิด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อ พวกเธอเที่ยวไปในแดนบิดาของตนอันเป็นโคจร มารก็จักไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ภิกษุทั้งหลาย แดนบิดาของตนอันเป็นโคจร เป็นอย่างไร คือสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ คือ อะไรบ้าง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๗๓}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]
๑๖. สารีปุตตสุตตนิทเทส
๑. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย... ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต... ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า แดนบิดาของตนอันเป็นโคจร แม้นี้ก็ตรัสเรียกว่า โคจร ภิกษุพึงเป็นผู้ประกอบด้วยโคจรเช่นนี้ รวมความว่า พึงมีโคจรในศาสนานี้ อย่างไรว่าด้วยศีลและวัตร คำว่า พึงมีศีลและวัตรอย่างไร อธิบายว่า พระสารีบุตรเถระถามถึงความ บริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรว่า ภิกษุพึงประกอบด้วยศีลและวัตรเช่นไร คือตั้งไว้อย่างไร มีประการอย่างไร เปรียบเทียบได้กับอะไร ความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรเป็นอย่างไร เป็นศีลและวัตรก็มี เป็นวัตรแต่ไม่ใช่ศีลก็มี เป็นศีลและวัตร เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ความสำรวม ความสังวร การไม่ล่วงละเมิดในสิกขาบทเหล่านั้น นี้ชื่อว่าศีล การสมาทาน ชื่อว่าวัตร ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่า สังวร ชื่อว่าวัตร เพราะมีความหมายว่าสมาทาน นี้เรียกว่า ศีลและวัตร เป็นวัตรแต่ไม่ใช่ศีล เป็นอย่างไร คือ ธุดงค์ ๘ ข้อ ได้แก่ ๑. อารัญญิกังคธุดงค์ ๒. ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ๓. ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ๔. เตจีวริกังคธุดงค์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๗๔}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๕๗๑-๕๗๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=29&page=571&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=17013 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=17013#p571 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 29 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29
จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๗๑-๕๗๔.
|
|
| |
บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]