บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
| |
ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman |
อาภาวรรคที่ ๕ [๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ แสงสว่างแห่งพระจันทร์ ๑ แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ ๑ แสงสว่างแห่งไฟ ๑ แสงสว่างแห่งปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาแสงสว่าง ๔ ประการนี้ แสงสว่างแห่งปัญญาเป็นเลิศ ฯ [๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัศมี ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ รัศมีแห่งพระจันทร์ ๑ รัศมีแห่งพระอาทิตย์ ๑ รัศมีแห่งไฟ ๑ รัศมี แห่งปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัศมี ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดารัศมี ๔ ประการนี้ รัศมีแห่งปัญญาเป็นเลิศ ฯ [๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสว่าง ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ความสว่างแห่งพระจันทร์ ๑ ความสว่างแห่งพระอาทิตย์ ๑ ความสว่าง แห่งไฟ ๑ ความสว่างแห่งปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสว่าง ๔ ประการ นี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความสว่าง ๔ ประการนี้ ความสว่างแห่ง ปัญญาเป็นเลิศ ฯ [๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอภาส ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ โอภาสแห่งพระจันทร์ ๑ โอภาสแห่งพระอาทิตย์ ๑ โอภาสแห่งไฟ ๑ โอภาสแห่งปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอภาส ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาโอภาส ๔ ประการนี้ โอภาสแห่งปัญญาเป็นเลิศ ฯ [๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความโพลง ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ความโพลงแห่งพระจันทร์ ๑ ความโพลงแห่งพระอาทิตย์ ๑ ความโพลง แห่งไฟ ๑ ความโพลงแห่งปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความโพลง ๔ ประการ นี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความโพลง ๔ ประการนี้ ความโพลงแห่ง ปัญญาเป็นเลิศ ฯ [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ นี้ กาล ๔ เป็นไฉน คือ การฟัง ธรรมตามกาล ๑ การสนทนาธรรมตามกาล ๑ การสงบตามกาล ๑ การพิจารณา ตามกาล ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ นี้แล ฯ [๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ นี้ อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ กาล ๔ เป็นไฉน คือ การฟังธรรมตามกาล ๑ การสนทนาตามกาล ๑ การสงบตามกาล ๑ การพิจารณาตามกาล ๑ กาล ๔ นี้แล อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปโดย ชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเม็ดใหญ่ ตกบนภูเขา น้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม ซอกเขา ลำธารและห้วยเต็มแล้ว ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองเต็มแล้ว ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงเต็มแล้ว ย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยเต็มแล้ว ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังสมุทรสาครให้เต็ม แม้ฉันใด กาล ๔ นี้ อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้เป็นไปโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ ประการนี้แล ฯ [๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ พูดจริง ๑ พูดไม่ส่อเสียด ๑ พูดอ่อนหวาน ๑ พูดด้วยปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้แล ฯ [๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาระ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ สีลสาระ ๑ สมาธิสาระ ๑ ปัญญาสาระ ๑ วิมุตติสาระ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สาระ ๔ ประการนี้แล ฯจบอาภาวรรคที่ ๕ จบตติยปัณณาสก์ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๓๘๓๕-๓๘๘๓ หน้าที่ ๑๖๔ - ๑๖๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=3835&Z=3883&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=144&book=21 อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=131 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=141 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_read.php?B=21&A=3986 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_read.php?B=21&A=3986 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]