ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
             [๙๔๓] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
             จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
             ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่
เป็นจิต.
             [๙๔๔] เจตสิกธรรม เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เจตสิกธรรม.
             อเจตสิกธรรม เป็นไฉน?
             จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อเจตสิกธรรม.
             [๙๔๕] จิตตสัมปยุตธรรม เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสัมปยุตธรรม
             จิตตวิปปยุตธรรม เป็นไฉน?
             รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตวิปปยุตธรรม.
             จิต จะกล่าวว่า จิตตสัมปยุตก็ไม่ได้ ว่าจิตตวิปปยุตธรรมก็ไม่ได้.
             [๙๔๖] จิตตสังสัฏฐธรรม เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐธรรม.
             จิตตวิสังสัฏฐธรรม เป็นไฉน?
             รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตวิสังสัฏฐธรรม.
             จิต จะกล่าวว่า จิตตสังสัฏฐธรรมก็ไม่ได้ ว่าจิตตวิสังสัฏฐธรรมก็ไม่ได้.
             [๙๔๗] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ หรือรูปแม้อื่นใด ซึ่ง
เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา
รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสมุฏฐาน-
*ธรรม.
             ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?
             จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
             [๙๔๘] จิตตสหภูธรรม เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
จิตตสหภูธรรม.
             ธรรมไม่เป็นจิตตสหภู เป็นไฉน?
             จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสหภู.
             [๙๔๙] จิตตานุปริวัตติธรรม เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า จิตตานุปริวัตติธรรม.
             ธรรมไม่เป็นจิตตานุปริวัตติ เป็นไฉน?
             จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตานุปริวัตติ.
             [๙๕๐] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน-
*ธรรม.
             ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน เป็นไฉน?
             จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน.
             [๙๕๑] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน-
*สหภูธรรม.
             ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู เป็นไฉน?
             จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู.
             [๙๕๒] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานา-
*นุปริวัตติธรรม.
             ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ เป็นไฉน?
             จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุ-
*ปริวัตติ.
             [๙๕๓] อัชฌัตติกธรรม เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัชฌัตติกธรรม.
             พาหิรธรรม เป็นไฉน?
             รูปายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า พาหิรธรรม.
             [๙๕๔] อุปาทาธรรม เป็นไฉน?
             จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทาธรรม.
             ธรรมไม่เป็นอุปาทา เป็นไฉน?
             กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ มหาภูตรูป ๔ และ
นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอุปาทา.
             [๙๕๕] อุปาทินนธรรม เป็นไฉน?
             วิบากในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทินนธรรม.
             อนุปาทินนธรรม เป็นไฉน?
             กุศลในภูมิ ๓ อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น มรรค ๔
ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนธรรม.
มหันตรทุกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๘๒๐๑-๘๒๗๐ หน้าที่ ๓๒๖-๓๒๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=8201&Z=8270&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=74              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=942              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [943-955] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=943&items=13              The Pali Tipitaka in Roman :- [943-955] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=34&item=943&items=13              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :