บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
[๖๔๖] บทว่า แล ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็น เถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตามนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า แล ... ใด บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น ผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์ พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง ประสงค์ในอรรถนี้ บทว่า ในอาสนะมีรูปอย่างนั้น คือ ในอาสนะเห็นปานนั้น ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นสตรีผู้รู้เดียงสา สามารถซาบซึ้งถึงถ้อยคำ เป็นสุภาษิต ทุรภาษิต วาจาชั่วหยาบ และสุภาพ บทว่า กับ คือ ร่วมกัน คำว่า รูปเดียว ... ผู้เดียว ได้แก่ ภิกษุ ๑ มาตุคาม ๑ ที่ชื่อว่า ในที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา ๑ ที่ลับหู ๑ ที่ลับตา ได้แก่สถานที่ซึ่งเมื่อภิกษุ หรือ มาตุคาม ขยิบตา ยักคิ้ว หรือชูศีรษะไม่มีใครสามารถจะแลเห็นได้ ที่ลับหู ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดตามปกติได้ คำว่า สำเร็จการนั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่งแล้ว ภิกษุนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ ก็ดี เมื่อภิกษุนั่งแล้ว มาตุคามนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ก็ดี นั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคนก็ดี [๖๔๗] อุบาสิกาที่ชื่อว่า มีวาจาที่เชื่อได้ คือ เป็นสตรีผู้บรรลุผล ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจ ศาสนาดี ที่ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ สตรีผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ผู้ถึง พระสงฆ์เป็นสรณะ บทว่า เห็น คือพบ [๖๔๘] อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เช่นนั้น พึงพูดขึ้นด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วย ปาจิตตีย์บ้าง อีกประการหนึ่งอุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้น พึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น.ปฏิญญาตกรณะ เห็นนั่งกำลังเคล้าคลึง [๖๔๙] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็น พระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึง ด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านั่งจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนอน หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับเห็นนอนกำลังเคล้าคลึง [๖๕๐] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึง ด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านอนจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนั่ง หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.ได้ยินนั่งกำลังพูดเคาะ [๖๕๑] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลังพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วย วาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านั่งจริง แต่ไม่ได้พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจา ชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนอน หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านั่งกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจา ชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.ได้ยินนอนกำลังพูดเคาะ [๖๕๒] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลังพูดเคาะ มาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วย วาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านอนจริง แต่ไม่ได้พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่ว หยาบ ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วย วาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนั่ง หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันได้ยินพระคุณเจ้านอนกำลังพูดเคาะมาตุคามด้วย วาจาชั่วหยาบ ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอนข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.เห็นนั่งในที่ลับ [๖๕๓] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับกับ มาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับเพราะการนั่ง หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับกับมาตุคาม ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะ การนอน หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับกับมาตุคาม ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.เห็นนอนในที่ลับ [๖๕๔] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับกับ มาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับเพราะการนอน หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับกับมาตุคาม ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะ การนั่ง หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับกับมาตุคาม ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ. [๖๕๕] บทว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสท้าวถึงสิกขาบทก่อน บทว่า อนิยต แปลว่า ไม่แน่นอน คือ เป็นสังฆาทิเสสก็ได้ เป็นปาจิตตีย์ก็ได้.บทภาชนีย์ [๖๕๖] ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับเพราะการนั่ง ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่พึงปรับ ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับเพราะการนั่ง ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่พึงปรับ.อนิยต สิกขาบทที่ ๒ จบ. บทสรุป [๖๕๗] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ อนิยต ๒ สิกขาบทเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในธรรม คืออนิยต ๒ สิกขาบทเหล่านี้ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.อนิยตกัณฑ์ จบ. หัวข้อประจำเรื่อง อนิยต ๒ สิกขาบท คือ นั่งในที่ลับพอจะทำการได้ ๑ แลนั่งในที่เช่นนั้น แต่หาเป็นที่ พอจะทำการได้ไม่ ๑ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้คงที่ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว ดั่งนี้แล.----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๙๔๕๒-๑๙๕๖๙ หน้าที่ ๗๕๐-๗๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=19452&Z=19569&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=1&item=646&items=13 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=1&item=646&items=13&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=1&item=648&items=-647 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=1&item=648&items=-647 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=646 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]