ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             [๑๙๒] ดูกรสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุรุษ
รุ่นหนุ่มผู้เจริญนี้ มีเกศาดำสนิท ประกอบด้วยวัยหนุ่มอันเจริญประกอบด้วยปัญญาเฉลียวฉลาด
อย่างยิ่งสมกับวัยต้น ต่อมา บุรุษผู้เจริญนี้ เป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า ถือเอาซึ่งความเป็นผู้ใหญ่
ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ คือ มีอายุถึง ๘๐ ปีบ้าง ๙๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง โดยชาติ ย่อมเสื่อม
จากปัญญาความเฉลียวฉลาดนั้น ในภายหลัง ดูกรสารีบุตร ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ก็บัดนี้
เราเป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า ถือเอาซึ่งความเป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ อายุของเราแปดสิบ
ปีเข้านี่แล้ว สาวกบริษัททั้ง ๔ ของเราในธรรมวินัยนี้ มีอายุถึงร้อยปี เป็นอยู่ได้ตั้งร้อยปี ประกอบ
ด้วย สติ คติ ธิติ อันยอดเยี่ยม และปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือน
นักธนูมั่นคง ได้รับการฝึกหัดแล้ว ช่ำชอง ชำนิชำนาญ เคยแสดงฝีมือมาแล้ว พึงยิงงวงตาล
โดยขวางให้ตกลง ด้วยลูกศรขนาดเบาโดยง่ายดาย แม้ฉันใด สาวกบริษัท ๔ ของเราเป็นผู้มีสติ
อันยิ่ง มีคติอันยิ่ง มีปัญญาทรงจำอันยิ่ง ประกอบด้วยปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ฉันนั้น พวกเธอ
พึงถามปัญหาอิงสติปัฏฐาน ๔ กะเรา เราถูกถามปัญหาแล้วๆ พึงพยากรณ์แก่พวกเธอ พวกเธอ
พึงทรงจำคำที่เราพยากรณ์แล้ว โดยเป็นคำพยากรณ์ มิได้สอบถามเราให้ยิ่งกว่า ๒ ครั้ง เว้นจาก
การกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เว้นจากการหลับและบรรเทา
ความเมื่อยล้า ดูกรสารีบุตร ธรรมเทศนาของตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น บทและพยัญชนะแห่งธรรม
ของตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น ความแจ่มแจ้งแห่งปัญหาของตถาคตนั้น ไม่รู้จักจบสิ้น เมื่อเป็น
ดังนั้น สาวกบริษัท ๔ ของเราเหล่านั้น จึงมีอายุตั้ง ๑๐๐ ปี เป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี พึงกระทำกาละ
โดยล่วงไปแห่ง ๑๐๐ ปี ดูกรสารีบุตร ถ้าแม้พวกเธอจะพึงหามเราไปด้วยเตียงน้อย ความเป็น
อย่างอื่นแห่งปัญญาเฉลียวฉลาดของตถาคต ย่อมไม่มีเลย ดูกรสารีบุตร บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ
พึงกล่าวคำใดว่า สัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อ-
*กูลแก่ชนเป็นมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวคำนั้นกะเราเท่านั้น
ว่าสัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๒๗๔๙-๒๗๗๓ หน้าที่ ๑๑๒-๑๑๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=2749&Z=2773&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=12&item=192&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=12&item=192&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=12&item=192&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=12&item=192&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=192              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_12 https://84000.org/tipitaka/english/?index_12

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]