ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             [๒๓๒] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก
ความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก
ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกามนั้น ย่อม
น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ
เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ
เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้น
ถอนได้ดีแล้ว.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ
พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๕.

ทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพัน ใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยาน อยากในรูปนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อเพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุผู้ไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่อง ผูกพันใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพ นิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตร อันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์- *หนึ่ง ด้วยศีลอันนี้ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมน้อมไป

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๖.

เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ ทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดี แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้แล้ว ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้ดีแล้ว ภิกษุนั้นจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม- *วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๓๕๗๑-๓๖๑๔ หน้าที่ ๑๔๔-๑๔๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=3571&Z=3614&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=12&item=232&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=12&item=232&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=12&item=232&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=12&item=232&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=232              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_12 https://84000.org/tipitaka/english/?index_12

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]