ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
             [๗๙๕] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งในแคว้น
โกศล สมัยนั้นแล ภิกษุนั้นกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาฉัน ลงสู่สระโบกขรณี
แล้วสูดดมดอกปทุม ฯ
             [๗๙๖] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่
ประโยชน์แก่ภิกษุนั้น หวังจะให้เธอสลด จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว
กะเธอด้วยคาถาว่า
                          ท่านสูดดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำซึ่งใครๆ ไม่ได้ให้แล้ว นี้เป็น
                          องค์อันหนึ่งแห่งความเป็นขโมย ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้
                          ขโมยกลิ่น ฯ
             [๗๙๗] ภิ. เราไม่ได้นำไป เราไม่ได้หัก เราดมดอกไม้ที่เกิดใน
                          น้ำห่างๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจะเรียกว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่น
                          ด้วยเหตุดังรือ ส่วนบุคคลที่ขุดเหง้าบัว หักดอกบัวบุณฑริก
                          เป็นผู้มีการงานอันเกลื่อนกล่นอย่างนี้ ไฉนท่านจึงไม่เรียก
                          เขาว่าเป็นขโมย ฯ
             [๗๙๘] เท. บุรุษผู้มีบาปหนา แปดเปื้อนด้วยราคาทิกิเลสเกินเหตุ
                          เราไม่พูดถึงคนนั้น แต่เราควรจะกล่าวกะท่าน บาปประมาณ
                          เท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏประดุจเท่าก้อนเมฆใน
                          นภากาศแก่บุรุษผู้ไม่มีกิเลส ดังว่าเนิน ผู้มักแสวงหา
                          ไตรสิกขาอันสะอาดเป็นนิจ ฯ
             [๗๙๙] ภิ. ดูก่อนเทวดา ท่านรู้จักเราแน่ละ และท่านเอ็นดูเรา
                          ดูก่อนเทวดา ท่านเห็นกรรมเช่นนี้ในกาลใด ท่านพึงกล่าวอีก
                          [ในกาลนั้น] เถิด ฯ
             [๘๐๐] 	เราไม่ได้อาศัยท่านเป็นอยู่เลย และเราไม่ได้มีความเจริญ
                          เพราะท่าน ดูก่อนภิกษุ ท่านพึงไปสุคติได้ด้วยกรรมที่ท่าน
                          พึงรู้ ฯ
             ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้นเป็นผู้อันเทวดานั้นให้สลด ถึงซึ่งความสังเวช
แล้วแล ฯ
วนสังยุต จบบริบูรณ์
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรแห่งวนสังยุต มี ๑๔ สูตร คือ
วิเวกสูตรที่ ๑ อุปัฏฐานสูตรที่ ๒ กัสสปโคตตสูตรที่ ๓ สัมพหุลสูตรที่ ๔ อานันทสูตรที่ ๕ อนุรุทธสูตรที่ ๖ นาคทัตตสูตรที่ ๗ กุลฆรณีสูตรที่ ๘ วัชชี- *ปุตตสูตรที่ ๙ สัชฌายสูตรที่ ๑๐ อโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๑๑ มัชฌันติกสูตรที่ ๑๒ ปากตินทริยสูตรที่ ๑๓ กับปทุมปุบผสูตร ครบ ๑๔ ฯ
-----------------------------------------------------
ยักขสังยุต
อินทกสูตรที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๖๕๙๒-๖๖๒๘ หน้าที่ ๒๘๓-๒๘๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=6592&Z=6628&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=795&items=6&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=795&items=6              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=15&item=795&items=6&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=15&item=795&items=6&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=795              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]