ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
             [๙๕๐] สาวัตถีนิทาน ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวเวปจิตติจอมอสูรป่วย ได้
รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จ
ไปเยี่ยมท้าวเวปจิตติจอมอสูรถึงที่ประทับตรัสถามถึงความเจ็บไข้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ท้าวเวปจิตติจอมอสูรทรงเห็นท้าวสักกะจอมเทพกำลังเสด็จมาแต่ไกลเทียว ครั้น
แล้วได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้จอมเทพ ขอจงช่วยรักษา
หม่อมฉันด้วยเถิด ฯ
             ท้าวสักกะตรัสว่า ข้าแต่ท้าวเวปจิตติ ขอเชิญตรัสบอกมายาของอสุรินทร์
กะหม่อมฉันก่อน ฯ
             เว. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ หม่อมฉันยังกราบทูลไม่ได้จนกว่าจะได้
สอบถามพวกอสูรดูก่อน ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสสอบถามพวก
อสูรว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เราจะบอกมายาของอสุรินทร์กะท้าวสักกะ
จอมเทพนะ ฯ
             พวกอสูรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์อย่าตรัสบอกมายาของ
อสุรินทร์กะท้าวสักกะจอมเทพเลย ฯ
             [๙๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะ
ท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า
                          ข้าแต่ท้าวมฆวาสุชัมบดีสักกเทวราช บุคคลผู้มีมายาย่อมเข้า
                          ถึงนรกครบร้อยปี เหมือนดังอสุรินทร์ ฉะนั้น ฯ
อัจจยสูตรที่ ๔
[๙๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสองรูปโต้เถียงกัน ในการโต้เถียงกันนั้น ภิกษุ รูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นแสดงโทษโดยความเป็นโทษ (รับผิด และขอโทษ) ในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่รับ ฯ [๙๕๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรส่วน หนึ่ง เมื่อนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุสองรูปโต้เถียงกัน ในการ โต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น ภิกษุผู้พูดล่วงเกินแสดงโทษโดยความเป็นโทษในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่ รับ พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๙๕๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ จำพวก นี้ คือ ผู้ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ ผู้ไม่รับตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่น แสดงโทษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตมี ๒ จำพวกนี้ คือ ผู้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ ผู้รับตามสมควรแก่ ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตมี ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๙๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อ จะทรงยังเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ สุธรรมาสภา จึงได้ตรัสพระคาถานี้ ในเวลานั้นว่า ขอความโกรธจงตกอยู่ในอำนาจของท่านทั้งหลาย ขอความ เสื่อมคลายในมิตรธรรมอย่าได้เกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ท่าน ทั้งหลายอย่าได้ติเตียนผู้ที่ไม่ควรติเตียน และอย่าได้พูดคำ ส่อเสียดเลย ก็ความโกรธเปรียบปานดังภูเขา ย่อมย่ำยีคน ลามก ฯ
อักโกธสูตรที่ ๕
[๙๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ [๙๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อจะทรงยังเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้พลอย ยินดี ณ สุธรรมาสภา จึงได้ตรัสพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า ความโกรธอย่าได้ครอบงำท่านทั้งหลาย และท่านทั้งหลายอย่า ได้โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ ความไม่โกรธและความไม่ เบียดเบียน ย่อมมีในท่านผู้ประเสริฐทุกเมื่อ ก็ความโกรธ เปรียบปานดังภูเขา ย่อมย่ำยีคนลามก ฉะนี้แล ฯ
จบสักกปัญจกะ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
ฆัตวาสูตร ๑ ทุพรรณิยสูตร ๑ มายาสูตร ๑ อัจจยสูตร ๑ อักโกธสูตร ๑ สักกสูตร ๕ สูตรนี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้แล้ว ฯ
จบสักกสังยุตบริบูรณ์
รวมสังยุตที่มีในสคาถวรรคนี้ ๑๑ สังยุต คือ
เทวตาสังยุต ๑ เทวปุตตสังยุต ๑ โกศลสังยุต ๑ มารสังยุต ๑ ภิกขุนี สังยุต ๑ พรหมสังยุต ๑ พราหมณสังยุต ๑ วังคีสสังยุต ๑ วนสังยุต ๑ ยักขสังยุต ๑ สักกสังยุต ๑ ฯ
จบสคาถวรรค
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๗๗๑๒-๗๗๘๑ หน้าที่ ๓๓๓-๓๓๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=7712&Z=7781&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=950&items=8&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=15&item=950&items=8              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=15&item=950&items=8&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=15&item=950&items=8&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=950              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]