ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
             [๑๒๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๗๗
เป็นไฉน ญาณวัตถุ ๗๗ นั้น คือความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะ
จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล
ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี
ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา
และมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า
ธรรมฐิติญาณของชาตินั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับ
เป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพ
ไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑
ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะภพ
เป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า
ธรรมฐิติญาณของภพนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับ
เป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า
เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคต-
*กาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทาน
ไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของอุปาทานนั้น มีความสิ้น
ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า ตัณหาเป็นปัจจัย
อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล
ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี
อุปาทานจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน
จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณ
ของตัณหานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนา
ไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา
จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของ
เวทนานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึง
ไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑
ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑
ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของผัสสะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย
ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑
ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี  ผัสสะ
จึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณ
ของสฬายตนะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑
ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูป
ไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ใน
อนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า
เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของนามรูปนั้น
มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อ
วิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า
ธรรมฐิติญาณของวิญญาณนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็น
ธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อ
สังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล
ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี
วิญญาณจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของสังขารนั้น มีความสิ้น ความ
เสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑ ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล
ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี
สังขารจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร
จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณ
ของอวิชชานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗ ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๑
[๑๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน- *อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ฯ [๑๒๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระผู้- *มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้ เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใด พึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพ ก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า เพราะชาติ เป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ฯ [๑๓๐] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชาติ เป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียว กัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระ อย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตแสดงธรรม โดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ฯ [๑๓๑] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ภพเป็น อย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระ อย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดง ธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็น ปัจจัย จึงมีภพ ... เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ... เพราะเวทนาเป็น ปัจจัย จึงมีตัณหา ... เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ... เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ฯ [๑๓๒] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือพึง กล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มี เนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมี ทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ [๑๓๓] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคล เสพผิด ส่ายหาไปว่า ชราและมรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร หรือว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะเป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระ ก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวก นั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มี อันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ [๑๓๔] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคล เสพผิด ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่าชาติเป็น อย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพ อย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัด- *รากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไป เป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่มีเหลือ ฯ [๑๓๕] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคล เสพผิด ส่ายหาไปว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือว่าภพเป็น อย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่าง หนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดราก ขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไป เป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ... อุปาทานเป็นไฉน ... ตัณหาเป็นไฉน ... เวทนาเป็นไฉน ... ผัสสะเป็นไฉน ... สฬายตนะเป็นไฉน ... นามรูปเป็นไฉน ... วิญญาณเป็นไฉน ... ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑๕๓๒-๑๖๖๐ หน้าที่ ๖๓-๖๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=1532&Z=1660&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=127&items=9              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=16&item=127&items=9&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=16&item=127&items=9              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=16&item=127&items=9              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=127              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16 https://84000.org/tipitaka/english/?index_16

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]