ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
สัปปายสูตรที่ ๑
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะ แก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเห็นว่า จักษุไม่เที่ยง รูปทั้งหลาย ไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกข์เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ ภิกษุ ในศาสนานี้ ย่อมเห็นว่า ใจไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นปฏิปทาอันเป็น อุปการะแก่นิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๒
สัปปายสูตรที่ ๒
[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่ นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอัน เป็นอุปการะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า จักษุเป็นทุกข์ รูปเป็น ทุกข์ จักษุวิญญาณเป็นทุกข์ จักษุสัมผัสเป็นทุกข์ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ ฯลฯ ภิกษุใน ศาสนานี้ เห็นว่า ใจเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ มโนวิญญาณเป็นทุกข์ มโนสัมผัสเป็นทุกข์ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทาอันเป็น อุปการะแก่นิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๓
สัปปายสูตรที่ ๓
[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่ นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอัน เป็นอุปการะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็น อนัตตา ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๔
สัปปายสูตรที่ ๔
[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะ แก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูป... จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ธรรมารมณ์... มโนวิญญาณ... มโนสัมผัส... แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส แม้ใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ในธรรมารมณ์ แม้ในมโนวิญญาณ แม้ใน มโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๕
อนันเตวาสิกานาจริยสูตร
[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้อันไม่มีอัน เตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังมีอันเตวาสิก ยังมีอาจารย์ อยู่เป็นทุกข์ ไม่สำราญ ส่วนภิกษุไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ อยู่เป็นสุข สำราญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุยังมีอันเตวาสิก ยังมีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สำราญเป็นไฉน ธรรมทั้งหลายอันเป็นบาป เป็นอกุศล คือ ความดำริอันฟุ้งซ่าน อันเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะ เห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมเหล่านั้นย่อมสิงอยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะอกุศล ธรรมสิงอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า มีอันเตวาสิก เพราะ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมครอบงำภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า มีอาจารย์ อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอันฟุ้งซ่าน เป็น เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะฟังเสียงด้วยหู ... เพราะ สูดกลิ่นด้วยจมูก ... เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมเหล่านั้นสิงอยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นสิงอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุ นั้นว่า มีอันเตวาสิก เพราะอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมครอบงำภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า มีอาจารย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สำราญ อย่างนี้แล ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๓๔๗๖-๓๕๗๐ หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=3476&Z=3570&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=18&item=232&items=5              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=18&item=232&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=18&item=232&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=18&item=232&items=5              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=232              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]