บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
วิภังคสูตร วิธีเจริญอิทธิบาท ๔ [๑๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลาง คืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิต ให้สว่างอยู่ ย่อม เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสา ของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้อง หลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่. [๑๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบ ด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไป. [๑๑๘๑] ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคองเกินไป. [๑๑๘๒] ก็ฉันทะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน. [๑๑๘๓] ก็ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก. [๑๑๘๔] ภิกษุมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างไร? ความสำคัญในเบื้องหลังและ เบื้องหน้า อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอด ดีแล้ว ด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างนี้แล. [๑๑๘๕] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณากายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องล่างแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญอยู่ว่า เบื้อง ล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างนี้แล. [๑๑๘๖] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อม เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วย เพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันท- *สมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างนี้แล. [๑๑๘๗] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร? อาโลกสัญญา (ความสำคัญว่าแสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่อย่างนี้แล. [๑๑๘๘] ก็วิริยะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่าวิริยะที่ย่อหย่อนเกินไป. [๑๑๘๙] ก็วิริยะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมป- *ยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคองเกินไป. [๑๑๙๐] ก็วิริยะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุต ด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิริยะหดหู่ในภายใน. [๑๑๙๑] ก็วิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? วิริยะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่าวิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ [๑๑๙๒] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร อาโลกสัญญา อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล. [๑๑๙๓] ก็จิตที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมป- *ยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนเกินไป. [๑๑๙๔] ก็จิตที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุต ด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคองเกินไป. [๑๑๙๕] ก็จิตที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วย ถีนมิทธะ นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน. [๑๑๙๖] ก็จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? จิตที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภ กามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ [๑๑๙๗] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล. [๑๑๙๘] ก็วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไป. [๑๑๙๙] ก็วิมังสาที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคองเกินไป. [๑๒๐๐] ก็วิมังสาที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมป- *ยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน. [๑๒๐๑] ก็วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ [๑๒๐๒] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผล มาก มีอานิสงส์มาก. [๑๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้ อำนาจทางกายไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้. [๑๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.(พึงขยายอภิญญาแม้ทั้งหกให้พิสดาร) จบ สูตรที่ ๑๐ จบ ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒ ----------------------------------------------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ปุพพสูตร ๒. มหัปผลสูตร ๓. ฉันทสูตร ๔. โมคคัลลานสูตร ๕. พราหมณสูตร ๖. สมณพราหมณสูตรที่ ๑ ๗. สมณพราหมณสูตรที่ ๒ ๘. อภิญญาสูตร ๙. เทสนาสูตร ๑๐. วิภังคสูตร.----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๙๐๗-๗๐๐๒ หน้าที่ ๒๘๗-๒๙๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=6907&Z=7002&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=1179&items=26 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=1179&items=26&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=19&item=1179&items=26 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=19&item=1179&items=26 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1179 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]