ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
             [๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็น
ผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศ.
จบ สูตรที่ ๙
ภิกขุนีสูตร
ผู้มีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษ
[๗๑๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและ จีวรเข้าไปยังสำนักของนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้งนั้น ภิกษุณี มากรูปเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ไหว้ท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้ว จึงพูดกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ภิกษุณีมากรูปในธรรมวินัยนี้ มีจิต ตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน ท่านพระ- *อานนท์ ตอบว่า น้องหญิง ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่ง อย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้ สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป. [๗๑๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว ในเวลา ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ เช้านี้ ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังสำนักนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง แล้วนั่งบนอาสนะ ที่เขาปูลาดไว้ ครั้งนั้น ภิกษุณีมากรูปเข้ามาหาข้าพระองค์ ไหว้ข้าพระองค์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้พูดกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ภิกษุณีมากรูปใน ธรรมวินัยนี้ มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาล ก่อน เมื่อภิกษุณีทั้งหลายพูดอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ตอบว่า น้องหญิง ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้ เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ภิกษุหรือภิกษุณี รูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน. [๗๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวัง ข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? [๗๑๗] ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ ความเร่าร้อนมีกายเป็นอารมณ์เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี จิตฟุ้งซ่าน ไปในภายนอกก็ดี ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใด อย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเธอปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ เธอมีกายระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแก่เราแล้ว บัดนี้เราจะคุมจิตไว้ เธอคุมจิตไว้ และไม่ตรึก ไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติ ในภายใน เป็นผู้มีความสุข ดังนี้. [๗๑๘] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ความเร่าร้อนมีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี จิตฟุ้งซ่านไปใน ภายนอกก็ดี ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อม เกิด เมื่อเธอปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ เธอมีกาย ระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิต ไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น สำเร็จแก่เราแล้ว บัดนี้เราจะคุมจิตไว้ เมื่อเธอคุมจิตไว้ และไม่ตรึก ไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า เราไม่มีวิตก เราไม่มีวิจาร มีสติในภายใน เป็นผู้มีความสุข ดังนี้ ดูกรอานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้ ด้วยประการฉะนี้แล. [๗๑๙] ดูกรอานนท์ ก็ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอกอย่างไร? ดูกร อานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ได้ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้วมิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาล นั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้. [๗๒๐] ดูกรอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไป ข้างหลังและข้างหน้า พ้น แล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้. [๗๒๑] ดูกรอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไป ข้างหลังและข้างหน้า พ้น แล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้. [๗๒๒] ดูกรอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไป ข้างหลังและข้างหน้า พ้น แล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๑๓๒-๔๑๙๖ หน้าที่ ๑๗๒-๑๗๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=4132&Z=4196&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=713&items=10&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=713&items=10              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=19&item=713&items=10&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=19&item=713&items=10&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=713              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]