![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
![]() |
|
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
![]() |
ปเทสสูตร ว่าด้วยบุคคลจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ [๗๘๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ และท่านพระอนุรุทธะ อยู่ ณ กัณฏกีวัน ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านมหาโมคคัลลานะออกจาก ที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ ครั้นผ่าน การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า:- [๗๘๒] ดูกรท่านอนุรุทธะ ที่เรียกว่า พระเสขะ พระเสขะ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร- *หนอ บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ? ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็น พระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้เป็นส่วนๆ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อม พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน โลกเสีย ดูกรผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ได้ เป็นส่วนๆ.จบ สูตรที่ ๖ เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๔๖๑๒-๔๖๒๗ หน้าที่ ๑๙๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=4612&Z=4627&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=781&items=2 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=19&item=781&items=2&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=19&item=781&items=2 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=19&item=781&items=2 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=781 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_19
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() |
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com