ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
๙. รตนวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๗๖๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่งแก่ ภิกษุทั้งหลายแล้ว พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่งแล้ว จึงใช้ผ้า สำหรับนั่งไม่มีประมาณ ให้ห้อยลงข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง แห่งเตียงบ้าง แห่งตั่งบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้ใช้ ผ้าสำหรับนั่งไม่มีประมาณเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอใช้ผ้า สำหรับนั่งไม่มีประมาณ จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ใช้ผ้าปู นั่งไม่มีประมาณเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๓๘. ๗. ก. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่ง ต้องให้ทำให้ได้ประมาณ นี้ ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบครึ่ง ด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วง ประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
เรื่องพระอุทายี
[๗๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุทายีเป็นผู้มีร่างกายใหญ่ ท่านปูผ้าสำหรับนั่งลงตรง เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค แล้วนั่งดึงออกอยู่โดยรอบ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระ อุทายีในขณะนั้นว่า ดูกรอุทายี เพราะเหตุไร เธอปูผ้าสำหรับนั่งแล้ว จึงดึงออกโดยรอบ เหมือนช่างหนังเก่าเล่า. ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า จริงดั่งพระดำรัส พระพุทธเจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาค ทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่ง แก่ภิกษุทั้งหลายเล็กเกินไป.
พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตชายแห่งผ้าสำหรับนั่ง เพิ่มอีกคืบหนึ่ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๑๓๘. ๗. ข. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่ง พึงให้ทำให้ได้ประมาณ นี้ ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง ด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.
เรื่องพระอุทายี จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๗๖๕] ที่ชื่อว่า ผ้าสำหรับนั่ง ได้แก่ผ้าที่เขาเรียกกันว่าผ้ามีชาย. บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องให้ทำให้ได้ประมาณ นี้ประมาณใน คำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง ด้วยคืบสุคต ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ให้เกินประมาณนั้นไป เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้ผ้าสำหรับนั่งนั้นมา พึงตัด ก่อนจึงแสดงอาบัติตก.
บทภาชนีย์
จตุกกะปาจิตตีย์
[๗๖๖] ผ้าสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ผ้าสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ให้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ผ้าสำหรับนั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ผ้าสำหรับนั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ให้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ. ได้ผ้าสำหรับนั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๗๖๗] ภิกษุทำผ้าสำหรับนั่งได้ประมาณ ๑ ทำผ้าสำหรับนั่งหย่อนกว่าประมาณ ๑ ได้ ผ้าสำหรับนั่ง ที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วเกินประมาณมาตัดเสียแล้วใช้สอย ๑ ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำ เป็นผ้าปูพื้นก็ดี ทำเป็นม่านก็ดี ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๔๕๗๑-๑๔๖๓๒ หน้าที่ ๖๓๐-๖๓๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=14571&Z=14632&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=2&item=763&items=5              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=2&item=763&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=2&item=763&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=2&item=763&items=5              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=763              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]