ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
โสขุมมสูตร
[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ญาณเป็นเครื่องแทงตลอดลักษณะอันละเอียด ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ประกอบด้วยญาณอันกำหนดรู้ลักษณะอันละเอียดในรูปอย่างยิ่ง ย่อมไม่พิจารณา เห็นญาณอันกำหนดรู้ลักษณะอันละเอียดในรูปอื่น ซึ่งยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าญาณ เป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดในรูปนั้น และไม่ปรารถนาญาณเป็นเครื่อง กำหนดลักษณะอันละเอียดในรูปอื่น อันยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าญาณเป็นเครื่อง กำหนดลักษณะอันละเอียดในรูปนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนด ลักษณะอันละเอียดในเวทนา ... เป็นผู้ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะ อันละเอียดในสัญญา ... เป็นผู้ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอัน ละเอียดในสังขาร ย่อมไม่พิจารณาเห็นซึ่งญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอัน ละเอียดในสังขารอื่น ซึ่งยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอัน ละเอียดในสังขารนั้น และไม่ปรารถนาญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียด ในสังขารอื่น ซึ่งยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียด ในสังขารนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียด ๔ ประการนี้แล ฯ ภิกษุใดรู้ความที่รูปขันธ์เป็นของละเอียด รู้ความเกิดแห่ง เวทนา รู้ความเกิดและความดับแห่งสัญญา รู้จักสังขารโดย ความไม่เที่ยง โดยเป็นทุกข์ และโดยความเป็นอนัตตา ภิกษุนั้นแล เป็นผู้เห็นชอบ เป็นผู้สงบ ยินดีในสันติบท ชำนะมารพร้อมทั้งเสนา ย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด ฯ
จบสูตรที่ ๖
อคติสูตรที่ ๑
[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้ อคติ ๔ ประการ เป็นไฉน บุคคลย่อมถึงฉันทาคติ ย่อมถึงโทสาคติ ย่อมถึงโมหาคติ ย่อมถึง ภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้แล ฯ ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม ดุจพระจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๗
อคติสูตรที่ ๒
[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน บุคคลย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ย่อมไม่ถึงโทสาคติ ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ย่อมไม่ถึงภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้แล ฯ ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้น ย่อมเต็มเปี่ยม ดุจ พระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๘
อคติสูตรที่ ๓
[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน บุคคลย่อมถึงฉันทาคติ ย่อมถึงโทสาคติ ย่อมถึงโมหาคติ ย่อมถึงภยาคติ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้แล ฯ ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม เหมือนพระจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน บุคคลย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ย่อมไม่ถึงโทสาคติ ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ย่อมไม่ถึง ภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้แล ฯ ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้น ย่อมเต็มเปี่ยม ดุจ พระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๔๓๒-๔๘๓ หน้าที่ ๑๙-๒๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=432&Z=483&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=21&item=16&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=21&item=16&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=21&item=16&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=21&item=16&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=16              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]