ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
             [๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททชิได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน
พระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามท่านพระภัททชิว่า ดูกรอาวุโสภัททชิ
บรรดาการเห็นทั้งหลาย การเห็นชนิดไหนเป็นยอด บรรดาการได้ยินทั้งหลาย
การได้ยินชนิดไหนเป็นยอด บรรดาสุขทั้งหลาย สุขชนิดไหนเป็นยอด บรรดา
สัญญาทั้งหลาย สัญญาชนิดไหนเป็นยอด บรรดาภพทั้งหลาย ภพชนิดไหนเป็น
ยอด ฯ
             ท่านพระภัททชิตอบว่า ดูกรอาวุโส พรหมผู้เป็นใหญ่ยิ่ง ไม่มีใครครอบงำ
ได้ เห็นสิ่งทั้งปวง ยังผู้อื่นให้เป็นไปในอำนาจ มีอยู่ ผู้ใดเห็นพรหมนั้น การเห็น
ของผู้นั้นเป็นยอดของการเห็นทั้งหลาย เทพเหล่าอาภัสสระผู้เพรียบพร้อมด้วยความ
สุขมีอยู่ เทพเหล่านั้นย่อมเปล่งอุทานในการบางครั้งบางคราวว่า สุขหนอๆ ผู้ใด
ได้ยินเสียงนั้น การได้ยินเสียงของผู้นั้นเป็นยอดของการได้ยินทั้งหลาย เทพเหล่า
สุภกิณหะมีอยู่ เทพเหล่านั้นยินดีเฉพาะสิ่งที่มีอยู่ ย่อมเสวยสุข การเสวยสุขนี้
เป็นยอดของความสุขทั้งหลาย พวกเทพผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพมีอยู่ การเข้า
ถึงอากิญจัญญายตนภพนี้เป็นยอดของสัญญาทั้งหลาย พวกเทพผู้เข้าถึงเนวสัญญานา
สัญญายตนภพมีอยู่ การเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพนี้เป็นยอดของภพทั้ง
หลาย ฯ
             อา. คำพูดของท่านภัททชินี้ย่อมสมกับชนเป็นอันมาก ฯ
             ภ. ท่านพระอานนท์เป็นพหูสูต ขอความข้อนั้นจงแจ่มแจ้งเฉพาะท่าน
พระอานนท์เทียว ฯ
             อา. ดูกรอาวุโสภัททชิ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ท่านพระภัททชิรับคำท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้น อาวุโส ท่านพระอานนท์ได้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๐๕.

กล่าวว่า ดูกรอาวุโส ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีในลำดับแห่งบุคคล ผู้เห็นตามเป็นจริง นี้เป็นยอดของการเห็นทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีในลำดับแห่งบุคคลผู้ได้ยินตามเป็นจริง นี้เป็นยอดของการได้ยินทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีในลำดับแห่งบุคคลผู้ได้รับความสุขตามเป็น จริง นี้เป็นยอดของความสุขทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีใน ลำดับแห่งบุคคลผู้มีสัญญาตามเป็นจริง นี้เป็นยอดของสัญญาทั้งหลาย ความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีในลำดับแห่งบุคคลผู้เป็นอยู่แล้วตามเป็นจริง นี้เป็น ยอดของภพทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอาฆาตวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาฆาตวินยสูตรที่ ๑ ๒. อาฆาตวินยสูตรที่ ๒ ๓. สากัจฉาสูตร ๔. สาชีวสูตร ๕. ปัญหาปุจฉาสูตร ๖. นิโรธสูตร ๗. โจทนาสูตร ๘. สีลสูตร ๙. นิสันติสูตร ๑๐. ภัททชิสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๐๖.

อุปาสกวรรคที่ ๓
๑. สารัชชสูตร
[๑๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี- *พระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี- *พระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วย ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้หยั่งลงสู่ความครั่นคร้าม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ เป็นผู้ลักทรัพย์ ๑ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๑ เป็นผู้กล่าวคำเท็จ ๑ เป็นผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้หยั่ง ลงสู่ความครั่นคร้าม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ แกล้วกล้า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ๑ เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทาน ๑ เป็นผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ๑ เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท ๑ เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. วิสารทสูตร
[๑๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม เป็นผู้ไม่แกล้วกล้าครองเรือน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกเป็นผู้ฆ่า- *สัตว์ ฯลฯ เป็นผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูกร-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๐๗.

*ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่แกล้วกล้า ครองเรือน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความ แกล้วกล้าครองเรือน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจาก ปาณาติบาต ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าครองเรือน ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. นิรยสูตร
[๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือน ถูกนำมาวางไว้ในนรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมาวางไว้ในนรก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกเชิญ มาอยู่ในสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณา- *ติบาต ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เหมือน ถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. เวรสูตร
[๑๗๔] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี อุบาสกไม่ละภัยเวร ๕ ประการ เราเรียกว่าผู้ทุศีลด้วย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๐๘.

ย่อมเข้าถึงนรกด้วย ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง แห่งความประมาท ดูกรคฤหบดี อุบาสกผู้ไม่ละภัยเวร ๕ ประการนี้แล เราเรียก ว่าผู้ทุศีลด้วย ย่อมเข้าถึงนรกด้วย ฯ ดูกรคฤหบดี อุบาสกผู้ละภัยเวร ๕ ประการ เราเรียกว่าผู้มีศีลด้วย ย่อม เข้าถึงสุคติด้วย ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน คือ การฆ่าสัตว์ ฯลฯ การดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูกรคฤหบดี อุบาสกผู้ละภัยเวร ๕ ประการนี้แล เราเรียกว่าผู้มีศีลด้วย ย่อมเข้าถึงสุคติด้วย ฯ ดูกรคฤหบดี อุบาสกผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรใด ทั้งในปัจจุบันทั้ง ในสัมปรายภพ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสใดแม้ทางจิตเพราะเหตุฆ่าสัตว์ อุบาสกผู้ งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวรนั้น ทั้งในปัจจุบันและในสัมปรายภพ ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสนั้นแม้ทางจิต ภัยเวรนั้น ของอุบาสกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมสงบระงับด้วยประการฉะนี้ อุบาสกผู้ลักทรัพย์ ... ประพฤติผิดในกาม ... พูดคำเท็จ ... ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมประ- *สบภัยเวรใด ทั้งในปัจจุบันและในสัมปรายภพ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสใดแม้ทาง จิต เพราะเหตุแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อุบาสกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมไม่ประสบภัยเวรนั้น ทั้งในปัจจุบันและในสัมปรายภพ ย่อมไม่เสวยทุกข- *โทมนัสนั้นแม้ทางจิต ภัยเวรนั้น ของอุบาสกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมสงบระงับด้วยประการฉะนี้ ฯ นรชนใดย่อมฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ในโลก คบชู้ภรรยาของผู้อื่น กล่าวคำเท็จ และประกอบการดื่มสุรา เมรัยเนืองๆ นรชนนั้นไม่ละเวร ๕ ประการแล้ว เราเรียกว่า เป็นผู้ทุศีล มีปัญญาทราม ตายไปแล้วย่อมเข้าถึงนรก นรชน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๐๙.

ใดไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ในโลก ไม่ คบชู้ภรรยาของผู้อื่น ไม่กล่าวคำเท็จ และไม่ประกอบการ ดื่มสุราและเมรัย นรชนนั้นละเวร ๕ ประการแล้ว เราเรียก ว่าเป็นผู้มีศีล มีปัญญา เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติ ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. จัณฑาลสูตร
[๑๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ ทำการสนับสนุนในที่นอก ศาสนานั้น ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ ทำการสนับสนุนใน ศาสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็น อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. ปีติสูตร
[๑๗๖] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี แวดล้อมด้วยอุบาสก ประมาณ ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๑๐.

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี ท่าน ทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช- *บริขาร ท่านทั้งหลายไม่ควรทำความยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า เราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า พวกเราพึงเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ตามกาล อันสมควร ด้วยอุบายเช่นไร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว ตามที่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า พวกเราพึงเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ตามกาล อันสมควร ด้วยอุบายเช่นไร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น ฐานะ ๕ ประการ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น คือ สมัยนั้น ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วย กาม ๑ สุข โสมนัสอันประกอบด้วยกาม ๑ ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วย อกุศล ๑ สุข โสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล ๑ ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วย กุศล ๑ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกย่อม เข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น ฐานะ ๕ ประการนี้ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวก นั้น ฯ พ. ดีละๆ สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวก อยู่ ... ดูกรสารีบุตร สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น ฐานะ ๕ ประการนี้ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๖

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๑๑.

๗. วณิชชสูตร
[๑๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึง กระทำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ การค้าขายศาตรา ๑ การค้าขายสัตว์ ๑ การ ค้าขายเนื้อสัตว์ ๑ การค้าขายน้ำเมา ๑ การค้าขายยาพิษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้แล อันอุบาสกไม่พึงกระทำ ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. ราชสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๔๖๘๖-๔๘๔๔ หน้าที่ ๒๐๔-๒๑๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=4686&Z=4844&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=22&item=170&items=8&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=22&item=170&items=8&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=22&item=170&items=8&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=22&item=170&items=8&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=170              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]