ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๕. อขันติสูตรที่ ๑
[๒๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคน เป็นอันมาก ๑ ย่อมเป็นผู้มากด้วยเวร ๑ ย่อมเป็นผู้มากด้วยโทษ ๑ ย่อมเป็นผู้ หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น ไฉน คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่ มากด้วยเวร ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อ ตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายอานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. อขันติสูตรที่ ๒
[๒๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๑.

นี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของ คนเป็นอันมาก ๑ ย่อมเป็นผู้โหดร้าย ๑ ย่อมเป็นผู้เดือดร้อน ๑ ย่อมเป็นผู้หลง กระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑ ย่อม เป็นผู้ไม่โหดร้าย ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่เดือดร้อน ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความ อดทน ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
๗. อปาสาทิกสูตรที่ ๑
[๒๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่าเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน คือ แม้ตนเองย่อม ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้ว ย่อมติเตียน ๑ กิตติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยกายกรรม เป็นต้นอันไม่น่าเลื่อมใส ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้มีความ ประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน คือ แม้ตนเองย่อมไม่ ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อมสรรเสริญ ๑ กิตติศัพท์อันงาม ย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปเข้าย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้ มีความประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส ฯ
จบสูตรที่ ๗

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๒.

๘. อปาสาทิกสูตร ๒
[๒๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่าเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน คือ คนพวก ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส ๑ คนพวกที่เลื่อมใสแล้วบางพวกย่อมคลาย ความเลื่อมใส ๑ ชื่อว่าย่อมไม่กระทำตามคำสอนของพระศาสดา ๑ ประชุมชนชั้น หลังย่อมถือตาม ๑ จิตของเขาย่อมไม่เลื่อมใส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่า เลื่อมใส ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้มีความ ประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน คือ คนพวกที่ยังไม่เลื่อม- *ใส ย่อมเลื่อมใส ๑ คนพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น ๑ ชื่อว่าย่อม กระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา ๑ ประชุมชนชั้นหลังย่อมถือตาม ๑ จิตของ เขาย่อมเลื่อมใส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ใน บุคคลผู้มีความประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส ฯ
จบสูตรที่ ๘
๙. อัคคิสูตร
[๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่เพราะไฟ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ทำให้ตาฝ้าฟาง ๑ ทำให้ผิวเสีย ๑ ทำให้ทุรพล ๑ ย่อมยังการคลุกคลีหมู่คณะให้เจริญ ๑ ย่อมยังติรัจฉานกถาให้เป็นไป ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่เพราะไฟ ฯ
จบสูตรที่ ๙
๑๐. มธุราสูตร
[๒๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในนครมธุรา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๓.

๕ ประการเป็นไฉน คือ นครมธุรามีพื้นดินไม่ราบเรียบ ๑ มีฝุ่นมาก ๑ มี สุนัขดุ ๑ มียักษ์ร้าย ๑ หาอาหารได้ยาก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการ นี้แล มีอยู่ในนครมธุรา ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอักโกสกวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อักโกสกสูตร ๒. ภัณฑนสูตร ๓. สีลสูตร ๔. พหุภาณีสูตร ๕. อขันติสูตรที่ ๑ ๖. อขันติสูตรที่ ๒ ๗. อปาสาทิกสูตรที่ ๑ ๘. อปาสาทิกสูตรที่ ๒ ๙. อัคคิสูตร ๑๐. มธุราสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๔.

ทีฆจาริกวรรคที่ ๓
๑. ทีฆจาริกสูตรที่ ๑
[๒๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้ประกอบการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีกำหนด ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือย่อมไม่ได้ฟังสิ่งที่ ยังไม่เคยฟัง ๑ ย่อมไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ๑ ย่อมไม่แกล้วกล้าด้วยสิ่งที่ได้ ฟังแล้วบางประการ ๑ ย่อมได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก ๑ ย่อมไม่มีมิตร ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้ประกอบการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีกำหนด ๕ ประการนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไปมีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟัง แล้ว ๑ ย่อมแกล้วกล้าด้วยสิ่งที่ได้ฟังแล้วบางประการ ๑ ย่อมไม่ได้รับโรคเรื้อรัง อย่างหนัก ๑ ย่อมมีมิตร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไปมีกำหนด พอสมควร ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. ทีฆจาริกสูตรที่ ๒
[๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้ประกอบการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีกำหนด ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมไม่ได้ บรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุ ๑ ย่อมเสื่อมจากคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้ว ๑ ย่อม ไม่แกล้วกล้าด้วยคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้วบางประการ ๑ ย่อมได้รับโรคเรื้อรัง อย่างหนัก ๑ ย่อมไม่มีมิตร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้ประกอบการ เที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีกำหนด ๕ ประการนี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๕.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไปมีกำหนดพอสมควร ๕ ประการ นี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมได้บรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุ ๑ ย่อม ไม่เสื่อมจากคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้ว ๑ ย่อมแกล้วกล้าด้วยคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้ว บางประการ ๑ ย่อมไม่ได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก ๑ ย่อมมีมิตร ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไปมีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. อภินิวาสสูตร
[๒๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุอยู่ประจำที่ย่อมมีสิ่งของมาก มีการสะสมสิ่งของ มาก ๑ มีเภสัชมาก มีการสะสมเภสัชมาก ๑ มีกิจมาก มีกรณียมาก ไม่ฉลาด ในกิจที่จะต้องทำ ๑ ย่อมอยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการคลุกคลี กับคฤหัสถ์อันไม่สมควร ๑ เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น ย่อมมีความห่วงใย หลีกไป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ ๕ ประการนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่มีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้อยู่มีกำหนดพอสมควร ย่อมไม่มีสิ่งของมาก ไม่มีการสะสมสิ่งของมาก ๑ ไม่มีเภสัชมาก ไม่มีการสะสมเภสัชมาก ๑ ไม่มี กิจมาก ไม่มีกรณียมาก ฉลาดในกิจที่จะต้องทำ ๑ ไม่เป็นผู้คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ และบรรพชิต ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร ๑ เมื่อจะหลีกไปจาก อาวาสนั้น ไม่มีความห่วงใยหลีกไป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่มี กำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๕๙๓๘-๖๐๕๑ หน้าที่ ๒๖๐-๒๖๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=5938&Z=6051&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=22&item=215&items=9&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=22&item=215&items=9&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=22&item=215&items=9&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=22&item=215&items=9&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=215              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]