ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๓. อุปกิเลสสูตร
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ซึ่งเป็นเหตุให้ทอง เศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่อง ประดับไม่ได้ มี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ เหล็ก ๑ โลหะ ๑ ดีบุก ๑ ตะกั่ว ๑ เงิน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้แล ซึ่ง เป็นเหตุให้ทองเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำ เป็นเครื่องประดับไม่ได้ เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง ๕ ประการนี้ ย่อม อ่อน ใช้การได้ สุกใส ทนทาน จะทำเป็นเครื่องประดับก็ได้ คือ ช่างทอง ต้องการเครื่องประดับชนิดใดๆ เช่น แหวน ตุ้มหู สร้อยคอ สังวาลย์ ก็ทำได้ ตามต้องการ ฉันใด อุปกิเลสแห่งจิต ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่ อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความหมดสิ้นไป แห่งอาสวะ ก็มี ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน อุปกิเลส ๕ ประการเป็นไฉน คือ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ อุปกิเลสแห่งจิต ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่ง อาสวะ แต่เมื่อใด จิตพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ ผ่องใส ทนทาน ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ และภิกษุ จะน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งได้ด้วย ปัญญาอันยิ่งใดๆ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผล สำเร็จในธรรมนั้นๆ โดยแน่นอน ถ้าภิกษุหวังอยู่ว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลาย ประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไป ในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือน เดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระ- *อาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด พรหมโลกก็ได้ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จใน อิทธิวิธีนั้นๆ โดยแน่นอน ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงฟังเสียง ๒ อย่าง คือ เสียง ทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสต ของมนุษย์ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จใน ทิพโสตนั้นๆ โดยแน่นอน ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของ บุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็ พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจาก โมหะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็พึงรู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็พึงรู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ๑- ก็พึงรู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็น มหรคต ก็พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่าจิต เป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็พึงรู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมี อยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในเจโตปริยญาณนั้นๆ ๒- โดยแน่นอน ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่าง นั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ใน ภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น ได้เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติ จากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้ง อาการ ๓- พร้อมทั้งอุเทศ ๔- ด้วยประการฉะนี้ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาด สาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๕- นั้นๆ โดยแน่นอน ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์กำลังเคลื่อน กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มี ผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ @๑. มหรคต จิตถึงความเป็นจิตใหญ่ คือจิตที่ประกอบด้วยฌาน @๒. เจโตปริยญาณ ญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้ใจผู้อื่น @๓. อาการหมายถึงผิวพรรณเป็นต้น ๔. อุเทศหมายถึงชื่อและสกุล ๕. ญาณเครื่อง @ระลึกชาติหนหลังได้ ของมนุษย์ พึงรู้หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ถือมั่นการกระทำด้วย อำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์ เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังเคลื่อน กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ เมื่อธรรม เครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในจุตูปปาตญาณนั้นๆ โดย แน่นอน ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้า ถึงอยู่ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตินั้นๆ โดยแน่นอน ฯ
จบสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๓๔๗-๔๑๘ หน้าที่ ๑๖-๑๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=347&Z=418&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=22&item=23&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=22&item=23&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=22&item=23&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=22&item=23&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=23              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]