ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
อเสขสูตร
[๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อิญชกาวสถาคาร ๑- ใน นาทิกคาม ครั้งนั้นแล ท่านพระสันธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มี พระภาคได้ตรัสกะท่านพระสันธะว่า ดูกรสันธะ เธอจงเพ่งแบบการเพ่งของม้า อาชาไนย อย่าเพ่งแบบการเพ่งของม้ากระจอก ดูกรสันธะ ก็การเพ่งของม้า กระจอกย่อมมีอย่างไร ดูกรสันธะ ธรรมดาม้ากระจอกถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าว เหนียว ย่อมเพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้ากระจอก ที่เขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจัก ให้เราทำเหตุอะไรหนอแล เราจักทำอะไรตอบแก่เขา ดังนี้ ม้ากระจอกนั้น ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมเพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ฉันใด ดูกรสันธะ บุรุษกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อยู่ที่ป่าก็ดี อยู่ที่โคน ต้นไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างเปล่าก็ดี มีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุมแล้ว ถูกกามราคะ ครอบงำแล้ว และย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดกามราคะ ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็น @๑. โดยมากเป็น คิญชกาวสถาราม ฯ จริงบุรุษกระจอกนั้น ทำกามราคะนั่นแหละในภายในแล้ว ย่อมเพ่ง ย่อมเพ่งต่างๆ ย่อมเพ่งเนืองนิตย์ ย่อมเพ่งฝ่ายต่ำ มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาท ครอบงำแล้ว ... มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว อันถีนมิทธะครอบงำแล้ว ... มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุมแล้ว อันอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำแล้ว ... มีจิตอัน วิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว และย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัด วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง บุรุษกระจอกนั้นทำวิจิกิจฉานั่นแหละ ในภายในแล้ว ย่อมเพ่ง ย่อมเพ่งต่างๆ ย่อมเพ่งเนืองนิตย์ ย่อมเพ่งฝ่ายต่ำ บุรุษกระจอกนั้น ย่อมอาศัยปฐวีธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอาโปธาตุเพ่งบ้าง ย่อม อาศัยเตโชธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยวาโยธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอากาสานัญจายตนะ เพ่งบ้าง ย่อมอาศัยวิญญาณัญจายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอากิญจัญญายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยโลกนี้เพ่งบ้าง ย่อมอาศัย โลกหน้าเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้ แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ เพ่งบ้าง ดูกรสันธะ การเพ่งของบุรุษกระจอกย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล ฯ ดูกรสันธะ ก็การเพ่งของม้าอาชาไนยย่อมมีอย่างไร ดูกรสันธะ ธรรมดา ม้าอาชาไนยที่เจริญ ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมไม่เพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้าอาชาไนยที่เจริญ ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าว เหนียว ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ แล เราจะกระทำอะไรตอบเขา ดังนี้ ม้าอาชาไนยนั้น ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าว เหนียว ย่อมไม่เพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ดูกรสันธะ ด้วยว่าม้าอาชาไนยที่ เจริญ ย่อมพิจารณาเห็นการถูกปะฏักแทงว่า เหมือนคนเป็นหนี้ครุ่นคิดถึงหนี้ เหมือนคนถูกจองจำมองเห็นการจองจำ เหมือนคนผู้เสื่อมนึกเห็นความเสื่อม เหมือนคนมีโทษเล็งเห็นโทษ ดูกรสันธะ บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือน กันแล อยู่ที่ป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี หรืออยู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมไม่มีจิต อันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่ และย่อมรู้ทั่วถึงอุบาย เครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ย่อมไม่มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุม แล้ว ... ย่อมไม่มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว ... ย่อมไม่มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะ กลุ้มรุมแล้ว ... ย่อมไม่มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว และย่อมรู้ทั่วถึงอุบายเครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว บุรุษอาชาไนยนั้น ย่อมไม่ อาศัยปฐวีธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยอาโปธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยเตโชธาตุเพ่ง ย่อมไม่ อาศัยวาโยธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยอากาสานัญจายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยวิญญาณัญ- *จายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยอากิญจัญญายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยเนวสัญญา- *นาสัญญายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ย่อมไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง ย่อมไม่ อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่ แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจเพ่ง ก็แต่ว่าย่อมเพ่ง ดูกรสันธะ อนึ่ง เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม มนุษย์ ย่อมนอบน้อมบุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่ง แล้วอย่างนี้ แต่ที่ไกลเทียวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่ง ของท่าน เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระสันธะได้ทูลถามว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ก็บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่ง ย่อมเพ่งอย่างไร บุรุษอาชาไนย นั้น จึงจะไม่อาศัยปฐวีธาตุเพ่ง ... ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจเพ่ง ก็แต่ ว่าย่อมเพ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม มนุษย์ ย่อมนอบน้อมบุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่ง อย่างไร แต่ที่ไกลเทียวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่ง ของท่าน ฯ พ. ดูกรสันธะ ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ย่อม เป็นของแจ่มแจ้งแก่บุรุษอาชาไนยที่เจริญในธรรมวินัยนี้ ความสำคัญในอาโปธาตุว่า เป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็น เตโชธาตุเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโย ธาตุเป็นอารมณ์ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็น อากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในวิญญาณัญ- *จายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญใน อากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความ สำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็น ของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของ แจ่มแจ้ง ความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมที่ รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้งแก่ บุรุษอาชาไนยที่เจริญในธรรมวินัยนี้ ฯ ดูกรสันธะ บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่งอยู่อย่างนี้แล จึงไม่อาศัยปฐวี ธาตุเพ่ง ไม่อาศัยอาโปธาตุเพ่ง ไม่อาศัยเตโชธาตุเพ่ง ไม่อาศัยวาโยธาตุเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนะเพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตนะเพ่ง ไม่อาศัยอากิญ- *จัญญายตนะเพ่ง ไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะเพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่ อาศัยโลกหน้าเพ่ง ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรม ที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจเพ่ง ก็แต่ว่าย่อมเพ่ง ดูกรสันธะ อนึ่ง เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม มนุษย์ ย่อมนอบน้อมบุรุษ อาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่งแล้วอย่างนี้ แต่ที่ไกลเทียวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่ง ของท่าน ฯ
จบสูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๗๘๑๒-๗๙๐๔ หน้าที่ ๓๔๐-๓๔๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=7812&Z=7904&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=24&item=216&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=24&item=216&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=24&item=216&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=24&item=216&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=216              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24 https://84000.org/tipitaka/english/?index_24

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]