ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
เมตตสูตรที่ ๘
[๓๐๘] กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้สันตบท พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ เป็นผู้ ตรง ซื่อตรง ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบา มีอินทรีย์อันสงบ แล้ว มีปัญญาเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุล ทั้งหลาย และไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไรๆ ซึ่ง เป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงเจริญเมตตาใน สัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิตเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เป็น ผู้สะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง ไม่มีส่วนเหลือ สัตว์เหล่าใดมี กายยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น ผอมหรือพี ที่เรา เห็นแล้วหรือไม่ได้เห็น อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ที่เกิด แล้วหรือแสวงหาที่เกิด ขอสัตว์ทั้งหมดนั้นจงเป็นผู้มีตน ถึงความสุขเถิด สัตว์อื่นไม่พึงข่มขู่สัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่น อะไรเขาในที่ไหนๆ ไม่พึงปรารถนาทุกข์ให้แก่กันและกัน เพราะความโกรธ เพราะความเคียดแค้น มารดาถนอมบุตร คนเดียวผู้เกิดในตน แม้ด้วยการยอมสละชีวิตได้ ฉันใด กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มี ประมาณในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้น กุลบุตรนั้นพึงเจริญ เมตตามีในใจไม่มีประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู กุลบุตรผู้เจริญเมตตานั้นยืนอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พึงเป็นผู้ปราศจากความง่วงเหงาเพียงใด ก็พึง ตั้งสตินี้ไว้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าววิหารธรรมนี้ ว่าเป็นพรหมวิหารในธรรมวินัยของพระอริยเจ้านี้ และกุลบุตร ผู้เจริญเมตตาไม่เข้าไปอาศัยทิฐิ เป็นผู้มีศีลถึงพร้อมแล้ว ด้วยทัศนะ นำความยินดีในกามทั้งหลายออกได้แล้ว ย่อม ไม่ถึงความนอนในครรภ์อีกโดยแท้แล ฯ
จบเมตตสูตรที่ ๘
เหมวตสูตรที่ ๙
สาตาคิรยักษ์กล่าวว่า [๓๐๙] นี้วันเป็นอุโบสถที่ ๑๕ ราตรีอันเป็นทิพย์ปรากฏแล้ว มาเรา ทั้งสองจงไปเฝ้าพระโคดมผู้เป็นพระศาสดามีพระนามอันไม่ ทรามเถิด ฯ เหมวตยักษ์ถามว่า พระโคดมผู้คงที่ทรงตั้งพระทัยไว้ดีแล้ว ในสัตว์ทั้งปวงแลหรือ พระโคดมทรงกระทำความดำริในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ให้อยู่ในอำนาจแลหรือ ฯ สาตาคิรยักษ์ตอบว่า ก็พระองค์เป็นผู้คงที่ ทรงตั้งพระทัยไว้ดีแล้วในสัตว์ทั้งปวง อนึ่ง พระองค์ทรงกระทำความดำริในอิฏฐารมณ์และ อนิฏฐารมณ์ ให้อยู่ในอำนาจแล้ว ฯ เหมวตยักษ์ถามว่า พระโคดมไม่ทรงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้แลหรือ ทรงสำรวมแล้วในสัตว์ทั้งหลายแลหรือ ทรงห่างไกลจาก ความประมาทแลหรือ ย่อมไม่ทรงละทิ้งฌานแลหรือ ฯ สาตาคิรยักษ์ตอบว่า พระองค์ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ทรงสำรวม แล้วในสัตว์ทั้งหลาย และทรงห่างไกลจากความประมาท พระองค์เป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมไม่ทรงละทิ้งฌาน ฯ เหมวตยักษ์ถามว่า พระโคดมไม่ตรัสคำเท็จแลหรือ มีพระวาจาไม่หยาบคาย แลหรือ ไม่ตรัสคำส่อเสียดแลหรือ ไม่ตรัสคำเพ้อเจ้อ แลหรือ ฯ สาตาคิรยักษ์ตอบว่า พระองค์ไม่ตรัสคำเท็จ มีพระวาจาไม่หยาบคาย และไม่ตรัส คำส่อเสียด ตรัสคำที่เป็นประโยชน์อย่างเดียว เพราะทรง กำหนดด้วยพระปัญญา ฯ เหมวตยักษ์ถามว่า พระโคดมไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลายแลหรือ พระหฤทัย ของพระโคดมไม่ขุ่นมัวแลหรือ พระโคดมทรงล่วงโมหะ ได้แล้วหรือ พระโคดมทรงมีพระจักษุในธรรมทั้งหลาย แลหรือ ฯ สาตาคิรยักษ์ตอบว่า พระองค์ไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย และพระหฤทัยของ พระองค์ไม่ขุ่นมัว พระองค์ทรงล่วงโมหะได้ทั้งหมด พระองค์ ตรัสรู้แล้ว ทรงมีพระจักษุในธรรมทั้งหลาย ฯ เหมวตยักษ์ถามว่า พระโคดมทรงถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิชชาแลหรือ ทรงมี จรณะบริสุทธิ์แลหรือ อาสวะทั้งหลายของพระองค์นั้นสิ้น ไปแล้วแลหรือ ภพใหม่ไม่มีแลหรือ ฯ สาตาคิรยักษ์ตอบว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชา และทรงมีจรณะบริสุทธิ์ อาสวะทั้งหลายของพระองค์สิ้นไปหมดแล้ว ภพใหม่ของ พระองค์ไม่มี ฯ เหมวตยักษ์กล่าวว่า พระหฤทัยของพระโคดมผู้เป็นมุนี ถึงพร้อมแล้ว กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม มาเราทั้งสองจงไปเฝ้าพระโคดม ผู้ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะกันเถิด ฯ เหมวตยักษ์ชมเชยพระผู้มีพระภาคว่า มาเถิดเราจงไปเฝ้าพระโคดมผู้มีพระชงฆ์เพียงปลีแข้งเนื้อทราย ผู้ซูบผอม เป็นนักปราชญ์ มีพระกระยาหารน้อย ไม่โลภ เป็นมุนี ทรงฌานอยู่ในป่า เราเข้าไปเฝ้าพระโคดม ผู้ดุจ ราชสีห์ เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียว ไม่เสด็จมาสู่ภพใหม่ ไม่มีความห่วงใย ในกามทั้งหลาย แล้วจงทูลถามถึงธรรม เป็นเครื่องพ้นจากบ่วงมาร เราจงทูลถามพระโคดมผู้ตรัสบอก ผู้ทรงแสดง ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้ทรงล่วงเวรภัยได้แล้ว ฯ เหมวตยักษ์ทูลถามว่า เมื่ออะไรเกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น โลกย่อมกระทำความ เชยชิดในอะไร โลกยึดถืออะไร เมื่ออะไรมี โลก จึงเดือดร้อน ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรเหมวตะ เมื่ออายตนะภายในและภายนอก ๖ เกิดขึ้น โลกจึงเกิด ขึ้น โลกย่อมกระทำความเชยชิดในอายตนะภายในและภาย นอก ๖ โลกยึดถืออายตนะภายในและภายนอก ๖ นั่น แหละ เมื่ออายตนะภายในและภายนอก ๖ มี โลกจึง เดือดร้อน ฯ อุปาทานที่เป็นเหตุให้โลกต้องเดือดร้อนเป็นไฉน ข้าพระองค์ ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ตรัสบอก ซึ่งธรรมชาติเป็นเครื่อง ออกจากโลก บุคคลจะพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร ฯ กามคุณ ๕ ในโลกมีใจเป็นที่ ๖ เราประกาศแล้ว บุคคล คลายความพอใจในกามคุณ ๕ นี้ได้แล้วย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้ เราบอกซึ่งธรรมชาติเป็นเครื่องออกจาก โลกนี้ ตามความเป็นจริง แก่ท่านทั้งหลายแล้ว ถ้าแม้ท่าน ทั้งหลายพึงถามเราพันครั้ง เราก็จะบอกข้อนี้แก่ท่านทั้งหลาย เพราะบุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ได้ด้วยอาการอย่างนี้ ฯ ในโลกนี้ใครเล่าข้ามโอฆะได้ ในโลกนี้ใครเล่าข้ามอรรณพ ได้ ใครย่อมไม่จมลงในอรรณพที่ลึกซึ้ง ไม่มีที่พึ่ง ไม่มี ที่ยึดเหนี่ยว ฯ ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล มีปัญญา มีใจตั้งมั่นดีแล้ว มีความ หมายรู้ ณ ภายใน มีสติทุกเมื่อ ย่อมข้ามพ้นโอฆะที่ข้ามได้ แสนยาก ผู้นั้นเว้นจากกามสัญญา ล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย ได้ มีความเพลิดเพลินและภพหมดสิ้นแล้ว ย่อมไม่จมลงใน อรรณพ คือ สงสารอันลึก ฯ เชิญท่านทั้งหลาย ดูพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้มีพระปัญญา ลึกซึ้ง ผู้ทรงแสดงเนื้อความละเอียด ไม่มีความกังวล ไม่ข้องแล้วในกามภพ พ้นวิเศษแล้วในอารมณ์ทั้งปวง ทรง ดำเนินไปในทางอันเป็นทิพย์ ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่ เชิญท่านทั้งหลายดูพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้มีพระนามไม่- ทราม ผู้ทรงแสดงเนื้อความละเอียด ผู้ทรงให้ปัญญา ไม่ข้องแล้วในอาลัยในกาม ทรงรู้ธรรมทั้งปวง มีพระปัญญาดี ทรงดำเนินไปในทางอันเป็นอริยะ ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่ ฯ วันนี้เราทั้งหลายเห็นดีแล้วหนอ สว่างไสวแล้ว ตั้งขึ้นดีแล้ว เพราะเราทั้งหลายได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงข้ามโอฆะได้ แล้ว หาอาสวะมิได้ ฯ ยักษ์หนึ่งพันทั้งหมดเหล่านี้ มีฤทธิ์ มียศ ย่อมถึงพระผู้มี- พระภาคพระองค์นั้น เป็นสรณะด้วยคำว่า พระองค์เป็น พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมของข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ ทั้งหลาย จักขอนอบน้อมซึ่งพระสัมพุทธเจ้าและความที่พระ ธรรมเป็นธรรมดี เที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน จากภูเขาสู่ภูเขา ฯ
จบเหมวตสูตรที่ ๙
อาฬวกสูตรที่ ๑๐
[๓๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ ใกล้เมือง อาฬวี ครั้งนั้นแล อาฬวกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า จงออกไปเถิดสมณะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละท่าน แล้วได้เสด็จออกไป อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า จงเข้ามา เถิดสมณะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละท่าน แล้วได้เสด็จเข้าไป แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ ... แม้ครั้งที่ ๔ อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า จงออกไปเถิดสมณะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรท่าน เราจักไม่ออกไปละ ท่านจงกระทำกิจที่ท่านจะพึงกระทำเถิด ฯ อา. ดูกรสมณะ ข้าพเจ้าจะถามปัญหากะท่าน ถ้าว่าท่านจักไม่พยากรณ์ แก่ข้าพเจ้าไซร้ ข้าพเจ้าจะควักดวงจิตของท่านออกโยนทิ้ง จักฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับที่เท้าทั้งสองของท่านแล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ฯ พ. เรายังไม่มองเห็นบุคคลผู้ที่จะพึงควักดวงจิตของเราออกโยนทิ้ง จะพึง ฉีกหัวใจของเรา หรือจะพึงจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคาได้ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดูกรท่าน ก็และท่านหวังจะถามปัญหาก็จงถามเถิด ฯ ลำดับนั้น อาฬวกยักษ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๗๓๘๐-๗๕๓๐ หน้าที่ ๓๒๓-๓๓๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=7380&Z=7530&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=308&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=308&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=25&item=308&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=25&item=308&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=308              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]