ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ปรมัฏฐกสูตรที่ ๕
[๔๑๒] บุคคลในโลกยึดถือในทิฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง ย่อมกระทำศาสดาเป็นต้นของตนให้เป็นผู้ประเสริฐ กล่าว ผู้อื่นนอกจากศาสดาเป็นต้นของตนนั้นว่า เลวทั้งหมด เพราะ เหตุนั้น บุคคลนั้นจึงไม่ล่วงพ้นความวิวาทไปได้ บุคคลนั้น เห็นอานิสงส์อันใดในตนกล่าวคือ ทิฐิ ที่เกิดขึ้นในสิ่งเหล่านี้ คือ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง ศีล พรต หรืออารมณ์ ที่ได้ทราบ บุคคลนั้นยึดมั่นอานิสงส์ในทิฐิของตนนั้นแลว่า ประเสริฐที่สุด เห็นศาสดาอื่นทั้งหมดโดยความเป็นคนเลว อนึ่ง บุคคลผู้อาศัยศาสดาของตนแล้ว เห็นศาสดาอื่น เป็นคนเลว เพราะความเห็นอันใด ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย กล่าวความเห็นนั้นว่า เป็นกิเลสเครื่องร้อยรัด เพราะฉะนั้น แหละ ภิกษุไม่พึงยึดมั่นรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ หรือศีลและพรต แม้ทิฐิก็ไม่พึงกำหนด ด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลและพรตในโลก ไม่พึงนำตนเข้า ไปเปรียบว่า เป็นผู้เสมอเขา ไม่พึงสำคัญว่า เป็นผู้เลว กว่าเขา หรือว่าเป็นผู้วิเศษกว่าเขา ภิกษุนั้นละความเห็นว่า เป็นตนได้แล้ว ไม่ถือมั่นอยู่ ย่อมไม่กระทำนิสัย (ตัณหา นิสัยและทิฐินิสัย) แม้ในญาณ ไม่เป็นผู้แล่นไปเข้าพวก ในสัตว์ทั้งหลายผู้แตกต่างกันด้วยอำนาจทิฐิต่างๆ ย่อมไม่ กลับมาแม้สู่ทิฐิอะไรๆ พราหมณ์ในโลกนี้ไม่มีตัณหาใน ส่วนสุดทั้ง ๒ มีผัสสะเป็นต้นเพื่อความเกิดบ่อยๆ ในโลกนี้ หรือในโลกอื่น ไม่มีความยึดมั่นอะไรๆ ไม่มีสัญญาอันปัจจัย กำหนดแล้วแม้แต่น้อย ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง หรือในอารมณ์ที่ได้ทราบ ในโลกนี้ เพราะได้ตัดสินธรรม ที่ตนยึดถือแล้วในธรรมทั้งหลาย ใครๆ จะพึงกำหนดพราหมณ์ นั้นผู้ไม่ถือมั่นทิฐิ ด้วยการกำหนดด้วยตัณหาหรือด้วยการ กำหนดด้วยทิฐิอะไรๆ ในโลกนี้ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมไม่ กำหนดด้วยตัณหาหรือทิฐิ ย่อมไม่กระทำตัณหาและทิฐิไว้ใน เบื้องหน้า แม้ธรรมคือทิฐิทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นก็มิได้ ปกปิดไว้ พราหมณ์ผู้อันใครๆ จะพึงนำไปด้วยศีลและพรต ไม่ได้ ถึงฝั่ง คือ นิพพานแล้ว เป็นผู้คงที่ ย่อมไม่กลับมา หากิเลสทั้งหลายอีก ฉะนั้นแล ฯ
จบปรมัฏฐกสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๐๗๗-๑๐๑๑๐ หน้าที่ ๔๓๗-๔๓๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=10077&Z=10110&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=412&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=412&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=25&item=412&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=25&item=412&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=412              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]