ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗
ท่านพระติสสเมตเตยยะทูลถามปัญหาว่า [๔๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์จงตรัสบอกความคับแค้น แห่งบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนืองๆ เถิด ข้าพระองค์ ทั้งหลายได้สดับคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว จักศึกษาใน วิเวก ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรเมตเตยยะ ความคับแค้นของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมมีอยู่ บุคคลผู้ ประกอบเมถุนธรรม ย่อมลืมแม้คำสั่งสอน และย่อมปฏิบัติ ผิด นี้เป็นกิจไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น บุคคลใดประพฤติอยู่ผู้ เดียวในกาลก่อนแล้ว เสพเมถุนธรรม (ในภายหลัง) บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นคนมีกิเลสมากในโลก เหมือนยวดยานที่แล่นไปใกล้เหว ฉะนั้น ยศและเกียรติ คุณในกาลก่อนของบุคคลนั้น ย่อมเสื่อม บุคคลเห็นโทษ แม้นี้แล้ว ควรศึกษาไตรสิกขาเพื่อละเมถุนธรรม ผู้ใดไม่ละ เมถุนธรรม ผู้นั้นถูกความดำริครอบงำแล้ว ซบเซาอยู่ เหมือนคนกำพร้า ฉะนั้น ผู้นั้นฟังเสียงอันระบือไปของชน เหล่าอื่นแล้ว เป็นผู้เก้อเขินเช่นนั้น อนึ่ง ผู้ใดอันวาทะ ของบุคคลอื่นตักเตือนแล้ว ยังกระทำกายทุจริตเป็นต้น ผู้นี้ แหละพึงเป็นผู้มีเครื่องผูกใหญ่ ย่อมถือเอาโทษแห่งมุสาวาท บุคคลอันผู้อื่นรู้กันดีแล้วว่าเป็นบัณฑิต อธิษฐานการเที่ยวไป ผู้เดียว แม้ในภายหลังประกอบในเมถุนธรรม ย่อมมัวหมอง เหมือนคนงมงาย ฉะนั้น มุนีในศาสนานี้รู้โทษในเบื้องต้น และเบื้องปลายนี้แล้ว ควรกระทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ไม่ควรเสพเมถุนธรรม ควรศึกษาวิเวกเท่านั้น การประพฤติ วิเวกนี้ เป็นกิจอันสูงสุดของพระอริยเจ้าทั้งหลาย มุนีไม่ ควรสำคัญตนว่าเป็นผู้ประเสริฐด้วยวิเวกนั้น มุนีนั้นแลย่อม อยู่ใกล้นิพพาน หมู่สัตว์ผู้ยินดีแล้วในกามทั้งหลาย ย่อมรัก ใคร่ต่อมุนีผู้สงัดแล้วเที่ยวไปอยู่ ผู้ไม่มีความห่วงใยในกาม ทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ฉะนี้แล ฯ
จบติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗
ปสูรสูตรที่ ๘
[๔๑๕] สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยทิฐิ ย่อมกล่าวว่า ความบริสุทธิ์ว่ามีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความบริสุทธิ์ ในธรรมเหล่าอื่น สมณพราหมณ์เป็นอันมาก กล่าวความดี งามในศาสดาของตนเป็นต้นที่ตนอาศัยแล้ว ถือมั่นอยู่ใน สัจจะเฉพาะอย่าง (มีคำว่าโลกเที่ยงเป็นต้น) สมณพราหมณ์ เจ้าทิฐิ ๒ พวกนั้น ประสงค์จะกล่าวโต้ตอบกัน เข้าไปสู่ บริษัทแล้ว ย่อมโต้เถียงกันและกันว่าเป็นคนเขลา สมณ- พราหมณ์เหล่านั้นต้องการแต่ความสรรเสริญ เป็นผู้มีความ สำคัญว่า เราทั้งหลายเป็นคนฉลาดอาศัยศาสดาของกันและ กันเป็นต้นแล้ว ย่อมกล่าวคำทะเลาะกัน บุคคลปรารถนาแต่ ความสรรเสริญ ขวนขวายหาถ้อยคำวิวาท กระทบกระเทียบ กันในท่ามกลางบริษัท แต่กลับเป็นผู้เก้อเขินในเพราะวาทะ อันผู้ตัดสินปัญหาไม่ทำให้เลื่อมใส บุคคลนั้นเป็นผู้แสวงหา โทษ ย่อมโกรธเพราะความนินทา ผู้พิจารณาปัญหาทั้งหลาย กล่าววาทะใดของบุคคลนั้นอันตนไม่ทำให้เลื่อมใสแล้วว่าเป็น วาทะเสื่อมสิ้น บุคคลผู้มีวาทะเสื่อมแล้วนั้น ย่อมคร่ำครวญ เศร้าโศก ทอดถอนใจว่า ท่านผู้นี้กล่าวสูงเกินเราไป ความ วิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในพวกสมณะ ความกระทบกระทั่งกัน ย่อมมีในเพราะวาทะเหล่านี้ บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึง เว้นความทะเลาะกันเสีย ความสรรเสริญและลาภ ย่อมไม่มี เป็นอย่างอื่นไปเลย ก็หรือบุคคลนั้นกล่าววาทะในท่ามกลาง บริษัท เป็นผู้อันบุคคลสรรเสริญแล้วในเพราะทิฐินั้น ย่อม รื่นเริงใจสูงขึ้นเพราะต้องการชัยชนะและมานะนั้นได้ถึงความ ต้องการชัยชนะนั้นสมใจนึก การยกตนของบุคคลนั้น เป็น พื้นแห่งความกระทบกัน และบุคคลนั้นย่อมกล่าวถึงการ ถือตัวและการดูหมิ่นผู้อื่น บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึงเว้น ความทะเลาะกันเสีย ผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวความ บริสุทธิ์ด้วยการทะเลาะกันนั้น บุคคลผู้เจ้าทิฐิปรารถนาพบ บุคคลเจ้าทิฐิผู้เป็นปฏิปักษ์กัน ย่อมคำราม เปรียบเหมือน ทหารผู้กล้าหาญ ซึ่งพระราชาทรงเลี้ยงแล้วด้วยราชขาทนียา- หาร ปรารถนาพบทหารผู้เป็นปฏิปักษ์กัน ย่อมคำราม ฉะนั้น ดูกรท่านผู้องอาจ บุคคลเจ้าทิฐิเป็นปฏิปักษ์ของท่านนั้น มีอยู่ ณ ที่ใด ท่านจงไป ณ ที่นั้นเถิด กิเลสชาติเพื่อการรบนี้ ไม่มีในกาลก่อนเลย (กิเลสชาตินั้นเราผู้ตถาคตละเสียแล้ว ณ ควงแห่งไม้โพธินั้นแล) สมณพราหมณ์เหล่าใดถือรั้น ทิฐิแล้ว ย่อมวิวาทกันและย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ท่านผู้กระทำความเป็นข้าศึกในวาทะ (ถ้อยคำ) ที่เกิดขึ้น จงกล่าวทุ่มเถียงกะสมณพราหมณ์เหล่านั้นเถิด พราหมณ์เหล่า นั้นไม่มีในที่นี้เลย ส่วนพระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย กำจัด เสนา คือกิเลสให้พินาศแล้ว ไม่กระทำความเห็นให้ผิดไป จากความเห็น เที่ยวไปอยู่ ดูกรปสุระ ท่านจะได้สู้รบโต้ ตอบอะไร ในพระอรหันต์ผู้ไม่มีความยึดถือว่าสิ่งนี้ประเสริฐ ในโลกนี้ ถ้าท่านคิดถึงทิฐิทั้งหลายอยู่ด้วยใจ ถึงความตรึกไป ต่างๆ ถือเอาความเป็นคู่แข่งขันกับพระพุทธะผู้กำจัดกิเลส ได้แล้วไซร้ ท่านจะสามารถเพื่อถือเอาความเป็นคู่แข่งขันให้ สำเร็จไม่ได้เลย ฯ
จบปสูรสูตรที่ ๘
มาคันทิยสูตรที่ ๙
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า [๔๑๖] ความพอใจในเมถุนธรรม ไม่ได้มีแก่เราเพราะได้เห็นนาง ตัณหานางอรดีและนางราคาเลย ความพอใจในเมถุนธรรม อย่างไรจักมีเพราะได้เห็นสรีระแห่งธิดาของท่านอันเต็มไปด้วย มูตรและคูถเล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องสรีระแห่งธิดาของ ท่านนั้นแม้ด้วยเท้า ฯ มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า ถ้าพระองค์ไม่ทรงปรารถนานางแก้วเช่นนี้ ที่พระราชาผู้เป็น จอมนระเป็นอันมากทรงปรารถนากันแล้วไซร้ พระองค์ตรัส ทิฐิ ศีล พรต ชีวิต และการเข้าถึงภพของพระองค์เช่นไร หนอ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยะ กิจที่เราวินิจฉัยในธรรม คือ ทิฐิ ๖๒ แล้วจึงยึดถือเอาว่า เรากล่าวทิฐินี้ว่า ข้อนี้เท่านั้นจริง ข้ออื่นเปล่า ดังนี้ ย่อม ไม่มีแก่เราและเราเห็นโทษในทิฐิทั้งหลายอยู่ ไม่ได้ยึดถือ ทิฐิอะไรๆ เมื่อค้นคว้าสัจจะทั้งหลาย ก็ได้เห็นนิพพาน กล่าวคือความสงบ ณ ภายใน ฯ มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า ทิฐิเหล่าใด ที่สัตว์ทั้งหลายได้วินิจฉัยกำหนดไว้แล้ว ข้าแต่ พระองค์ผู้เป็นมุนี พระองค์ไม่ได้ยึดถือทิฐิเหล่านั้นเลย ตรัส เนื้อความนี้ได้ว่า ความสงบ ณ ภายใน เนื้อความนั้นอัน นักปราชญ์ทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ ขอพระองค์จงตรัส บอกแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยะ เราไม่ได้กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการเห็น การฟัง การรู้ ทั้ง ด้วยศีลและพรต เราไม่กล่าวความบริสุทธิ์เว้นจากการเห็น จากการฟัง จากการรู้ จากศีลและพรต ก็บุคคลสละธรรม เป็นไปในฝ่ายดำมีทิฐิเป็นต้นเหล่านี้แล้ว ไม่ถือมั่น เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยธรรมอะไรแล้วไม่พึงปรารถนาภพ ฯ มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า ได้ยินว่า ถ้าพระองค์ไม่ตรัสความบริสุทธิ์ด้วยการเห็น การ ฟัง การรู้ ทั้งศีลและพรต พระองค์ไม่ตรัสความบริสุทธิ์ เว้นจากการเห็น จากการฟัง จากการรู้ จากศีลและพรต ข้าพระองค์ย่อมสำคัญธรรมเป็นที่งงงวย ทีเดียวด้วยว่า ชน บางพวกยังเชื่อความบริสุทธิ์ด้วยการเห็น ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาคันทิยะ ก็ท่านอาศัยการเห็นถามอยู่บ่อยๆ ได้ถึงความหลงใหลไปใน ทิฐิที่ท่านยึดมั่นแล้ว และท่านก็ไม่ได้เห็นสัญญาแม้แต่น้อย แต่ความสงบ ณ ภายในที่เรากล่าวแล้วนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงตั้งอยู่โดยความเป็นผู้หลง ผู้ใดย่อมสำคัญด้วยมานะ หรือด้วยทิฐิว่า เราเป็นผู้เสมอเขาวิเศษกว่าเขา หรือเลวกว่า เขา ผู้นั้นพึงวิวาท เพราะมานะหรือทิฐินั้น ผู้ใดไม่หวั่นไหว ในการถือตัวว่า เสมอเขา วิเศษกว่าเขาดังนี้เป็นต้น ผู้นั้น ย่อมไม่มีการวิวาท บุคคลผู้มีมานะและทิฐิอันละได้แล้วนั้น ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ จะพึงกล่าวอะไรว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง หรือจะพึงวิวาทเพราะมานะหรือทิฐิอะไรว่า ของเราจริง ของ ท่านเท็จ อนึ่ง ความสำคัญว่าเสมอเขาหรือว่าไม่เสมอเขา ย่อมไม่มีในผู้ใด ผู้นั้นจะพึงโต้ตอบวาทะกับใครๆ มุนีละอาลัย ได้แล้ว ไม่ระลึกถึงอารมณ์เครื่องกำหนดหมาย ไม่กระทำ ความสนิทสนมในชาวบ้าน เป็นผู้สงัดจากกามทั้งหลาย ไม่ ทำอัตภาพให้เกิดต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกับคน บุคคลผู้ประเสริฐ สงัดแล้วจากธรรมมีทิฐิเป็นต้นเหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก ไม่พึงถือเอาธรรมมีทิฐิเป็นต้นเหล่านั้นขึ้น กล่าว มุนีผู้มีถ้อยคำสงบ ไม่กำหนัดยินดี ไม่ติดอยู่ในกาม และในโลก เหมือนดอกปทุม มีก้านเป็นหนาม เกิดในน้ำ โคลนตม ไม่ติดอยู่ด้วยน้ำและโคลนตม ฉะนั้น บุคคลผู้ ถึงเวทคือมรรค ๔ เป็นผู้ไม่ดำเนินไปด้วยทิฐิ บุคคลนั้นไม่ กลับมาสู่มานะด้วยการทราบ อันต่างด้วยอารมณ์ มีรูปที่ได้ ทราบแล้วเป็นต้น บุคคลนั้นไม่เป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยตัณหา มานะ และทิฐินั้น บุคคลนั้น แม้กรรมและสุตะพึงนำไป ไม่ได้ บุคคลนั้นอันสิ่งใดสิ่งหนึ่งน้อมนำเข้าไปไม่ได้แล้ว ในนิเวศน์ คือ ตัณหาและทิฐิ กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้คลายสัญญาได้แล้ว ความหลงทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่าใดยึด ถือกามสัญญาและทิฐิ ชนเหล่านั้นกระทบกระทั่งกันและกัน เที่ยวไปอยู่ในโลก ฯ
จบมาคันทิยสูตรที่ ๙
ปุราเภทสูตรที่ ๑๐
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า [๔๑๗] บุคคลผู้มีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร บัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้สงบ ท่านพระโคดมพระองค์ผู้อันข้าพระองค์ถามแล้ว ขอจงตรัสบอกนระผู้สูงสุดแก่ข้าพเจ้าเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ฯ ผู้ใดปราศจากตัณหาก่อนแต่สรีระแตก เป็นผู้ไม่อาศัย (กาล อันเป็นอดีตอนาคต) เบื้องต้นและเบื้องปลาย อันใครๆ จะ พึงนับว่า เป็นผู้ยินดีแล้วใน (กาลอันเป็นปัจจุบัน) ท่าม- กลางไม่ได้ ความมุ่งหวังของผู้นั้นย่อมไม่มี เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้สงบ ผู้ใดไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้นั้นแล เป็นมุนีผู้สำรวมแล้ว ด้วยวาจา ผู้ใดไม่ทะเยอทะยานในสิ่งที่ยังไม่มาถึง ไม่ เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นผู้มีปรกติเห็นความสงัดใน ผัสสะ อันใครๆ จะนำไปในทิฐิทั้งหลายไม่ได้เลย ผู้ใด ปราศจากกิเลส ไม่หลอกลวง มีปรกติไม่ทะเยอะทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่เกลียดชัง ไม่ประกอบใน คำส่อเสียด เว้นจากความเชยชมในกามคุณอันเป็นวัตถุน่า ยินดี ทั้งไม่ประกอบในการดูหมิ่น เป็นผู้ละเอียดอ่อน มี ปฏิภาณ ไม่เชื่อต่อใครๆ ไม่กำหนัดยินดี ไม่ศึกษา เพราะ ใคร่ลาภ ไม่โกรธเคืองในเพราะความไม่มีลาภ และเป็นผู้ ไม่พิโรธ ไม่ยินดีในรสด้วยตัณหา เป็นผู้วางเฉย มีสติทุก เมื่อ ไม่สำคัญตัวว่าเสมอเขา ว่าวิเศษกว่าเขา ว่าเลวกว่าเขาใน โลก กิเลสอันฟูขึ้นทั้งหลาย ของผู้นั้น ย่อมไม่มี ฯ ตัณหานิสสัยและทิฐินิสสัยของผู้ใดไม่มี ผู้นั้นรู้ธรรมแล้ว เป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว ความทะยานอยากเพื่อ ความมีหรือเพื่อความไม่มี ของผู้ใดไม่มี เรากล่าวผู้นั้นผู้ไม่มี ความห่วงใยในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้สงบ กิเลสเครื่องร้อยรัด ทั้งหลายของผู้ใดไม่มี ผู้นั้นข้ามตัณหาได้แล้ว บุตร ธิดา สัตว์ เลี้ยง ไร่นาและที่ดินของผู้ใดไม่มี แม้ความเห็นว่าเป็นตัวตน ก็ดี ความเห็นว่าไม่เป็นตัวตนก็ดี อันใครๆ ย่อมไม่ได้ใน ผู้นั้น ปุถุชนหรือสมณพราหมณ์จะพึงกล่าวกะผู้นั้น (ว่าผู้ ยินดีแล้ว หรือผู้ประทุษร้ายแล้ว) โดยโทษมีราคะเป็นต้นใด โทษมีราคะเป็นต้นนั้น ไม่ใช่เป็นความมุ่งหวังของผู้นั้น เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว ในเพราะถ้อยคำ ทั้งหลาย มุนีผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี ไม่มีความตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวยกย่องในบุคคลผู้ประเสริฐกว่า ผู้เสมอกัน หรือ ผู้เลวกว่า ผู้ไม่มีกัปปะ (คือตัณหาแลทิฐิ) ย่อมไม่มาสู่กัปปะ ผู้ใดไม่มีความหวงแหนว่าของตนในโลก ไม่เศร้าโศกเพราะ สิ่งที่ไม่มีอยู่ และไม่ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแล เรา กล่าวว่าเป็นผู้สงบ ฯ
จบปุราเภทสูตรที่ ๑๐
กลหวิวาทสูตรที่ ๑๑
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า [๔๑๘] ความทะเลาะ ความวิวาท ความร่ำไร ความเศร้าโศก กับ ทั้งความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น และทั้งคำ ส่อเสียด เกิดจากอะไร ธรรมเครื่องเศร้าหมองเหล่านั้นเกิด จากอะไร ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกเนื้อความที่ข้าพระองค์ ถามนั้นเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ความร่ำไร ความเศร้าโศก กับ ทั้งความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น และทั้งคำ ส่อเสียด เกิดจากของที่รัก ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบเข้าแล้วด้วยความตระหนี่ ก็เมื่อความวิวาทเกิดแล้ว คำส่อเสียดย่อมเกิด ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามต่อไปว่า ความรักในโลกเล่ามีอะไรเป็นเหตุ แม้อนึ่ง ชนเหล่าใดมี กษัตริย์เป็นต้น มีความโลภ เที่ยวไปในโลก ความโลภของ ชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น มีอะไรเป็นเหตุ ความหวังและ ความสำเร็จของนรชนซึ่งมีในสัมปรายภพมีอะไรเป็นเหตุ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ความรักในโลกมีความพอใจเป็นเหตุ แม้อนึ่ง ชนเหล่าใดมี กษัตริย์เป็นต้น มีความโลภเที่ยวไปในโลก ความโลภของ ชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น มีความพอใจเป็นเหตุ ความ หวังและความสำเร็จของนรชน ซึ่งมีในสัมปรายภพ มีความ พอใจนี้เป็นเหตุ ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ความพอใจในโลกเล่ามีอะไรเป็นเหตุ แม้การวินิจฉัย คือ ตัณหาและทิฐิก็ดี ความโกรธ โทษแห่งการกล่าวมุสา และ ความสงสัยก็ดี ที่พระสมณะตรัสแล้ว เกิดจากอะไร ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวสุขเวทนาและทุกขเวทนาใดว่า เป็น ความยินดีและความไม่ยินดีในโลก ความพอใจย่อมเกิด เพราะอาศัยสุขเวทนาและทุกขเวทนานั้น สัตว์ในโลก เห็น ความเสื่อมไปและความเกิดขึ้นในรูปทั้งหลายแล้ว ย่อม กระทำการวินิจฉัย ความโกรธ โทษแห่งการกล่าวมุสา และ ความสงสัยธรรมแม้เหล่านี้ เมื่อความยินดีและความไม่ยินดี ทั้งสองอย่างนั่นแหละมีอยู่ ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ บุคคลผู้มีความ สงสัยพึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ท่านผู้เป็นสมณะรู้แล้ว จึง กล่าวธรรมทั้งหลาย ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ความยินดีและความไม่ยินดี มีอะไรเป็นเหตุ เมื่อธรรมอะไร ไม่มี ธรรมเหล่านี้จึงไม่มี ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถ คือ ทั้งความเสื่อมไปและทั้งความเกิดขึ้น (แห่งความยินดีและ ความไม่ยินดี) นี้ว่า มีสิ่งใดเป็นเหตุแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ความยินดี ความไม่ยินดี มีผัสสะเป็นเหตุ เมื่อผัสสะไม่มี ธรรมเหล่านี้จึงไม่มี เราขอบอกอรรถ คือ ทั้งความเสื่อมไป และทั้งความเกิดขึ้นนี้ ว่ามีผัสสะนี้เป็นเหตุแก่ท่าน ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ผัสสะในโลกเล่า มีอะไรเป็นเหตุ อนึ่ง ความหวงแหนเกิด จากอะไร เมื่อธรรมอะไรไม่มี ความถือว่าสิ่งนี้เป็นของเราจึง ไม่มี เมื่อธรรมอะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ผัสสะอาศัยนามและรูปจึงเกิดขึ้น ความหวงแหนมีความ ปรารถนาเป็นเหตุ เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าสิ่งนี้ เป็นของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างไร รูปจึงไม่มี อนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อย่างไรจึงไม่มี ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอาการที่รูปและสุข ทุกข์นี้ไม่มีแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์มีใจดำริว่า เราควรรู้ ความข้อนั้น ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญาเป็นปรกติ เป็นผู้ไม่มี สัญญาด้วยสัญญาอันผิดปรกติ เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เป็น ผู้มีสัญญาว่าไม่มีก็มิใช่ เมื่อบุคคลปฏิบัติแล้วอย่างนี้ รูปจึง ไม่มี เพราะว่าธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้า มีสัญญา เป็นเหตุ ฯ พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ข้าพระองค์ได้ถามความข้อใดกะพระองค์ พระองค์ก็ได้ทรง แสดงความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอถามความ ข้ออื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกความข้อนั้นเถิด ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตพวกหนึ่งในโลกนี้ ย่อมกล่าว ความบริสุทธิ์ของสัตว์ว่าเป็นยอดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หรือว่า ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์อย่างอื่นอันยิ่งไปกว่ารูปสมาบัตินี้ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ก็สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยง พวกหนึ่ง (มีความถือตัวว่า) เป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวอรูปสมาบัตินี้ว่า เป็นความ บริสุทธิ์ของสัตว์แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สมณพราหมณ์ผู้มี วาทะว่าขาดสูญพวกหนึ่ง เป็นผู้มีวาทะว่าตนเป็นคนฉลาดใน อนุปาทิเสสนิพพาน ย่อมโต้เถียงสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่า เที่ยงเหล่านั้นแหละ ส่วนท่านผู้เป็นมุนี รู้บุคคลเจ้าทิฐิเหล่า นั้นว่า เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิ ท่านผู้เป็นมุนีนั้น เป็นนักปราชญ์ พิจารณารู้ผู้อาศัยทิฐิทั้งหลายแล้ว รู้ธรรม โดยลักษณะมีความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เป็นต้น หลุดพ้น แล้ว ย่อมไม่ทะเลาะวิวาทกับใคร ย่อมไม่มาเพื่อความเกิด บ่อยๆ ฯ
จบกลหวิวาทสูตรที่ ๑๑

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๑๔๓-๑๐๔๑๗ หน้าที่ ๔๔๐-๔๕๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=10143&Z=10417&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=414&items=5              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=25&item=414&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=25&item=414&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=25&item=414&items=5              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=414              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]