ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๑๖๗๓] 	ข้าพเจ้าไม่ซื้อไม่ขายเลย อนึ่ง ความสั่งสมของข้าพเจ้าก็มิได้มีในที่นี้เลย
                          ภัตนี้นิดหน่อยหาได้ยากเหลือเกิน ข้าวสุกแล่งหนึ่งหาพอเพียงแก่เรา
                          ทั้งสองคนไม่
             [๑๖๗๔] 	บุคคลควรแบ่งของน้อยให้ตามน้อย ควรแบ่งของปานกลางให้ตามของ
                          ปานกลาง ควรแบ่งของมากให้ตามมาก การไม่ให้เสียเลย ย่อมไม่สม-
                          ควร. ดูกรโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้น
                          สู่ทางแห่งพระอริยะ จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียว
                          ย่อมไม่ได้ความสุข.
             [๑๖๗๕] 	ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว พลีกรรมของผู้นั้น
                          ย่อมไร้ผล ทั้งความเพียรที่จะหาทรัพย์ก็ไร้ประโยชน์. ดูกรโกสิยเศรษฐี
                          เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางแห่งพระอริยะ
                          จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียว ย่อมไม่ได้ความสุข.
             [๑๖๗๖] 	ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว ไม่บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว พลีกรรมผู้นั้นย่อมมี
                          ผลจริง ทั้งความเพียรที่จะหาทรัพย์ก็ย่อมมีประโยชน์ด้วย. ดูกรโกสิย
                          เศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่ทางแห่ง
                          พระอริยะ จงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียว ย่อมไม่ได้
                          ความสุข.
             [๑๖๗๗] 	ก็บุรุษเข้าไปสู่สระแล้ว บูชาที่แม่น้ำพหุกาก็ดี ที่แม่น้ำคยาก็ดี ทีท่า
                          โทณะก็ดี ทีท่าติมพรุก็ดี ที่ห้วงน้ำใหญ่มีกระแสอันเชี่ยวก็ดี. พลีกรรม
                          ของผู้นั้นในที่นั้นๆ ย่อมมีผล ทั้งความเพียรที่จะหาทรัพย์ของผู้นั้นในที่
                          นั้นๆ ก็ย่อมมีประโยชน์ ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว ไม่บริโภคโภชนะแต่ผู้-
                          เดียว. ผู้นั้นย่อมได้ความสุข ดูกรโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้า
                          จึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางแห่งพระอริยเจ้า จงให้ทานด้วย จง
                          บริโภคด้วย ผู้บริโภคแต่ผู้เดียว ย่อมไม่ได้ความสุข.
             [๑๖๗๘] 	ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว ผู้นั้นชื่อว่ากลืนกิน
                          เบ็ดอันมีสายยาวพร้อมทั้งเหยื่อ. ดูกรโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น
                          ข้าพเจ้าจึงกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางแห่งพระอริยะ จงให้ทาน
                          ด้วย จงบริโภคด้วย ผู้บริโภคคนเดียว ย่อมไม่ได้ความสุข.
             [๑๖๗๙] 	พราหมณ์เหล่านี้มีผิวพรรณงามจริงหนอ แต่เหตุอะไร สุนัขของท่านนี้
                          จึงเปล่งรัศมีมีวรรณะต่างๆ ได้ ท่านทั้งหลายผู้เป็นพราหมณ์ ใครหนอ
                          จะบอกข้าพเจ้าได้?
             [๑๖๘๐] 	ผู้นี้ คือ จันทเทพบุตร ผู้นี้ คือ สุริยเทพบุตร ผู้นี้ คือ มาตลีเทพ-
                          สารภี มาแล้วในที่นี้ เรา คือ ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาชาวไตรทศ
                          ส่วนสุนัขนี้แล เราเรียกว่า ปัญจสิขเทพบุตร.
             [๑๖๘๑] 	ฉิ่ง ตะโพน และเปิงมางทั้งหลาย ย่อมปลุกเทพบุตรผู้หลับให้ตื่น
                          และผู้ตื่นอยู่แล้วย่อมเพลิดเพลินใจ.
             [๑๖๘๒] 	คนตระหนี่เหนียวแน่น มักบริภาษสมณพราหมณ์ ทอดทิ้งร่างกายไว้ใน
                          โลกนี้ ตายแล้วย่อมไปสู่นรก.
             [๑๖๘๓] 	ชนเหล่าใด หวังสุคติ ตั้งอยู่แล้วในธรรม คือ ความสำรวมและการ
                          จำแนกแจกทาน ทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ ตายแล้วย่อมไปสู่สุคติ.
             [๑๖๘๔] 	ท่านนั้นชื่อโกสิยะ มีความตระหนี่ มีธรรมลามก เป็นญาติของเรา
                          ทั้งหลายในชาติก่อน เราทั้งหลายมาในที่นี้ เพื่อประโยชน์แก่ท่านคนเดียว
                          ด้วยคิดว่า โกสิยเศรษฐีนี้ อย่ามีธรรมอันลามกไปนรกเสียเลย.
             [๑๖๘๕] 	ท่านเหล่านั้น เป็นผู้ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าโดยแท้ เพราะ
                          เหตุที่มาตามพร่ำสอนข้าพเจ้าอยู่เนืองๆ ข้าพเจ้าจักทำตามที่ท่านผู้แสวง
                          หาประโยชน์ทั้งหลาย กล่าวสอนทุกอย่าง. ข้าพเจ้าจะงดเว้นความ
                          ตระหนี่เสียในวันนี้ทีเดียว อนึ่ง ข้าพเจ้าจะไม่พึงทำบาปอะไรๆ อนึ่ง
                          ขึ้นชื่อว่าการไม่ให้อะไรๆ จะไม่มีแก่ข้าพเจ้า อนึ่ง ข้าพเจ้ายังไม่ได้
                          ให้แล้ว จะไม่ดื่มน้ำ. ข้าแต่ท้าววาสวะ ก็เมื่อข้าพเจ้าให้อยู่อย่างนี้
                          ตลอดกาลทุกเมื่อ จนโภคะทั้งหลายจะหมดสิ้นไปในที่นี้ ข้าแต่ท้าวสักกะ
                          ต่อแต่นั้น ข้าพเจ้าจักละกามทั้งหลายตามที่มีอยู่อย่างไรแล้วจักออกบวช.
จบ โกสิยชาดกที่ ๗.
๘. เมณฑกปัญหาชาดก
ว่าด้วยเมณฑกปัญหา

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๖๕๘๖-๖๖๓๙ หน้าที่ ๒๙๙-๓๐๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=6586&Z=6639&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1673&items=13&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1673&items=13              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=1673&items=13&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=1673&items=13&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1673              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]