ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๑๙๐๗] 	ชฎิลเหล่าใดครองหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ ฟันเขลอะ รูปร่างเลอะเทอะ
                          ร่ายมนต์อยู่ ชฎิลเหล่านั้นเป็นผู้รู้การประพฤติตบะ และการสาธยาย
                          มนต์นี้ ในความเพียรที่มนุษย์จะพึงทำกัน จะพ้นจากอบายได้ละหรือ?
             [๑๙๐๘] 	ข้าแต่พระราชา ถ้าบุคคลเป็นพหูสูต ไม่ประพฤติธรรม ก็จะพึงกระทำ
                          กรรมอันลามกทั้งหลายได้ แม้จะมีเวทตั้งพัน อาศัยแต่ความเป็นพหูสูต
                          ยังไม่บรรลุจรณธรรม จะพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้เลย.
             [๑๙๐๙] 	แม้บุคคลผู้มีเวทตั้งพัน อาศัยแต่ความเป็นพหูสูตนั้น ยังไม่บรรลุ
                          จรณธรรมแล้ว จะพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้ อาตมภาพย่อมสำคัญว่า เวท
                          ทั้งหลายก็ย่อมไม่มีผล จรณธรรมอันมีความสำรวมเท่านั้นเป็นความจริง.
             [๑๙๑๐] 	เวททั้งหลายจะไม่มีผลก็หามิได้ จรณธรรมอันมีความสำรวมนั่นแลเป็น
                          ความจริง แต่บุคคลเรียนเวททั้งหลายแล้ว ย่อมได้รับเกียรติคุณ ท่าน
                          ผู้ฝึกฝนตนด้วยจรณธรรมแล้วย่อมบรรลุถึงสันติ.
             [๑๙๑๑] 	บุตรที่เกิดแต่มารดา บิดา และเผ่าพันธุ์ใด อันบุตรจะต้องเลี้ยงดู
                          อาตมภาพเป็นคนๆ นั้นแหละ มีชื่อว่าอุททาลกะ เป็นเชื้อสายของ
                          วงศ์ตระกูลโสตถิยะแห่งท่านผู้เจริญ.
             [๑๙๑๒] 	ดูกรท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร เป็นพราหมณ์เต็มที่
                          ได้อย่างไร ความดับรอบจะมีได้อย่างไร ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียก
                          ว่ากระไร?
             [๑๙๑๓] 	บุคคลเป็นพราหมณ์ ต้องบูชาไฟเป็นนิตย์ ต้องรดน้ำ เมื่อบูชายัญต้อง
                          ยกเสาเจว็ด ผู้กระทำอย่างนี้จึงเป็นพราหมณ์ผู้เกษม ด้วยเหตุนั้น
                          ชนทั้งหลายจึงได้พากันสรรเสริญว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
             [๑๙๑๔] 	ความหมดจด ย่อมไม่มีด้วยการรดน้ำ อนึ่ง พราหมณ์จะเป็นพราหมณ์
                          เต็มที่ด้วยการรดน้ำก็หาไม่ ขันติและโสรัจจะย่อมมีไม่ได้ ทั้งผู้นั้นจะ
                          เป็นผู้ดับรอบก็หามิได้.
             [๑๙๑๕] 	ดูกรท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร และเป็นพราหมณ์เต็มที่
                          ได้อย่างไร ความดับรอบจะมีได้อย่างไร ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียก
                          ว่ากระไร?
             [๑๙๑๖] 	บุคคลผู้ไม่มีไร่นา ไม่มีพวกพ้อง ไม่ถือว่าเป็นของเรา ไม่มีความหวัง
                          ไม่มีบาปคือความโลภ สิ้นความละโมบในภพแล้ว ผู้กระทำอย่างนี้ ชื่อว่า
                          เป็นพราหมณ์ผู้เกษม เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงได้พากันสรรเสริญ
                          ว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
             [๑๙๑๗] 	กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง
                          เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุกๆ
                          คนเป็นผู้เย็นแล้ว ยังจะมีคนดี คนเลวอีกหรือไม่?
             [๑๙๑๘] 	กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง
                          เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุกๆ
                          คนเป็นผู้เย็นแล้ว ย่อมไม่มีคนดี คนเลวเลย.
             [๑๙๑๙] 	กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง
                          เป็นผู้สงบเสงี่ยม ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุกๆ
                          คนเป็นผู้เย็นแล้ว ย่อมไม่มีคนดี คนเลวเลย เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านชื่อ
                          ว่า ทำลาย ความเป็นเชื้อสายแห่งตระกูลโสตถิยะ จะประพฤติเพศ
                          พราหมณ์ที่เขาสรรเสริญกันอยู่ทำไม.
             [๑๙๒๐] 	วิมานที่เขาคลุมด้วยผ้ามีสีต่างๆ กัน เงาแห่งผ้าเหล่านั้นย่อมเป็นสีเดียว
                          กันหมด สีที่ย้อมนั้นย่อมไม่เกิดเป็นสี ฉันใด ในมนุษย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น
                          เมื่อใด มาณพบริสุทธิ์ เมื่อนั้น มาณพเหล่านั้นเป็นผู้มีวัตรดี เพราะรู้
                          ทั่วถึงธรรม ย่อมละชาติของตนได้.
จบ อุททาลกชาดกที่ ๔.
๕. ภิสชาดก
ว่าด้วยผู้ลักเอาเหง้ามัน

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๗๓๘๒-๗๔๓๐ หน้าที่ ๓๓๐-๓๓๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=7382&Z=7430&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1907&items=14&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1907&items=14              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=1907&items=14&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=1907&items=14&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1907              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]