ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๑๙๖๑] 	ดูกรสหาย ก็ถ้าแหละท่านจับข้าพเจ้าเพราะเหตุแห่งทรัพย์แล้ว ท่าน
                          อย่าฆ่าข้าพเจ้าเลย จงจับเป็นนำข้าพเจ้าไปถวายพระราชาเถิด เข้าใจว่า
                          ท่านจะได้ทรัพย์ไม่ใช่น้อยเลย.
             [๑๙๖๒] 	เราผูกสอดลูกธนูใส่เข้าในแล่ง มิได้หมายมั่นว่าจะฆ่าท่านในวันนี้เลย
                          แต่เราจักตัดบ่วงที่ผูกรัดเท้าท่าน พญานกยูงจงไปตามสบายเถิด.
             [๑๙๖๓] 	เหตุไร ท่านจึงเพียรดักข้าพเจ้ามาถึง ๗ ปี สู้อดกลั้นความหิวกระหาย
                          ทั้งกลางคืนและกลางวัน เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านปรารถนาจะปลดปล่อย
                          ข้าพเจ้า ผู้ติดบ่วงเสียจากบ่วงเพื่ออะไร วันนี้ ท่านงดเว้นจากปาณาติบาต
                          หรือ หรือว่าท่านให้อภัยในสัตว์ทั้งปวง เหตุไรท่านจึงปรารถนาจะปลด
                          ปล่อยข้าพเจ้าผู้ติดบ่วง ออกจากบ่วงเสียเล่า.
             [๑๙๖๔] 	ดูกรพญานกยูง ขอท่านจงบอกว่า ผู้ใดเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต และ
                          ให้อภัยในสัตว์ทั้งปวง ข้าพเจ้าขอถามความข้อนั้นกะท่าน ผู้นั้นจุติจาก
                          โลกนี้แล้วจะได้ความสุขอะไร?
             [๑๙๖๕] 	ข้าพเจ้าขอบอกว่า ผู้ใดเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต และให้อภัยในสัตว์
                          ทั้งปวง ผู้นั้นย่อมได้รับความสรรเสริญในปัจจุบัน และเมื่อตายไปย่อม
                          ไปสู่สวรรค์.
             [๑๙๖๖] 	สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวว่า เทวดาทั้งหลายไม่มี ชีพย่อมเข้าถึงความ
                          เป็นต่างๆ กันในโลกนี้ ผลของกรรมดีและกรรมชั่วก็เหมือนกัน และ
                          กล่าวว่า ทานอันคนโง่บัญญัติไว้ ข้าพเจ้าเชื่อถ้อยคำของพระอรหันต์
                          เหล่านั้น ฉะนั้น จึงเบียดเบียนนกทั้งหลาย.
             [๑๙๖๗] 	ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ เห็นกันได้ง่ายๆ ส่องสว่างไปในอากาศ
                          ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ นั้น อยู่ในโลกนี้หรือในโลกอื่น สมณ-
                          พราหมณ์เหล่านั้น กล่าวถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ในมนุษยโลกอย่างไร
                          หรือ?
             [๑๙๖๘] 	ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ เห็นกันได้ง่ายๆ ส่องสว่างไปในอากาศ
                          ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ นั้น มีอยู่ในโลกอื่น ไม่มีในโลกนี้ สมณ-
                          พราหมณ์เหล่านั้น กล่าวถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ว่า เป็นเทวดาในมนุษย-
                          โลก.
             [๑๙๖๙] 	สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าหาเหตุมิได้ ไม่กล่าวถึงกรรม ไม่กล่าว
                          ถึงผลแห่งกรรมดี กรรมชั่ว และกล่าวถึงทานว่าคนโง่บัญญัติไว้ สมณ-
                          พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีวาทะเลวทราม ถูกท่านกำจัดเสียแล้ว เพราะ
                          การพยากรณ์นี้แหละ.
             [๑๙๗๐] 	คำของท่านนี้เป็นคำจริงแท้ทีเดียว ไฉนทานจะไม่พึงมีผลเล่า ผลของ
                          กรรมดีกรรมชั่ว ก็เหมือนกัน ไฉนจะไม่มีผล อนึ่ง ทานนี้จะว่าคนโง่
                          บัญญัติขึ้นอย่างไรได้ ดูกรพญานกยูง ข้าพเจ้าจะทำอย่างไร จะทำอะไร
                          ประพฤติอะไร เสพสมาคมอะไร ด้วยตบะคุณอะไร อย่างไรจึงจะไม่
                          ต้องไปตกนรก ขอท่านจงบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด?
             [๑๙๗๑] 	มีสมณะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง นุ่งห่มผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด ประพฤติเป็นผู้ไม่มี
                          เรือน เที่ยวไปบิณฑบาตในเวลาเช้าในกาล เว้นจากการเที่ยวไปในเวลา
                          วิกาล ผู้สงบระงับ มีอยู่ในแผ่นดินนี้แน่. ท่านจงเข้าไปหาสมณะเหล่า
                          นั้นในเวลาอันควร ณ ที่นั้น แล้วจงถามข้อความตามความพอใจของ
                          ท่าน สมณะเหล่านั้นก็จะชี้แจงประโยชน์โลกนี้และโลกหน้าให้แก่ท่าน
                          ตามความรู้ความเห็น.
             [๑๙๗๒] 	ความเป็นพรานนี้ เราละได้แล้ว เหมือนงูลอกคราบเก่าของตน หรือ
                          เหมือนต้นไม้ อันเขียวชะอุ่ม ผลัดใบเหลืองทิ้งฉะนั้น วันนี้เราละความ
                          ความเป็นพรานได้.
             [๑๙๗๓] 	อนึ่ง มีนกเหล่าใดที่เราขังไว้ในนิเวศน์ประมาณหลายร้อย วันนี้เราให้
                          ชีวิตแก่นกเหล่านั้น ขอนกเหล่านั้นจงพ้นจากการกักขัง ไปสู่สถานที่อยู่
                          เดิมของตนเถิด.
             [๑๙๗๔] 	นายพรานถือบ่วงเที่ยวไปในราวป่า เพื่อดักพญานกยูงตัวเรืองยศ ครั้น
                          ดักพญานกยูงตัวเรืองยศได้แล้ว ก็ได้พ้นจากทุกข์เหมือนเราพ้นแล้ว
                          ฉะนั้น.
จบ มหาโมรชาดกที่ ๘.
๙. ตัจฉกสูกรชาดก
ว่าด้วยหมูพร้อมใจกันสู้เสือ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๗๖๐๕-๗๖๕๙ หน้าที่ ๓๓๙-๓๔๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=7605&Z=7659&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1961&items=14&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=1961&items=14              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=1961&items=14&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=1961&items=14&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1961              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]