ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๘๐๘] 	การที่ท่านเศร้าโศกถึงลูกเนื้อผู้ละไปแล้ว เป็นการไม่สมควรแก่ท่านผู้
                          หลีกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต สงบระงับ.
             [๘๐๙] 	ดูกรท้าวสักกะ ความรักของมนุษย์ หรือเนื้อ ย่อมเกิดขึ้นในใจ เพราะ
                          อยู่ร่วมกันมา มนุษย์ หรือเนื้อนั้น อาตมภาพไม่สามารถที่จะไม่เศร้าโศก
                          ถึงได้.
             [๘๑๐] 	ชนเหล่าใด มาร้องไห้รำพัน บ่นเพ้อถึงผู้ตายไปแล้ว และผู้จะตายอยู่
                          ณ บัดนี้ การร้องไห้ของชนเหล่านั้น สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า เปล่า
                          จากประโยชน์ ดูกรฤาษี เพราะฉะนั้น ท่านอย่าร้องไห้เลย.
             [๘๑๑] 	ดูกรพราหมณ์ ผู้ที่ตายไปแล้ว ละไปแล้ว หากจะพึงกลับเป็นขึ้นได้
                          เพราะการร้องไห้ เราก็จะประชุมกันทั้งหมดร้องไห้ ถึงพวกญาติของ
                          กันและกัน.
             [๘๑๒] 	มหาบพิตร มารดอาตมภาพผู้เดือดร้อนยิ่งนักให้หายร้อน ดับความกระ
                          วนกระวายได้ทั้งสิ้น เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟติดที่เปรียงให้ดับ ฉะนั้น
                          มหาบพิตรมาถอนลูกศรคือความโศกที่เสียบแน่นอยู่ในหทัยของอาตมภาพ
                          ออกได้แล้วหนอ เมื่ออาตมภาพถูกความโศกครอบงำ มหาบพิตรก็ได้
                          บรรเทาความโศกถึงบุตรเสียได้ ดูกรท้าววาสวะ อาตมภาพเป็นผู้ถอนลูก
                          ศรออกได้แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก ไม่มีความมัวหมอง
                          อาตมภาพจะไม่เศร้าโศกร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อยคำของมหาบพิตร.
จบ มิคโปตกชาดกที่ ๒.
๓. มูสิกชาดก
ควรเรียนทุกอย่างแต่ไม่ควรใช้ทุกอย่าง

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๓๗๔๑-๓๗๖๑ หน้าที่ ๑๗๘-๑๗๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=3741&Z=3761&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=808&items=5&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=808&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=808&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=808&items=5&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=808              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]