ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๘๖๙] 	ท่านเป็นใครหนอ มีผิวพรรณดำ ไม่น่ารักน่าดูเลย ท่านเป็นใคร หรือ
                          เป็นธิดาของใคร จะรู้จักท่านได้อย่างไร?
             [๘๗๐] 	ฉันเป็นธิดาของท้าวมหาราชนามว่าวิรูปักษ์ เป็นหญิงดุร้าย เป็นหญิงกาฬี
                          ไม่มีบุญ ทวยเทพรู้จักเราว่า เป็นหญิงกาฬกรรณี ฉันขอพักอาศัยอยู่
                          ในสำนักของท่านสักราตรีหนึ่ง ขอท่านจงให้โอกาสเถิด.
             [๘๗๑] 	ท่านตั้งใจมั่นอยู่ในบุรุษผู้มีศีล มีสมาจารเช่นไร แน่ะนางกาฬี เราถาม
                          ท่าน ท่านจงบอกเรา เราจะรู้จักท่านได้อย่างไร?
             [๘๗๒] 	บุรุษใด ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอท่าน แข่งดี ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด
                          และได้ทรัพย์มาแล้ว ย่อมพินาศหมดไป บุรุษนั้น เป็นที่รักใคร่ของเรา.
             [๘๗๓] 	บุรุษใด เป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธไว้ ส่อเสียด ยุยงให้แตกกัน มีวาจา
                          กระด้าง หยาบคาย บุรุษนั้น เป็นที่รักใคร่ของฉันยิ่งกว่าบุรุษคนก่อน
                          นั้นอีก.
             [๘๗๔] 	บุรุษไม่รู้จักประโยชน์ของตนว่า กรรมนี้ควรทำวันนี้ กรรมนี้ควรทำ
                          พรุ่งนี้ เป็นคนสำคัญตนว่า ดีกว่าเขา เมื่อถูกตักเตือนก็โกรธเคือง.
             [๘๗๕] 	บุรุษผู้อันความคะนองในกามคุณครอบงำเป็นนิตย์ ย่อมเสื่อมจากมิตร
                          ทุกคน บุรุษนั้น เป็นที่รักใคร่ของฉัน ถ้าฉันได้บุรุษเช่นนั้นแล้ว จะไม่
                          เกี่ยวข้องในบุรุษอื่นเลย.
             [๘๗๖] 	แน่ะนางกาฬี เจ้าจงหลีกไปเสียจากที่นี้ อุปกิเลสมีความลบหลู่เป็นต้น
                          ที่กระทำความรักใคร่ของเจ้านั้น ไม่มีในเรา เจ้าจงไปยังชนบท นิคม
                          และราชธานีอื่นเสียเถิด.
             [๘๗๗] 	แม้ฉันก็รู้จักสิ่งที่ทำความพอใจให้แก่ฉัน มีความลบหลู่คุณท่านเป็นตน
                          นี้ว่า ไม่มีอยู่ในท่าน คนไร้ปัญญามีอยู่ในโลก ย่อมรวบรวมเอาทรัพย์
                          ไว้มากมาย ฉัน และพี่ของฉัน ผู้เป็นเทพบุตร ทั้งสองคนจะช่วยกัน
                          กำจัดทรัพย์ที่คนไม่มีปัญญารวบรวมไว้เสียก็ได้.
             [๘๗๘] 	ท่านเป็นใครหนอ มีรัศมีเป็นทิพย์ ยืนอยู่ที่แผ่นดินอย่างเรียบร้อย ท่าน
                          เป็นใคร หรือเป็นธิดาของใคร เราจะรู้จักท่านอย่างไร.
             [๘๗๙] 	ดิฉันเป็นธิดาของท้าวมหาราชนามว่าธตรฐ ผู้มีสิริ ข้าพเจ้ามีสิริด้วย มี
                          บุญด้วย ทวยเทพรู้จักข้าพเจ้าว่า มีปัญญาดุจแผ่นดิน ดิฉันขอพัก
                          อาศัยอยู่ในสำนักของท่านสักราตรีหนึ่ง ขอท่านจงให้โอกาสเถิด.
             [๘๘๐] 	ท่านตั้งใจมั่นอยู่ในบุรุษผู้มีศีล มีสมาจารเช่นไร แน่ะนางลักขี ข้าพเจ้า
                          ถามท่าน ท่านจงบอกข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะรู้จักท่านได้อย่างไร?
             [๘๘๑] 	บุรุษใด เมื่อหนาว ร้อน ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน
                          มีอยู่ ก็ครอบงำความหิวความกระหายทั้งหมด ประกอบการงานทั้งหลาย
                          มิได้ขาด ทั้งกลางคืนกลางวัน ไม่ทำประโยชน์ที่มาถึงตามกาลให้เสื่อม
                          เสียไป บุรุษนั้น เป็นที่พอใจของดิฉัน ดิฉันตั้งใจมั่นอยู่ในบุรุษนั้น.
             [๘๘๒] 	อนึ่ง บุรุษใด เป็นคนไม่โกรธ มีมิตรดี ชอบบริจาคทาน มีศีล ไม่
                          โอ้อวด เป็นคนตรง สงเคราะห์มิตร มีวาจาอ่อนหวานไพเราะ แม้ได้
                          รับแต่งตั้งเป็นใหญ่โต ก็ยังประพฤติถ่อมตนอยู่ ดิฉันพอใจในบุรุษนั้น
                          เป็นอย่างมาก ดุจคลื่นทะเลปรากฏแก่คนที่มองดูสีน้ำทะเลเหมือนมีมาก
                          ฉะนั้น.
             [๘๘๓] 	อนึ่ง บุรุษใด ประพฤติสังคหธรรม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ในมิตร
                          หรือผู้ที่มิใช่มิตร ในคนที่ประเสริฐกว่า คนที่เสมอกัน หรือคนที่เลว
                          กว่า คนที่ประพฤติประโยชน์ หรือคนที่ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
                          ไม่กล่าววาจาหยาบคายในกาลไหนๆ ดิฉันจะขอคบบุรุษนั้น ทั้งเมื่อ
                          เขาตายแล้วและเป็นอยู่.
             [๘๘๔] 	บุรุษใด เป็นคนไม่มีปัญญา ปรารถนาสิริที่คนพอใจ ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง
                          บรรดาคุณตามที่กล่าวมาแล้วนี้ แล้วลืมเสีย ดิฉันขอเว้นบุรุษนั้น
                          ผู้ประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ เป็นเหตุเดือดร้อน เหมือนบุคคลเว้นหลุ่มคูถ
                          ห่างไกล ฉะนั้น.
             [๘๘๕] 	บุคคลย่อมทำความดี และความชั่วด้วยตนเอง คนอื่นจะทำความดี หรือ
                          ความชั่วให้แก่คนอื่นไม่ได้เลย.
จบ สิริกาฬกัณณิชาดกที่ ๗.
๘. กุกกุฏชาดก
ผลของการไม่เชื่อง่าย

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๓๙๕๔-๔๐๐๗ หน้าที่ ๑๘๘-๑๙๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=3954&Z=4007&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=869&items=17&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=27&item=869&items=17              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=27&item=869&items=17&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=27&item=869&items=17&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=869              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_27 https://84000.org/tipitaka/english/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]