บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
๒. สังกิจจชาดก สังกิจจฤาษีแสดงธรรมและอธรรมแก่พระเจ้าพรหมทัตต์ [๙๐] ลำดับนั้น คนเฝ้าสวนเห็นพระเจ้าพรหมทัตต์ จอมทัพ ประทับนั่งอยู่ ได้กราบทูลแด่ท้าวเธอว่า สังกิจจฤาษีที่พระองค์ทรงพระกรุณา ซึ่งยกย่อง กันว่าได้ดีแล้วในหมู่ฤาษีทั้งหลายมาถึงแล้ว เชิญพระองค์รีบเสด็จออก ไปพบท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่โดยเร็วเถิด ก็ลำดับนั้น พระราชาผู้ จอมทัพอันมิตรและอำมาตย์ล้อมแล้ว เสด็จขึ้นรถอันเทียมด้วยม้า อาชาไนยรีบเสด็จไป พระราชาผู้ทรงบำรุงแคว้นของชาวกาสีให้เจริญ ทรงเปลื้องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง คือ พัดวาลวิชนีอุณหิส พระขรรค์ เศวตฉัตรและฉลองพระบาทวางไว้แล้ว เสด็จลงจากรถ ทรงดำเนินเข้า ไปหาสังกิจจฤาษี ผู้นั่งอยู่ในพระราชอุทยานอันมีนามว่านายปัสสะ ครั้น เสด็จเข้าไปหาแล้วก็ทรงบันเทิงอยู่กับฤาษี ครั้นทรงสนทนาปราศรัยพอ ให้ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นประทับนั่ง แล้ว ลำดับนั้นได้ทรงสำคัญกาลอยู่ แต่นั้นทรงปฏิบัติ เพื่อจะตรัสถาม กรรมอันเป็นบาป จึงตรัสว่า ข้าพเจ้าขอถามท่านสังกิจจฤาษีผู้ได้รับ ยกย่องว่า ได้ดีแล้วในหมู่ฤาษีทั้งหลาย อันหมู่ฤาษีทั้งหลายห้อมล้อม นั่งอยู่ ในทายปัสสะอุทยานว่า นรชนผู้ประพฤติล่วงธรรม (เหมือน) ข้าพเจ้าประพฤติล่วงธรรมแล้วไปสู่คติอะไรในปรโลก ข้าพเจ้าถามแล้ว ได้โปรดบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า. [๙๑] สังกิจจฤาษี ได้กล่าวตอบพระราชาผู้บำรุงแคว้นของชาวกาสีให้เจริญ ประทับนั่งอยู่ในทายปัสสะอุทยานว่า ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตร ทรงฟังอาตมภาพ ถ้าเมื่อบุคคลเว้นทางผิด ทำตามคำของบุคคลผู้บอก ทางถูก โจรผู้เป็นเสี้ยนหนามก็ไม่พึงพบหน้าของบุคคลนั้น เมื่อบุคคล ปฏิบัติอธรรม แต่ถ้ากระทำตามคำของบุคคลผู้พร่ำสอนธรรม บุคคลนั้น ไม่พึงไปสู่ทุคติ. [๙๒] ขอถวายพระพร ธรรมเป็นทางถูก ส่วนอธรรมเป็นทางผิด อธรรม ย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ นรชนผู้ประพฤติอธรรม มีความ เป็นอยู่ไม่สม่ำเสมอ ละโลกนี้แล้วย่อมไปสู่คติใด อาตมภาพจะกล่าว คติ คือ นรกเหล่านั้น ขอพระองค์ทรงสดับอาตมภาพเถิด นรก ๘ ขุมนี้ คือ สัญชีวนรก ๑ กาฬสุตตนรก ๑ สังฆาตนรก ๑ โรรุว- นรก ๑ มหาโรรุวนรก ๑ ต่อมาถึงมหาอเวจีนรก ๑ ตาปนนรก ๑ ปตาปนนรก ๑ อันบัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้แล้ว ก้าวล่วงได้ยาก เกลื่อนกล่นไปด้วยเหล่าสัตว์ ผู้มีกรรมหยาบช้าเฉพาะขุมหนึ่งๆ มี อุสสทนรก ๑๖ ขุมเป็นที่ทำบุคคลผู้กระด้างให้เร่าร้อน น่ากลัว มีเปลว เพลิงรุ่งโรจน์ มีภัยใหญ่ขนลุกขนพอง น่าสะพรึงกลัว มีภัยรอบข้าง เป็น ทุกข์ มี ๔ มุม ๔ ประตู จัดแบ่งไว้เป็นส่วนๆ มีกำแพงเหล็กกั้น โดยรอบมีฝาเหล็กครอบ ภาคพื้นของนรกเหล่านั้นล้วนแต่เหล็กแดงลุก โพลง ประกอบด้วยเปลวไฟ แผ่ไปตลอด ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ ทุกเมื่อ สัตว์ทั้งหลายมีเท้าในเบื้องบน มีศีรษะในเบื้องต่ำ ตกลงไปใน นรกนั้น สัตว์เหล่าใดกล่าวล่วงเกินฤาษีทั้งหลายผู้สำรวมแล้ว ผู้มีตบะ สัตว์เหล่านั้นผู้มีความเจริญอันขจัดแล้ว ย่อมหมกไหม้อยู่ในนรก เหมือนปลาที่ถูกเฉือนให้เป็นส่วนๆ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้มีปรกติ กระทำกรรมอันหยาบช้า มีตัวถูกไฟไหม้ทั้งข้างในข้างนอกเป็นนิจ แสวงหาประตูออกจากนรก ก็ไม่พบประตูที่จะออกตลอดปีนับไม่ถ้วน สัตว์เหล่านั้นวิ่งไปทางประตูด้านหน้า จากประตูด้านหน้า วิ่งกลับมา ข้างหลัง วิ่งไปทางประตูด้านซ้าย จากประตูด้านซ้ายวิ่งกลับมาทาง ประตูด้านขวา วิ่งไปถึงประตูใดๆ ประตูนั้นๆ ก็ปิดเสีย สัตว์ทั้งหลายผู้ไปสู่นรก ย่อมประคองแขนคร่ำครวญเสวยทุกข์ มิใช่น้อย นับได้แสนปีเป็นอันมาก เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่ควร รุกรานท่านที่เป็นคนดี ผู้สำรวม มีตบะธรรม ซึ่งเป็นดังอสรพิษมีเดช กำเริบร้ายล่วงได้ยาก ฉะนั้นพระเจ้าอัชชุนะ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นเกตกะ มีพระกายกำยำ เป็นนายขมังธนู มีพระหัตถ์ตั้งพัน มีมูลอันขาดแล้ว เพราะประทุษร้ายพระฤาษีโคตมโคตร พระเจ้าทัณฑกีได้เอาธุลีโปรยรด กีสวัจฉะฤาษี ผู้หาธุลีมิได้ พระราชานั้นถึงแล้วซึ่งความพินาศ ดุจต้น ตาลขาดแล้วจากรากฉะนั้น พระเจ้าเมชฌะคิดประทุษร้ายในมาตังคะฤาษี ผู้เรืองยศรัฐมณฑลของพระเจ้าเมชฌะ พร้อมด้วยบริษัทก็สูญสิ้นไปใน ครั้งนั้น ชาวเมืองอันธกวินทัย ประทุษร้ายกัณหทีปายนฤาษีช่วยกันเอา ไม้พลองรุมตีจนตาย ก็ไปเกิดในยมสาธนนรก ส่วนพระเจ้าเจติยราชนี้ ได้ประทุษร้ายกปิลดาบส แต่ก่อนเคยเหาะเหินเดินอากาศได้ ภายหลัง เสื่อมฤทธิ์ ถูกแผ่นดินสูบถึงมรณกาล เพราะเหตุนั้นแล บัณฑิตทั้งหลาย จึงไม่สรรเสริญการลุอำนาจแห่งฉันทาคติเป็นต้น บุคคลไม่ควรเป็นผู้มี จิตประทุษร้าย พึงกล่าววาจาอันประกอบด้วยสัจจะ ถ้าว่านรชนผู้ใดมีใจ ประทุษร้าย เพ่งเล็งท่านผู้รู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ นรชนผู้นั้นก็ ไปสู่นรกเบื้องต่ำ ชนเหล่าใดพยายามกล่าววาจาหยาบคาย บริภาษบุคคล ผู้เจริญทั้งหลาย ชนเหล่านั้นไม่ใช่เหล่ากอไม่ใช่ทายาท เป็นเหมือนต้น ตาลมีรากอันขาดแล้ว อนึ่ง ผู้ใดฆ่าบรรพชิตผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ผู้แสวงหา คุณอันยิ่งใหญ่ ผู้นั้นจะต้องหมกไหม้อยู่ในกาฬสุตตนรกตลอดกาลนาน อนึ่ง พระราชาพระองค์ใดตั้งอยู่ในอธรรม กำจัดชาวแว่นแคว้น ทำชาว ชนบทให้เดือดร้อน สิ้นพระชนม์ไปแล้ว จะต้องหมกไหม้อยู่ในตาปนนรก ในโลกหน้า และพระราชาพระองค์นั้นจะต้องหมกไหม้อยู่ตลอดแสนปี ทิพย์ อันกองเพลิงห้อมล้อมเสวยทุกขเวทนา เปลวไฟมีรัศมีซ่านออกจาก กายของสัตว์นั้น สรรพางค์กายพร้อมทั้งปลายขนและเล็บ ของสัตว์ผู้มีไฟ เป็นภักษา มีเปลวไฟเป็นอันเดียวกัน สัตว์นรกมีตัวถูกไฟไหม้ทั้งข้างใน ข้างนอกอยู่เป็นนิตย์ เป็นผู้อันทุกข์เบียดเบียนร้องไห้คร่ำครวญอยู่ เหมือนช้างถูกนายหัตถาจารย์แทงด้วยขอ ฉะนั้น ผู้ใดเป็นคนต่ำช้า ฆ่า บิดาเพราะความโลภหรือเพราะความโกรธ ผู้นั้นต้องหมกไหม้อยู่ในกาฬ สุตตนรกสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ฆ่าบิดาเช่นนั้น ต้องหมกไหม้อยู่ในโลหกุม- ภีนรก นายนิริยบาลทั้งหลายเอาหอกแทงสัตว์นรกนั้น ผู้ถูกไฟไหม้อยู่จน จนไม่มีหนัง ทำให้ตาบอดให้กินมูตรกินคูถ กดสัตว์นรกเช่นนั้นให้จม ลงในน้ำแสบ นายนิริยบาลทั้งหลาย ให้สัตว์นรกกินก้อนคูถที่ร้อนจัด และก้อนเหล็กแดงอันลุกโพลงให้ถือผานทั้งยาวทั้งร้อนสิ้นกาลนาน งัด ปากให้อ้าแล้วเอาเชือกผูกไว้ ยัดก้อนเหล็กแดงเข้าไปในปาก ฝูงสุนัข แดง ฝูงสุนัขด่าง ฝูงแร้ง ฝูงกา และฝูงนกตระกรุม ล้วนมีปากเป็น เหล็ก มากลุ้มรุมจิกกัดลิ้นให้ขาดแล้วกินลิ้นอันมีเลือดไหล เหมือนกิน ของอันเป็นเดนเต็มไปด้วยเลือดฉะนั้น นายนิริยบาลเที่ยวเดินทุบตีสัตว์ นรกผู้ฆ่าบิดานั้น ซึ่งมีร่างกายอันแตกไปทั่ว เหมือนผลตาลที่ถูกไฟไหม้ จริงอยู่ ความยินดีของนายนิริยบาลเหล่านั้น เป็นการเล่นสนุก แต่สัตว์ นรกต้องได้รับทุกข์ คนผู้ฆ่าบิดาเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ ต้องอยู่ใน นรกเช่นนั้น ก็บุตรฆ่ามารดา จากโลกนี้แล้วต้องไปสู่ที่อยู่แห่งพระยายม ย่อมเข้าถึงความทุกข์อย่างยิ่งด้วยผลแห่งกรรมของตน พวกนายนิริยบาล ที่ร้ายกาจย่อมบีบคั้นสัตว์ผู้ฆ่ามารดา ด้วยผาลเหล็กแดงบ่อยๆ ให้สัตว์ นรกดื่มกินโลหิตที่เกิดแต่ตน อันไหลออกจากกายของตน ร้อนดังหนึ่ง ทองแดงที่ละลายคว้างบนแผ่นดิน สัตว์นรกนั้นลงไปสู่ห้วงน้ำเช่นกับ หนองและเลือด น่าเกลียดดังซากศพเน่ามีกลิ่นเหม็นดุจก้อนคูถ หมู่ หนอนในห้วงน้ำนั้น มีกายใหญ่มีปากเป็นเหล็กแหลม ทำลายผิวหนัง ชอนไชไปในเนื้อและเลือด กัดกินสัตว์นรกนั้น ก็สัตว์นั้นถึงนรกนั้น แล้วจมลงไปประมาณชั่วร้อยบุรุษ ศพเน่าเหม็นฟุ้งไปตลอดร้อยโยชน์ โดยรอบ จริงอยู่ แม้จักษุของตนผู้มีจักษุย่อมคร่ำคร่าเพราะกลิ่นนั้น ดูกรพระเจ้าพรหมทัตต์ บุคคลผู้ฆ่ามารดาย่อมได้รับทุกข์เห็นปานนี้ พวกหญิงรีดลูกย่อมก้าวล่วงลำธารนรกอันขรุขระ ที่ก้าวล่วงได้แสน ยากดุจคมมีดโกน แล้วตกไปสู่แม่น้ำเวตรณีที่ไปได้ยาก ต้นงิ้ว ทั้งหลายล้วนแต่เป็นเหล็กมีหนาม ๑๖ คุลี มีกิ่งห้อยย้อยปกคลุมแม่น้ำ เวตรณีที่ไปได้ยากทั้งสองฟาก สัตว์นรกเหล่านั้นมีตัวสูงโยชน์หนึ่ง ถูกไฟที่เกิดเองแผดเผา มีเปลวรุ่งเรืองยืนอยู่ดุจกองไฟตั้งอยู่ที่ไกล ฉะนั้น หญิงผู้ประพฤตินอกใจสามีก็ดี ชายที่คบหาภรรยาผู้อื่นก็ดี ต้องตกอยู่ในนรกอันเร่าร้อนมีหนามคม สัตว์นรกเหล่านั้น ถูกนาย นิริยบาลทิ่มแทงด้วยอาวุธ กลับเอาศีรษะลงตกลงมานอนอยู่ ถูก ทิ่มแทงด้วยหลาวเป็นอันมากตื่นอยู่ตลอดกาลทุกเมื่อ ครั้นพอรุ่งสว่าง นายนิริยบาลให้สัตว์นรกนั้นเข้าไปสู่โลหกุมภีอันใหญ่เปรียบดังภูเขามีน้ำ เสมอด้วยไฟอันร้อน บุคคลผู้ทุศีล ถูกโมหะครอบงำ ย่อมเสวย กรรมของตน ที่ตนกระทำไว้ชั่วปางก่อน ตลอดวันตลอดคืนด้วย ประการฉะนี้ อนึ่ง ภริยาใดที่เขาช่วยมาด้วยทรัพย์ย่อมดูหมิ่นสามี แม่ ผัวพ่อผัว หรือพี่น้องผัว นายนิริยบาลเอาเบ็ดมีสายเกี่ยวปลายลิ้นของ หญิงนั้นคร่ามา สัตว์นรกนั้นเห็นลิ้นของตนยาวประมาณ ๑ วา เต็มไป ด้วยหมู่หนอนไม่อาจอ้อนวอนนายนิริยบาล ตายไปหมกไหม้ในตาปน- นรก พวกคนฆ่าแกะ ฆ่าสุกร ฆ่าปลา ดักเนื้อ พวกโจร คนฆ่าโค พวกพราน พวกคนผู้กระทำคุณในเหตุมิใช่คุณ (คนส่อเสียด) ถูกนาย นิริยบาลเบียดเบียนด้วยหอกเหล็ก ค้อนเหล็ก ดาบและลูกศร มีหัวลง ตกลงสู่แม่น้ำแสบคนทำคดีโกง ถูกนายนิริยบาลทุบตีด้วยค้อนเหล็ก ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าแต่นั้นย่อมกินอาเจียนของสัตว์นรกเหล่าอื่นผู้ได้รับ ความทุกข์ทุกเมื่อ ฝูงกาบ้าน ฝูงสุนัข ฝูงแร้ง ฝูงนกป่าล้วนมีปากเหล็ก รุมกัดกินสัตว์นรก ผู้กระทำกรรมหยาบช้าดิ้นรนอยู่ ชนเหล่าใดเป็น อสัตบุรุษ อันธุลีปกปิด ให้เนื้อชนกันตายก็ดี ให้นกตีกันตายก็ดี ชนเหล่านั้นต้องไปตกอุสสทนรก. [๙๓] สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไปสู่เบื้องบน เพราะกรรมที่ตนประพฤติดีแล้วใน โลกนี้ ขอเชิญพระองค์ทอดพระเนตรผลของกรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว เทพเจ้าทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์พระพรหมมีอยู่ ดูกรมหาบพิตรผู้เป็น อธิบดีแห่งรัฐ เพราะเหตุนั้น อาตมภาพขอทูลมหาบพิตร ขอมหาบพิตร จงทรงประพฤติธรรม ดูกรพระราชา เชิญพระองค์ทรงประพฤติธรรม เหมือนอย่างธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง ฉะนั้น.จบ สังกิจจชาดกที่ ๒ ----------------------------------------------------- รวมชาดกในสัฏฐินิบาตนั้น เชิญท่านทั้งหลายฟังภาษิตของข้าพเจ้าในสัฏฐินิบาต (ในนิบาตนี้) มี ๒ ชาดก คือโสณกชาดก ๑ สังกิจจชาดก ๑ ฯจบ สัฏฐินิบาตชาดก. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ บรรทัดที่ ๕๙๕-๗๓๒ หน้าที่ ๒๔-๒๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=28&A=595&Z=732&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=28&item=90&items=4 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=28&item=90&items=4&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=28&item=90&items=4 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=28&item=90&items=4 ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=90 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_28 https://84000.org/tipitaka/english/?index_28
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]