ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๕๑๖] ชื่อว่า มุนี ในคำว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณารู้ว่า  เป็นผู้มีทิฏฐิเป็น
ที่อาศัย ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ฯลฯ  ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหา
เพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่า มุนี. มุนี รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง  ทำให้
เป็นแจ้งแล้วว่า  สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อันอุจเฉททิฏฐิ
อาศัยแล้ว  เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว. คำว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่อง
พิจารณา คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณารู้ว่า  เป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย.
             [๕๑๗] คำว่า รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความวิวาท ความว่า รู้ ทราบ
พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว เป็นผู้พ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ
พ้นวิเศษดี โดยความพ้นวิเศษ เพราะไม่ถือมั่นโดยส่วนเดียว คือ รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง
ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์  ธรรมทั้งปวง
เป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไป
เป็นธรรมดา จึงเป็นผู้พ้นวิเศษ พ้นรอบ พ้นวิเศษดี โดยความพ้นวิเศษเพราะไม่ถือมั่น
โดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว. คำว่า ไม่ถึงความวิวาท ความว่า
ไม่ทำความทะเลาะ ไม่ทำความบาดหมาง ไม่ทำความโต้เถียง ไม่ทำความวิวาท ไม่ทำความ
หมายมั่น.
             สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  ดูกรอัคคิเวสสนะ  ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว
อย่างนี้ ย่อมไม่โต้เถียงกับใครๆ ย่อมไม่วิวาทกับใครๆ ก็เรื่องใดที่เขาพูดกันในโลก ภิกษุ
นั้นก็มิได้ถือมั่นพูดโดยเรื่องนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึง
ความวิวาท.
             [๕๑๘] คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ ในคำว่า เป็นธีรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อย
และภพใหญ่ ความว่า ย่อมไม่ถึงพร้อม ไม่มาถึงพร้อม ไม่ถือเอา ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น
ในภพน้อยและภพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ
ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่อง
เกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ใน
ความเกิดบ่อยๆ ในความไปบ่อยๆ ในความเข้าถึงบ่อยๆ ในปฏิสนธิบ่อยๆ ในความ
บังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพบ่อยๆ. คำว่า เป็นธีรชน คือ เป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิต มีปัญญา
มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นธีรชน
ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          มุนีนั้นมีปัญญาเครื่องพิจารณารู้สมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า เป็นผู้อันทิฏฐิ
                          เข้าไปอาศัย และรู้ว่าเป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว
                          ย่อมไม่ถึงความวิวาท เป็นธีรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่
                          ดังนี้.
จบกลหวิวาทสุตตนิเทสที่ ๑๑.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๖๓๕๐-๖๓๘๔ หน้าที่ ๒๖๗-๒๖๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=6350&Z=6384&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=516&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=516&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=516&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=516&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=516              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]