ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔
[๖๙๙] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหาคุณใหญ่ว่า ภิกษุเห็นอย่างไรแล้ว จึงไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไร ในโลก ย่อมดับ.
ว่าด้วยปุจฉามี ๓ อย่าง
[๗๐๐] ชื่อว่าปุจฉา ในคำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ปุจฉามี ๓ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ๑ ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ๑ วิมติเฉทนาปุจฉา ๑. อทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นไฉน? ลักษณะใดที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่พิจารณา ไม่เทียบเคียง ไม่กระจ่าง ไม่แจ่มแจ้งโดยปกติ บุคคลย่อมถามปัญหาเพื่อจะรู้ เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อ เทียบเคียง เพื่อกระจ่าง เพื่อแจ่มแจ้ง ซึ่งลักษณะนั้น นี้ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา. ทิฏฐสังสันทนาปุจฉาเป็นไฉน? ลักษณะใดที่รู้ เห็น พิจารณา เทียบเคียง กระจ่าง แจ่มแจ้งแล้วโดยปกติ บุคคลย่อมถามเพื่อต้องการสอบสวนลักษณะนั้นกับบัณฑิตอื่นๆ นี้ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา. วิมติเฉทนาปุจฉาเป็นไฉน? บุคคลเป็นผู้แล่นไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัยเป็นสองทาง ว่า เป็นอย่างนี้หรือหนอ หรือไม่เป็นอย่างนี้ เป็นอะไรหนอ หรือเป็นอย่างไร บุคคลนั้นถาม ปัญหาเพื่อต้องการตัดความเคลือบแคลงสงสัย นี้ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา. ปุจฉามี ๓ อย่างนี้. ปุจฉาอีก ๓ อย่าง คือ มนุสสปุจฉา ๑ อมนุสสปุจฉา ๑ นิมมิตปุจฉา ๑. มนุสสปุจฉาเป็นไฉน? มนุษย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อม ทูลถามปัญหา คือ พวกภิกษุย่อมทูลถาม พวกภิกษุณีย่อมทูลถาม พวกอุบาสกย่อมทูลถาม พวกอุบาสิกาย่อมทูลถาม พระราชาย่อมทูลถาม กษัตริย์ย่อมทูลถาม พราหมณ์ย่อมทูลถาม แพศย์ย่อมทูลถาม ศูทรย่อมทูลถาม คฤหัสถ์ย่อมทูลถาม บรรพชิตย่อมทูลถาม นี้ชื่อว่า มนุสสปุจฉา. อมนุสสปุจฉาเป็นไฉน? พวกอมนุษย์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูล ถามปัญหา คือ นาคย่อมทูลถาม ครุฑย่อมทูลถาม ยักษ์ย่อมทูลถาม อสูรย่อมทูลถาม คน ธรรพ์ย่อมทูลถาม ท้าวมหาราชย่อมทูลถาม พระอินทร์ย่อมทูลถาม พรหมย่อมทูลถาม เทวดา ย่อมทูลถาม นี้ชื่อว่า อมนุสสปุจฉา. นิมมิตปุจฉาเป็นไฉน? พระผู้มีพระภาคทรงนิรมิตพระพุทธรูปใด อันสำเร็จด้วยพระ หฤทัย มีอวัยวะครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่วิการ พระพุทธนิมิตนั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสรู้แล้ว ตรัสถามปัญหา พระผู้มีพระภาค ทรงวิสัชนา นี้ชื่อว่า นิมมิตปุจฉา. ปุจฉามี ๓ อย่างนี้. ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงประโยชน์ตน ๑ การถามถึงประโยชน์ผู้อื่น ๑ การ ถามถึงประโยชน์ทั้งสองอย่าง ๑. ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงประโยชน์ในภพนี้ ๑ การถามถึงประโยชน์ใน ภพหน้า ๑ การถามถึงประโยชน์อย่างยิ่ง ๑. ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงประโยชน์ไม่มีโทษ ๑ การถามถึงประโยชน์ไม่มี กิเลส ๑ การถามถึงประโยชน์แห่งธรรมขาว ๑. ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงธรรมส่วนอดีต ๑ การถามถึงธรรมส่วนอนาคต ๑ การถามถึงธรรมส่วนปัจจุบัน ๑. ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงธรรมเป็นภายใน ๑ การถามถึงธรรมเป็นภาย นอก ๑ การถามถึงธรรมทั้งเป็นภายในและภายนอก ๑. ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงกุศลธรรม ๑ การถามถึงอกุศลธรรม ๑ การ ถามถึงอัพยากตธรรม ๑. ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงขันธ์ ๑ การถามถึงธาตุ ๑ การถามถึงอายตนะ ๑. ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงสติปัฏฐาน ๑ การถามถึงสัมมัปปธาน ๑ การ ถามถึงอิทธิบาท ๑. ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงอินทรีย์ ๑ การถามถึงพละ ๑ การถามถึง โพชฌงค์ ๑. ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงมรรค ๑ การถามถึงผล ๑ การถามถึงนิพพาน ๑. คำว่า ขอทูลถามพระองค์ ความว่า ขอทูลถาม ขออ้อนวอน ขอเชื้อเชิญ ขอ วิงวอนว่า ขอได้โปรดตรัสบอกธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอทูลถาม พระองค์. คำว่า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ความว่า พระสุริยะ เรียกว่า พระอาทิตย์. พระ อาทิตย์เป็นโคดมโดยโคตร แม้พระผู้มีพระภาค ก็เป็นโคดมโดยพระโคตร. พระผู้มีพระภาค ผู้ปรากฏโดยโคตรพระอาทิตย์ เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้า เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอทูลถามพระองค์ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์.
ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง
[๗๐๑] ชื่อว่า วิเวก ในคำว่า ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหาคุณใหญ่ดังนี้ วิเวกมี ๓ อย่าง คือ กายวิเวก ๑ จิตวิเวก ๑ อุปธิวิเวก ๑. กายวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ เธอเดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่หลีกเร้นผู้เดียว อธิษฐาน จงกรมผู้เดียว ผู้เดียวเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ ผลัดเปลี่ยน อิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา นี้ชื่อว่า กายวิเวก. จิตวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุบรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ บรรลุทุติยฌาน มี จิตสงัดจากวิตกวิจาร บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ บรรลุจตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุข และทุกข์ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตต- *สัญญา บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา บรรลุอากิญ- *จัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มี จิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา (เมื่อภิกษุนั้น) เป็นพระโสดาบัน มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน กับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น เป็นพระสกทาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบๆ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราค- *สังโยชน์เป็นต้นนั้น เป็นพระอนาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กาม- *ราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียดๆ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์ เป็นต้นนั้น เป็นพระอรหันต์ มีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่า จิตวิเวก. อุปธิวิเวกเป็นไฉน? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่า อุปธิ. อมตนิพพาน เรียกว่าอุปธิวิเวก. ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้น ตัณหา เป็นที่สำรอกตัณหา เป็นที่ดับตัณหา เป็นที่ออกไปจากตัณหาเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก. ก็กายวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตวิเวก ย่อมมีแก่ บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมด อุปธิ ถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร. คำว่า สันติ ได้แก่สันตบ้าง สันติบทบ้าง โดยอาการอย่างเดียวกัน ก็สันติบทนั้น นั่นแล คือ อมตนิพพาน ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง .... เป็นที่ออกจากตัณหาเครื่อง ร้อยรัด. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บทใด คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง .... เป็นที่ออกจากตัณหาเครื่องร้อยรัด บทนั้น เป็นความสงบ เป็นธรรมชาติประณีต. อีกอย่างหนึ่ง โดยอาการอื่น ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุความสงบ เพื่อถูกต้องความสงบ เพื่อ ทำให้แจ้งความสงบ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าสันติบท บทสงบ ตาณบท บทที่ ต้านทาน เลณบท บทที่ซ่อนเร้น สรณบท บทที่พึ่ง อภยบท บทไม่มีภัย อัจจุตบท บท ไม่เคลื่อน อมตบท บทไม่ตาย นิพพานบท บทดับตัณหา. คำว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหาคุณใหญ่ คือ ทรง แสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ สมาธิขันธ์ใหญ่ ปัญญาขันธ์ใหญ่ วิมุตติขันธ์ใหญ่ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่. พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งความทำลายกองมืดใหญ่ ความ ทำลายวิปลาสใหญ่ ความถอนลูกศร คือ ตัณหาใหญ่ ความปลดเปลื้องโครงทิฏฐิใหญ่ ความ กำจัดธงคือมานะใหญ่ ความระงับอภิสังขารใหญ่ ความปิดกั้นโอฆะใหญ่ ความปลงภาระใหญ่ ความตัดสังสารวัฏใหญ่ ความดับความเดือดร้อนใหญ่ ความระงับความเร่าร้อนใหญ่ ความยก ขึ้นซึ่งธงคือธรรมใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่. พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อมตนิพพานเป็นปรมัตถ์ ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้อันสัตว์ทั้งหลายที่มีศักดิ์มาก แสวงหา เสาะหา ค้นหาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าเป็นเทวดา ยิ่งกว่าเทวดาประทับอยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหาคุณใหญ่. [๗๐๒] คำว่า ภิกษุเห็นแล้วอย่างไร .... ย่อมดับ ความว่า ภิกษุเห็น พบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งอย่างไร จึงดับ สงบ เข้าไปสงบ เข้าไป สงบวิเศษ ระงับ ซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตี เสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความ ถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวาย ทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวงของตน. คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุที่เป็นกัลยาณปุถุชนหรือภิกษุที่เป็นเสขบุคคล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเห็น อย่างไรแล้ว .... ย่อมดับ. [๗๐๓] คำว่า ไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก ความว่า ไม่ถือมั่น ไม่ยึด ไม่จับ ต้องด้วยอุปาทาน ๔. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุ โลก อายตนโลก. คำว่า สังขารอะไร คือ สังขารอะไร ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก. เพราะฉะนั้น พระพุทธนิมิต นั้นจึงตรัสถามว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหาคุณใหญ่ว่า ภิกษุเห็นอย่างไรแล้วจึงไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรใน โลก ย่อมดับ. [๗๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือ กิเลส ที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะด้วยปัญญา ก็ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อ กำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ.
ว่าด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า
[๗๐๕] คำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือ กิเลส ที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ความว่า ธรรมเครื่องเนิ่น ช้านั่นแหละ ชื่อว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ได้แก่ ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา และส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ทิฏฐิ. รากเหง้าของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหาเป็นไฉน? อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิ มานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเหง้าแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา. รากเหง้าแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิเป็นไฉน? อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิ- *มานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเหง้าแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ. คำว่า ภควา เป็นพระนามเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ภควา ความว่า ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส และเพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงจำแนก พิเศษ ทรงจำแนกเฉพาะซึ่งธรรมรตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำซึ่งที่สุดแห่งภพทั้งหลาย เพราะ อรรถว่า มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะ ป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่ วิเวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาค ทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายนะ ๘ (ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความครอบงำอารมณ์) อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่ง สัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปาณสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มี พระภาคทรงมีส่วนแห่งตถาคตพละ ๑๐ เวสารัชชธรรม ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้ พระนาม ว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตผลในลำดับแห่งอรหัตมรรค) เป็น สัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงแห่งโพธิพฤกษ์ ของพระผู้มี พระภาคทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว. คำว่า พึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง .... อัสมิมานะ ด้วยปัญญา ความว่า ปัญญา เรียกว่า มันตา ได้แก่ความรู้ ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. คำว่า อัสมิมานะ คือ อัสมิมานะ อัสมิฉันทะ อัสมิอนุสัย ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. คำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นราก เหง้าแห่งส่วนธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ความว่า ภิกษุพึงกำจัด สะกัด ดับ สงบ ปราบปราม ระงับ ซึ่งบาปธรรมทั้งปวง คือ กิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรม เครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะ ด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือ กิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะ ด้วยปัญญา. [๗๐๖] คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดโดยทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วน เหลือ. คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา. คำว่า ที่มี ณ ภายใน คือ ตัณหานั้นตั้งขึ้นภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มี ณ ภายใน. อีกอย่างหนึ่ง จิต เรียกว่า ภายใน ได้แก่ จิต มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่วิญญาณขันธ์นั้น. ตัณหานั้น สหรคต เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุต มีความเกิดร่วมกัน มีความดับร่วมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับด้วยจิตคือใจ แม้เพราะฉะนี้ จึงชื่อว่า ที่มี ณ ภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน.
ว่าด้วยผู้มีสติโดยเหตุ ๔
[๗๐๗] คำว่า ในกาลทุกเมื่อ ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดซึ่งตัณหา เหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ ความว่า ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาล เป็นนิตย์ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลนิรันดร์ ตลอดกาลเป็นอันเดียว ตลอดกาลติดต่อ ตลอด กาลเป็นลำดับ ตลอดกาลไม่ขาดระยะ ตลอดกาลไม่มีระหว่าง ตลอดกาลสืบเนื่อง ตลอดกาล ไม่ขาดสาย ตลอดกาลกระชั้นชิด ในกาลก่อนภัต ในกาลหลังภัต ในยามต้น ในยามกลาง ในยามหลัง ในข้างแรม ในข้างขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น ใน ตอนวัยกลาง ในตอนวัยหลัง. คำว่า ผู้มีสติ ได้แก่เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือ เมื่อเจริญ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนา ทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ. เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อีกประการ หนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ เพราะเป็นผู้กระทำธรรมทั้งหลาย ที่ควรทำด้วยสติ เพราะเป็นผู้กำจัดธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมอัน เป็นนิมิตแห่งสติ. เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ ประกอบด้วยสติ เป็นผู้อยู่ด้วยสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วด้วยสติ เพราะเป็นผู้ไม่หวนกลับ จากสติ. เป็นผู้มีสติ โดยเหตุ ๔ อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ระลึกได้ เพราะเป็นผู้สงบ เพราะเป็นผู้ระงับ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ. ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปาณ- *สติ มรณสติ กายคตาสติ อุปสมานุสสติ. ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ ความ ระลึก กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้เรียกว่าสติ. บุคคลเป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสติ. คำว่า พึงศึกษา ได้แก่สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา อธิศีลสิกขาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อม ด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่ตั้ง เป็นเบื้องต้น เป็นเบื้องบาท เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นปาก เป็นประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่า อธิศีลสิกขา. อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ- *ตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา. อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา อันให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา. คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้น ในกาลทุกเมื่อ ความว่า ภิกษุพึงศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง คือ เมื่อนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้ ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึงศึกษา เมื่อเห็นก็พึงศึกษา เมื่อพิจารณาก็พึงศึกษา เมื่อตั้งจิตก็พึงศึกษา เมื่อน้อมใจ เชื่อด้วยศรัทธาก็พึงศึกษา เมื่อประกอบความเพียรก็พึงศึกษา เมื่อเข้าไปตั้งสติก็พึง ศึกษา เมื่อตั้งจิตก็พึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญาก็พึงศึกษา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ ควรรู้ยิ่งก็พึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ก็พึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละก็พึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญก็พึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งก็พึงศึกษา คือ ประพฤติ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติด้วยดี สมาทานประพฤติ เพื่อกำจัด กำจัดเฉพาะ ละ สงบ สละคืน ระงับ ซึ่งตัณหาเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดซึ่ง ตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็น รากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ก็ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา เพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ. [๗๐๘] ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน หรือเป็นภายนอก ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น เพราะการทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่าเป็นความดับกิเลส. [๗๐๙] คำว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน ความว่า ภิกษุพึงรู้ คุณธรรมของตนอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นกุศลธรรม หรือเป็นอัพยากตธรรม. คุณธรรมของตน เป็นไฉน? ภิกษุเป็นผู้ออกบวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุล มีโภคสมบัติมากบ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศกว่าคฤหัสถ์ และบรรพชิตทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงพระวินัยบ้าง เป็นธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง ถือการทรงไตรจีวรเป็น วัตรบ้าง ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง ถือการไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตรบ้าง ถือการไม่นอนเป็นวัตรบ้าง ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ ปฐมฌานบ้าง ได้ทุติยฌานบ้าง ได้ตติยฌานบ้าง ได้จตุตถฌานบ้าง ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ บ้าง ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง ได้เนวสัญญานาสัญญายตน- *สมาบัติบ้าง คุณธรรมเหล่านี้เรียกว่าคุณธรรมของตน. ภิกษุพึงรู้ รู้ทั่ว รู้ชัด รู้แจ่มแจ้ง แทงตลอด ซึ่งคุณธรรมของตนอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน. คำว่า หรือเป็นภายนอก ความว่า คุณธรรมเหล่านั้น เป็นของ พระอุปัชฌายะหรืออาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือเป็นภายนอก. [๗๑๐] คำว่า ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น ความว่า ภิกษุไม่พึงทำความ รุนแรง คือ ไม่พึงทำความกระด้าง ไม่พึงทำความถือตัว ไม่พึงทำความเย่อหยิ่ง ไม่พึงทำความ จองหอง ด้วยคุณธรรมของตน หรือด้วยคุณธรรมของคนเหล่าอื่น ไม่พึงให้ความถือตัวเกิดด้วย คุณธรรมนั้น ไม่พึงเป็นผู้กระด้าง จองหอง หัวสูงด้วยคุณธรรมนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงทำ ความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น. [๗๑๑] คำว่า เพราะทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่าเป็นความดับ กิเลส ความว่า การทำความรุนแรงนั้น อันพระพุทธเจ้า พระพุทธสาวก พระปัจเจกพุทธะ ผู้เป็นสัตบุรุษ ผู้สงบระงับ ไม่กล่าว ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่บัญญัติ ไม่แต่งตั้ง ไม่เปิดเผย ไม่จำแนก ไม่ทำให้ตื้น ไม่ประกาศว่าเป็นความดับกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะการทำความ รุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่าเป็นความดับกิเลส. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสตอบว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน หรือภายนอก ไม่พึงทำ ความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น เพราะการทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบ ทั้งหลายไม่กล่าวว่าเป็นความดับกิเลส. [๗๑๒] ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่าเสมอเขา ด้วย คุณธรรมนั้น ภิกษุผู้เพรียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนก ไม่พึงกำหนด ตนดำรงอยู่.
ว่าด้วยมานะ (ความสำคัญตัว)
[๗๑๓] คำว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา .... ด้วยคุณธรรมนั้น ความว่า ภิกษุไม่พึง ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราเป็นผู้ดีกว่าเขา ด้วยชาติ ด้วยโคตร ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุล ด้วยความเป็นผู้มีรูปงาม ด้วยทรัพย์ ด้วยความเชื้อเชิญ ด้วยหน้าที่การงาน ด้วยหลักวิชา ด้วย วิทยฐานะ ด้วยการศึกษา ด้วยปฏิภาณ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึง สำคัญว่าดีกว่าเขา .... ด้วยคุณธรรมนั้น. [๗๑๔] คำว่า ต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่าเสมอเขา ความว่า ภิกษุไม่พึงยังความถือตัวต่ำ ให้เกิดว่า เราเป็นผู้เลวกว่าเขา ด้วยชาติ ด้วยโคตร ฯลฯ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ ไม่พึงยังความ ถือตัวให้เกิดว่า เราเป็นผู้เสมอเขา ด้วยชาติ ด้วยโคตร ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุล ด้วย ความเป็นผู้มีรูปงาม ด้วยทรัพย์ ด้วยความเชื้อเชิญ ด้วยหน้าที่การงาน ด้วยหลักวิชา ด้วย วิทยฐานะ ด้วยการศึกษา ด้วยปฏิภาณ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่าเสมอเขา. [๗๑๕] คำว่า ผู้เพรียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนก ความว่า ผู้เพรียบพร้อม ห้อมล้อม พรั่งพร้อม ประกอบด้วยอาการหลายอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เพรียบพร้อม ด้วยคุณธรรมเป็นอเนก. [๗๑๖] คำว่า ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่ ความว่า ตนเรียกว่า อาตุมานะ ไม่พึง กำหนด กำหนดวิเศษ ถึงความกำหนดตน ดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงกำหนดตนดำรง อยู่. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขาหรือแม้ว่าเสมอเขา ด้วย คุณธรรมนั้น ภิกษุผู้เพรียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนก ไม่พึงกำหนด ตนดำรงอยู่. [๗๑๗] ภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหละ ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทาง อื่น เมื่อภิกษุสงบกิเลสเป็นภายในแล้ว อัตตทิฏฐิหรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อม ไม่มีแต่ที่ไหนๆ. [๗๑๘] คำว่า ภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหละ ความว่า ภิกษุพึงสงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับ ซึ่งกิเลส เป็นภายใน คือ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความ ผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลา- *ภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหละ. [๗๑๙] คำว่า ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น ความว่า ภิกษุไม่พึงแสวงหา ค้นหา เสาะหา ซึ่งความสงบ ความเข้าไปสงบ ความเข้าไปสงบวิเศษ ความดับ ความระงับโดยทาง แห่งความไม่หมดจด โดยปฏิปทาผิด โดยธรรมไม่เป็นทางแห่งความพ้นทุกข์อย่างอื่นนอกจาก สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น. [๗๒๐] คำว่า เมื่อสงบกิเลสเป็นภายในแล้ว ความว่า เมื่อสงบ เข้าไปสงบ เข้าไป สงบวิเศษ ดับ ระงับ ซึ่งกิเลสเป็นภายใน คือ ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร ทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อสงบกิเลสเป็นภายในแล้ว. [๗๒๑] คำว่า นตฺถิ ในคำว่า อัตตทิฏฐิ หรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อมไม่มีแต่ที่ไหนๆ ดังนี้ เป็นปฏิเสธ. คำว่า อัตตทิฏฐิ คือ สัสสตทิฏฐิก็ไม่มี. คำว่า นิรัตตทิฏฐิ คือ อุจเฉททิฏฐิก็ไม่มี. ความถือว่าตนย่อมไม่มี ความปล่อยว่างไม่มีตนก็ไม่มี. ความถือไม่มีแก่ภิกษุใด ความปล่อยก็ไม่มี แก่ภิกษุนั้น. ความปล่อยไม่มีแก่ภิกษุใด ความถือก็ไม่มีแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ก้าว ล่วงความถือและความปล่อยเสียแล้ว ล่วงเลยความเจริญ และความเสื่อมเสียแล้ว. ภิกษุนั้น อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ ภิกษุนั้นมิได้มีความเกิดใหม่ต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตทิฏฐิ หรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อมไม่มี แต่ที่ไหนๆ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหละ ไม่พึงแสวงหาความสงบโดย ทางอื่น เมื่อภิกษุสงบกิเลสเป็นภายในแล้ว อัตตทิฏฐิ หรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อมไม่มีแต่ที่ไหนๆ. [๗๒๒] คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทรสงบอยู่ ฉันใด ภิกษุพึง เป็นผู้หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหว ฉันนั้น ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่อง ฟูขึ้นในที่ไหนๆ. [๗๒๓] คำว่า คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทรสงบอยู่ ฉันใด ความว่า โดยส่วนลึก สมุทรลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ น้ำข้างล่าง ๔๐,๐๐๐ โยชน์ ย่อมหวั่นไหวเพราะปลา และเต่าทั้งหลาย น้ำข้างบน ๔๐,๐๐๐ โยชน์ ย่อมหวั่นไหวเพราะลม น้ำระหว่างกลาง ๔,๐๐๐ โยชน์ ย่อมไม่หวั่นไหว กำเริบวนไปวนมา ปั่นป่วน ปั่นป่วนพร้อม เป็นสมุทรไม่หวั่นไหว ไม่เกลื่อนกลน ไม่กำเริบ ไม่วน ไม่ป่วน ไม่ปั่น สงบอยู่ คลื่นไม่เกิดในระหว่างกลางแห่งสมุทรนั้น เป็นสมุทรนิ่งอยู่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางสมุทร สมุทร หยุดอยู่ ฉันใด. อีกอย่างหนึ่ง สมุทรสีทันดร มีอยู่ในระหว่างภูเขาทั้ง ๗ น้ำในสมุทรสีทันดรนั้น ย่อมไม่หวั่นไหว กำเริบ วนไปวนมา ปั่นป่วน ปั่นป่วนพร้อม เป็นสมุทรไม่หวั่นไหว ไม่เกลื่อน กลน ไม่กำเริบ ไม่วน ไม่ป่วน ไม่ปั่น สงบอยู่ คลื่นไม่เกิดในสมุทรสีทันดรนั้น เป็นสมุทรนิ่งอยู่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางสมุทร สมุทรหยุดอยู่ ฉันใด. [๗๒๔] คำว่า เอวํ ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหว ฉันนั้น เป็น อุปไมยเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อม. คำว่า เป็นผู้หยุดอยู่ คือ ภิกษุไม่หวั่นไหว กำเริบ วุ่นวาย สะเทือน สะท้าน ปั่นป่วน แม้ในเพราะลาภ แม้ในเพราะความเสื่อมลาภ แม้ในเพราะยศ แม้ ในเพราะความเสื่อมยศ แม้ในเพราะความสรรเสริญ แม้ในเพราะความนินทา แม้ในเพราะสุข แม้ในเพราะทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้หยุดอยู่ ฉันนั้น. ตัณหา เรียกว่าความ หวั่นไหว ในคำว่า ไม่มีความหวั่นไหว ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ตัณหาที่ชื่อว่าความหวั่นไหวนั้น อันภิกษุใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผา เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ภิกษุนั้นเรียกว่า ไม่มีความหวั่นไหว เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหว เสียแล้ว ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความหวั่นไหว. ภิกษุนั้น ย่อมไม่หวั่นไหว วุ่นวาย สะเทือน สะท้าน ปั่นป่วน แม้ในเพราะลาภ .... แม้ในเพราะทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหว ฉันนั้น.
กิเลสเครื่องฟู ๗ ประการ
[๗๒๕] ชื่อว่ากิเลสเครื่องฟูขึ้น ในคำว่า ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นในที่ไหนๆ ได้แก่กิเลสเครื่องฟู ๗ ประการ คือ กิเลสเครื่องฟูขึ้น คือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส กรรม. ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นนั้น ไม่พึงให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้ บังเกิดเฉพาะ. คำว่า ในที่ไหนๆ คือในที่ไหนๆ ในที่ใดๆ ในที่ทุกๆ แห่ง ทั้งภายใน ทั้งภายนอก ทั้งภายในและภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นใน ที่ไหนๆ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทรสงบอยู่ฉันใด ภิกษุพึง เป็นผู้หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหว ฉันนั้น ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่องฟู ขึ้นที่ไหนๆ. [๗๒๖] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ได้ทรงแสดงสักขิธรรมเครื่องกำจัดอันตราย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ พระองค์จงตรัสตอบปฏิปทา คือ ปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ.
ว่าด้วยจักษุ ๕
[๗๒๗] คำว่า ได้ทรงแสดง ในคำว่า พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้งได้ทรง แสดง ความว่า ได้ทรงแสดง แสดงรอบ ตรัสบอก เทศนาบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำ แนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้ทรงแสดงแล้ว. คำว่า ผู้มีพระจักษุ แจ่มแจ้ง ความว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยพระจักษุ ๕ ประการ คือ มีพระ จักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยมังสจักษุ มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพยจักษุ มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วย ปัญญาจักษุ มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยพุทธจักษุ มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยสมันตจักษุ. พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยมังสจักษุอย่างไร? สี ๕ อย่าง คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีดำ และสีขาว มีอยู่ในพระมังสจักษุของพระผู้มีพระภาค. ขนพระเนตรทั้ง หลายตั้งอยู่เฉพาะในที่ใด ที่นั้นมีสีเขียว เขียวสนิท น่าชม น่าดู เหมือนดอกผักตบ. ต่อจาก ที่นั้น มีสีเหลือง เหลืองนวล สีเหมือนทองคำ น่าชม น่าดู เหมือนดอกกรรณิการ์. เบ้า พระเนตรทั้ง ๒ ของพระผู้มีพระภาค มีสีแดง แดงงาม น่าชม น่าดู เหมือนสีปีกแมลงทับ. ที่ท่ามกลางพระเนตร มีสีดำ ดำงาม ไม่หมองมัว สนิท น่าชม น่าดู เหมือนสีสมอดำ (อิฐแก่ไฟ). ต่อจากที่นั้น มีสีขาว ขาวงาม เปล่งปลั่ง ขาวนวล น่าชม น่าดู เหมือนสีดาว ประกายพฤกษ์. พระผู้มีพระภาคมีพระมังสจักษุนั้นเป็นปกติ เนื่องในพระวรกาย เกิดขึ้นเพราะ สุจริตกรรมในภพก่อนจึงทรงเห็นตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบทั้งกลางวันทั้งกลางคือ แม้เมื่อใด มีมืด ประกอบด้วยองค์ ๔ คือพระอาทิตย์อัสดงคตไป ๑ วันอุโบสถมีในกาฬปักษ์ ๑ แนวป่าทึบ ๑ อกาลเมฆใหญ่ตั้งขึ้น ๑ เมื่อนั้น พระผู้มีพระภาคก็ทรงเห็นตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ ในที่มืด ประกอบด้วยองค์ ๔ แม้เห็นปานนี้. ที่หลุมก็ดี บานประตูก็ดี กำแพงก็ดี ภูเขาก็ดี กอไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี เป็นเครื่องบังการเห็นรูปทั้งหลายย่อมไม่มี. หากว่า บุคคลพึงเอางาเมล็ดหนึ่งทำเป็น เครื่องหมายใส่ลงในเกวียนบรรทุกงา พระผู้มีพระภาคก็พึงทรงหยิบเอาเมล็ดงานั้นแหละขึ้นได้. พระมังสจักษุเป็นปกติของพระผู้มีพระภาคบริสุทธิ์อย่างนี้. พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยมังสจักษุอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างไร? พระผู้มีพระภาคย่อมทรง เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตก ยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์ เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสรรค์ ดังนี้ พระผู้มีพระ- *ภาคย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ และทรงทราบหมู่สัตว์ผู้ไปเป็นตามกรรม ด้วยประการดังนี้. ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเมื่อทรงประสงค์ พึงทรงเห็นแม้โลกธาตุหนึ่ง แม้ โลกธาตุสอง แม้โลกธาตุสาม แม้โลกธาตุสี่ แม้โลกธาตุห้า แม้โลกธาตุสิบ แม้โลกธาตุยี่สิบ แม้โลกธาตุสามสิบ แม้โลกธาตุสี่สิบ แม้โลกธาตุห้าสิบ แม้โลกธาตุพันหนึ่งเป็นส่วนเล็ก แม้โลกธาตุสองพันเป็นส่วนปานกลาง แม้โลกธาตุสามพัน แม้โลกธาตุหลายพัน. หรือว่าพระ ผู้มีพระภาคทรงพระประสงค์เท่าใด ก็พึงทรงเห็นเท่านั้น. ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคบริสุทธิ์ อย่างนี้. พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างไร? พระผู้มีพระภาคทรงมี พระปัญญามาก มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญารื่นเริง มีพระปัญญาแล่นไป มีพระปัญญา เฉียบแหลม มีพระปัญญาชำแรกกิเลส ทรงฉลาดในประเภทปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรง บรรลุปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชญาณ ๔ ทรงทสพลญาณ ทรงเป็นบุรุษผู้องอาจ ทรงเป็น บุรุษสีหะ ทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระไปเป็นปกติ มีพระ- *ญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์ มาก มีปัญญาเป็นทรัพย์ เป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ นำเนืองๆ ผู้ให้รู้จักประโยชน์ ผู้ให้เพ่งพิจารณา ผู้เห็นประโยชน์ ผู้ให้แล่นไปด้วยปสาทะ. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงเป็น ผู้ให้มรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ทรงให้มรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดขึ้นพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้ซึ่งมรรค ทรงทราบซึ่งมรรค ทรงฉลาดในมรรค. ก็แหละในบัดนี้ พระ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้ดำเนินตามมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยศีลาทิคุณ ในภายหลัง. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น มี พระจักษุ มีธรรม มีญาณ มีพรหมธรรม ผู้ตรัสบอก ทรงแนะนำ ทรงนำออกซึ่งอรรถ ทรงประ ทานอมตธรรม เป็นธรรมสามี เป็นพระตถาคต. สิ่งที่ไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงทราบ ไม่ ทรงทำให้แจ่มแจ้ง ไม่ทรงถูกต้องด้วยปัญญา ย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น. ธรรม ทั้งปวง รวมทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบันย่อมมาสู่คลองแห่งพระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัส รู้แล้ว โดยอาการทั้งปวง. ชื่อว่าประโยชน์ที่ควรแนะนำทุกๆ อย่างที่ควรรู้มีอยู่ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองอย่าง ประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้า ประโยชน์ ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับ ประโยชน์ที่ปกปิด ประโยชน์ที่ควรแนะนำ ประโยชน์นำไป แล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษ ประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์อันผ่องแผ้ว ประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ. พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระ- *ญาณไม่ขัดข้องในอดีต มีพระญาณไม่ขัดข้องในอนาคต มีพระญาณไม่ขัดข้องในปัจจุบัน กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทั้งหมด ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว บทแห่ง ธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทแห่งธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีส่วนสุดรอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ บทธรรมที่ควรแนะนำมีส่วนสุดรอบแห่งพระ ญาณ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบทแห่งธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่ เกินพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน. เมื่อชั้นผะอบทั้งสองปิดกัน สนิทพอดี ชั้นผะอบข้างล่างก็ไม่เกินชั้นผะอบข้างบน ชั้นผะอบข้างบนก็ไม่เกินชั้นผะอบข้างล่าง ชั้นผะอบทั้งสองชั้น ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็ดี พระญาณก็ดี ของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน บทธรรม ที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระ ญาณมีส่วนสุดรอบแห่งธรรมที่ควรแนะนำ บทแห่งธรรมที่ควรแนะนำก็มีส่วนสุดรอบแห่งพระ ญาณ พระญาณไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่เกินพระ- *ญาณ ธรรมเหล่านั้น ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกันฉันนั้น พระญาณของพระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปรอบในธรรมทั้งปวง. ธรรมทั้งปวงเนื่องด้วยความนึก เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท ของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว. พระญาณของพระผู้มี ย่อมเป็นไปรอบในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุศัย จริต อธิมุตติ พระภาคผู้ตรัสรู้แล้วแห่งสัตว์ทั้งปวง ย่อมทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อย ในปัญญาจักษุ มี กิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำ ได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก เป็นภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ปลาและเต่าทุกชนิด รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละและ ปลาติมิติมิงคละ โดยที่สุด ย่อมเป็นไป ภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ฉันนั้น นกทุกชนิดรวมทั้ง ครุฑเวนไตรโคตร โดยที่สุดย่อมเป็นไปในประเทศอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลาย ผู้เสมอด้วยพระสารีบุตรเถระโดยปัญญา ย่อมเป็นไปในประเทศแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้น. พระ พุทธญาณย่อมแผ่ปกคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. พวกบัณฑิตที่เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ เหมือนนายขมังธนูผู้สามารถ ยิงขนทราย เที่ยวไปดุจทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้น ปรุงแต่งปัญหา แล้วเข้ามาเฝ้าพระตถาคต ทูลถามปัญหา. ปัญหาเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคตรัสย้อนถามและ ตรัสแก้แล้วเป็นปัญหามีเหตุที่ทรงแสดงออก และทรงสลัดออก บัณฑิตเหล่านั้นย่อมเลื่อมใส ต่อพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคย่อมทรงไพโรจน์ยิ่งด้วยพระปัญญาในที่นั้นโดยแท้แล. พระ ผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างไร? พระผู้มีพระภาคเมื่อทรง ตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลส ธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้ โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่. ในกอบัวเขียวก็ดี ในกอบัวแดงก็ดี ในกอบัวขาวก็ดี ดอกบัวเขียวก็ดี ดอกบัวแดงก็ดี ดอกบัวขาวก็ดี บางเหล่า เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเขียวก็ดี ดอกบัว แดงก็ดี ดอกบัวขาวก็ดี บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่เสมอน้ำ ดอกบัวเขียวก็ดี ดอก บัวแดงก็ดี ดอกบัวขาวก็ดี บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ น้ำมิได้ติด แม้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลส ธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยใน ปรโลก ฉันนั้น. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้เป็นราคจริต บุคคลนี้เป็นโทสจริต บุคคลนี้เป็นโมหจริต บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็นญาณจริต. พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต. ย่อมตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่ บุคคลผู้เป็นโทสจริต. ย่อมทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเรียน ในการไต่ถาม ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ในการอยู่ร่วมกับครู. ย่อมตรัสบอก อานาปาณสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต. ย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่ง พระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลายของ ตน อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสแก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต. ย่อมตรัสบอกธรรมอันเป็นนิมิต แห่งวิปัสสนา ซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต. สมจริงดังประพันธคาถาว่า บุรุษยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลา พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบ แม้ฉันใด ข้าแต่ พระผู้มีพระภาคผู้มีปัญญาดี มีจักษุโดยรอบ พระองค์มีความโศกไป ปราศแล้ว ทรงขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม ขอจงทรงพิจารณา เห็นหมู่ชนผู้อาเกียรณ์ด้วยความโศก ถูกชาติชราครอบงำอยู่แล้ว ฉันนั้น. พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างไร? พระสัพพัญญุตญาณ เรียกว่าสมันตจักษุ. พระผู้มีพระภาคไปใกล้ไปไกลดีแล้ว เข้าถึง เข้าถึงดีแล้ว เข้าไปถึง เข้า ไปถึงดีแล้ว ประกอบแล้วด้วยสัพพัญญุตญาณ. สมจริงดังประพันธคาถาว่า สิ่งอะไรๆ ในไตรโลกธาตุนี้ อันพระปัญญาจักษุของพระตถาคตนั้นไม่ เห็น ย่อมไม่มี อนึ่ง ธรรมชาติอะไรๆ ที่ควรรู้ อันพระพุทธญาณไม่ รู้แจ้งย่อมไม่มี ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่ พระตถาคตทรงทราบ แล้วซึ่งธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึง ชื่อ ว่าผู้มีสมันตจักษุ. พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้งได้ทรงแสดงแล้ว.
ว่าด้วยสักขิธรรม
[๗๒๘] คำว่า ซึ่งสักขิธรรม ในคำว่า ซึ่งสักขิธรรม เครื่องกำจัดอันตราย ความว่า ธรรมที่ประจักษ์แก่พระองค์ อันพระองค์ทรงทราบดีเอง มิใช่โดยต้องเชื่อต่อผู้อื่น ว่าธรรมนี้เป็น ดังนี้ ธรรมนี้ เป็นดังนี้มิใช่โดยฟังต่อๆ กันมา มิใช่โดยถือตามลำดับสืบๆ กันมา มิใช่โดย อ้างตำรา มิใช่โดยนึกเดาเอา มิใช่โดยคาดคะเนเอา มิใช่โดยตรึกตามอาการ มิใช่โดยชอบ ว่าควรแก่ทิฏฐิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สักขิธรรม. ชื่อว่าอันตราย ในคำว่า เป็นเครื่อง กำจัดอันตราย ได้แก่อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายปรากฏ ๑ อันตรายปกปิด ๑.
ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง
อันตรายปรากฏเป็นไฉน? ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำกรรมชั่ว และโรคจักษุ โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคใบหู โรคปาก โรคฟัน โรค ไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรค จุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมงคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรค ดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมี เสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแก่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบาก ของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความ สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน อันตรายเหล่านี้เรียกว่าอันตราย ปรากฏ. อันตรายปกปิดเป็นไฉน? กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธไว้ ความลบหลู่คุณท่าน ความตีเสมอ ความริษยา ความ ตระหนี่ มารยา ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความ มัวเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน ทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง อันตรายเหล่านี้เรียกว่า อันตราย ปกปิด. ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่าอะไร จึงชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อ ว่าอันตราย. เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่าอันตราย. เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่ แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตราย. เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่าอันตรายอย่างไร? อันตรายเหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น. เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่าอันตราย อย่างนี้. เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่า อันตรายอย่างไร? อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. อันตรายเหล่านั้น ย่อม เป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่าไหน? อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็น ไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือ ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติ สมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมอัน สมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ ความประกอบเนืองๆ ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไป แห่งกุศลธรรมเหล่านี้. เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่า อันตรายอย่างนี้. เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายอย่างไร? อกุศล- *ธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ เปรียบ เหมือนเหล่าสัตว์ที่อาศัยรูย่อมอยู่ในรู ที่อาศัยน้ำย่อมอยู่ในน้ำ ที่อาศัยป่าย่อมอยู่ในป่า ที่อาศัย ต้นไม้ย่อมอยู่ในต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อม เป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ ฉันนั้น เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศล ธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตรายอย่างนี้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก ผู้อยู่ร่วมกับอาจารย์ ย่อมอยู่ลำบากไม่ผาสุก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก ผู้อยู่ร่วมกับอาจารย์ ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก อย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ เห็นรูปด้วยจักษุอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมซ่านไปภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้ นั้นท่านจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุม ภิกษุนั้น เพราะเหตุนี้นั้น ท่านจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้อยู่ร่วมกับอาจารย์. อีกประการหนึ่ง อกุศล ธรรมอันลามก มีความดำริซ่านไปในอารมณ์อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะได้ ยินเสียงด้วยหู เพราะสูดดมกลิ่นด้วยจมูก เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วย กาย เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมซ่านไปในภายในแห่ง ภิกษุนั้น เพราะเหตุนี้นั้น ท่านจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก อกุศลธรรมอันลามก เหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้อยู่ร่วมกับอาจารย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก ผู้อยู่ร่วมกับอาจารย์ ย่อมอยู่ลำบากไม่ผาสุก อย่างนี้แล เพราะฉะนั้น เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตรายอย่างนี้.
ธรรม ๓ ประการเป็นมลทินภายใน
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้เป็นมลทิน ในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูใน ภายใน ธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน? คือ โลภะเป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน โทสะเป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน โมหะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็น ศัตรูในภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรใน ภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า โลภะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะยังจิตให้กำเริบ โลภะเป็น ภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม ความโลภย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความ มืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น โทสะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะ ยังจิตให้กำเริบ โทสะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัย นั้น คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม ความโกรธ ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น โมหะยัง สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โมหะยังจิตให้กำเริบ โมหะเป็นภัยเกิด ขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คนหลงย่อมไม่รู้อรรถ คน หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความ มืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น. เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายอย่างนี้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อ เกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน? ได้แก่ธรรมคือโลภะแล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิด ขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ธรรมคือโทสะแล เมื่อเกิดขึ้น ในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ธรรมคือโมหะแล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ดูกรมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่ง บุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัดบุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ ฉะนั้น. เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายอย่างนี้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ราคะและโทสะมีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัตภาพนี้ ไม่ยินดีกุศล ยินดีแต่กามคุณ ทำให้ขนลุก วิตกทางใจตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้แล้วผูกจิตไว้ เหมือนพวกเด็กผูกกาที่ข้อเท้าไว้ ฉะนั้น. เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตรายอย่างนี้. คำว่าเป็นเครื่องกำจัดอันตราย คือ เป็นเครื่องกำจัดอันตราย เป็นเครื่องละอันตราย เป็นเครื่องสงบอันตราย เป็นเครื่องสละคืนอันตราย เป็นเครื่องระงับอันตราย เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งสักขิธรรมเป็นเครื่องกำจัดอันตราย. [๗๒๙] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทา ความว่า ขอ พระองค์จงตรัสบอกปฏิปทา คือ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ชี้แจง แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศซึ่งปฏิปทาชอบ ปฏิปทาสมควร ปฏิปทาไม่เป็นข้าศึก ปฏิปทา เป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบ เนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาอันให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทา. พระพุทธนิมิตนั้นทูลพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้วว่า ภทฺทนฺเต. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ภัททันเต ความว่า พระองค์ตรัสบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย ทำให้ตื้น ประกาศแล้วซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นทั้งหมด เป็นธรรมดี เจริญ งาม ไม่มีโทษ ควรซ่องเสพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ของพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทา. [๗๓๐] คำว่า ปาติโมกข์ ในคำว่า ปาติโมกข์หรือแม้สมาธิ ความว่า ศีลเป็นที่ตั้ง เป็นเบื้องบาท เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นปาก เป็นประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วย กุศลธรรมทั้งหลาย. คำว่า หรือแม้สมาธิ ได้แก่ ความตั้งมั่น ความดำรงอยู่ ความตั้งลง ความ ไม่แล่นไป ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความเป็นผู้มีใจอันอะไรๆ ไม่ให้แล่นไปได้ ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คือ ปาติโมกข์หรือแม้สมาธิ. เพราะ เหตุนั้น พระพุทธนิมิตจึงตรัสถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ได้ทรงแสดงสักขิธรรม เครื่อง กำจัดอันตราย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทา คือ ปาติโมกข์หรือแม้สมาธิ. [๗๓๑] ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย พึงป้องกันหูจากคามกถา ไม่พึง ติดใจในรส ไม่พึงยึดถือสังขารอะไรๆ ว่าของเราในโลก.
ว่าด้วยผู้โลเลด้วยจักษุ
[๗๓๒] คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย ความว่า ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วย จักษุอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โลเลด้วยจักษุ ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลด้วย จักษุคิดว่า รูปที่ยังไม่เคยดูเราควรดู รูปที่เคยดูเราควรผ่านไป ดังนี้ เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่ง ความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน สู่อารามแต่อาราม สู่สวนแต่สวน สู่บ้านแต่บ้าน สู่นิคมแต่นิคม สู่นครแต่นคร สู่แว่นแคว้นแต่แว่นแคว้น สู่ชนบทแต่ชนบท เพื่อจะดูรูป ภิกษุ เป็นผู้โลเลด้วยจักษุแม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนเป็นผู้ไม่สำรวมเดินไป คือ แลดูช้าง แลดูม้า แลดูรถ แลดูพลเดินเท้า แลดูสตรี แลดูบุรุษ แลดูกุมาร แลดูกุมารี แลดู ร้านตลอด แลดูหน้ามุขเรือน แลดูข้างบน แลดูข้างล่าง แลดูทิศน้อย ทิศใหญ่ เดินไป ภิกษุเป็นผู้ โลเลด้วยจักษุแม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถืออนุพยัญชนะ ย่อมไม่ ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุแม้อย่างนี้. อนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์บางพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมขวนขวาย ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับ การประโคม มหรสพมีการรำ เป็นต้น การเล่านิยาย เพลงปรบมือ ฆ้องระนาด หนัง เพลงขอทาน เล่นไต่ราว การเล่นหน้าศพ ชนช้าง แข่งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ ชนนกกระทา รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัดกระบวนทัพ กองทัพ ฉันใด ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วย จักษุ แม้ฉันนั้น. ภิกษุไม่เป็นผู้โลเลด้วยจักษุอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไป ตามถนน เป็นผู้สำรวมเดินไป ไม่แลดูช้าง ไม่แลดูม้า ไม่แลดูรถ ไม่แลดูคนเดินเท้า ไม่แลดูสตรี ไม่แลดูบุรุษ ไม่แลดูกุมาร ไม่แลดูกุมารี ไม่แลดูร้านตลาด ไม่แลดูหน้ามุขเรือน ไม่แลดูข้างบน ไม่แลดูข้างล่าง ไม่แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ เดินไป ภิกษุไม่เป็นผู้โลเลด้วยจักษุแม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมลามก คือ อภิชฌาและ โทมนัสครอบงำนั้น ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุไม่เป็นผู้โลเล ด้วยจักษุแม้อย่างนี้. อนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมขวนขวาย ดูการเล่นดันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับ การประโคม มหรสพมีการรำ เป็นต้น การเล่านิยาย ฯลฯ กองทัพ ฉันใด ภิกษุเป็นผู้เว้นขาดจากการขวนขวายในการดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ ภิกษุเป็นผู้ไม่โลเลด้วยจักษุแม้อย่างนี้. คำว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ ความว่า พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ คือ เป็นผู้งดเว้น เว้นขาด ออกไป สลัดออกไป หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ.
ว่าด้วยติรัจฉานกถา
[๗๓๓] ติรัจฉานกถา ๓๒ ประการ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องยาน เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่อง คนกล้า เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้น เรียกว่า คามกถา ในคำว่า พึงป้องกันหู จากคามกถา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จากคามกถา. คำว่า พึงป้องกันหู คือ พึงป้องกัน ห้าม สะกัดกั้น รักษา คุ้มครอง ปิด ตัดขาด ซึ่งหู จากคามกถา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงป้องกันหู จากคามกถา.
ว่าด้วยรสต่างๆ
[๗๓๔] ชื่อว่า รส ในคำว่า ไม่พึงติดใจในรส ได้แก่รสที่ราก รสที่ลำต้น รสที่เปลือก รสที่ใบ รสที่ดอก รสที่ผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ดร้อน รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฟาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน. มีสมณพราหมณ์บางพวก ติดใจในรส เที่ยว แสวงหารสอันเลิศด้วยปลายลิ้น. ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็ แสวงหารสเปรี้ยว ฯลฯ ได้รสเย็นแล้วก็แสวงหารสร้อน ได้รสร้อนแล้วก็แสวงหารสเย็น. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ได้รสใดๆ แล้วย่อมไม่พอใจด้วยรสนั้นๆ ย่อมเที่ยวแสวงหารสอื่นๆ เป็นผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ หลงไหล เกี่ยวข้อง พัวพัน ในรสที่ชอบใจ. ความอยาก ในรสนั้น อันภิกษุใดละ ตัดขาด ฯลฯ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ภิกษุนั้นพิจารณาด้วยปัญญา แล้วย่อมฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อตบแต่ง ไม่ฉันเพื่อประดับ ฉันเพื่อ ดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ อย่างเดียวเท่านั้น ฯลฯ ความอยู่สบายของเราจักมีด้วยอุบายดังนี้. บุคคลทาแผลเพื่อให้แผลหาย หยอดน้ำมันเพลาเกวียนเพื่อจะขนภาระ กินเนื้อบุตรเพื่อจะออกจากทางกันดาร อย่างเดียวเท่านั้น ฉันใด ภิกษุพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว จึงฉันอาหาร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ฉันเพื่อเล่น ฯลฯ ความไม่มีโทษและความอยู่สบายจักมีด้วยอุบายดังนี้ ภิกษุพึงละ บรรเลา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มี ซึ่งความอยากในรส คือ เป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความ อยากในรส พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงติดใจในรส.
ว่าด้วยความถือว่าของเรา
[๗๓๕] ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ในคำว่า ไม่พึงถือสังขารอะไรๆ ว่าของเราในโลก ได้แก่ความถือ ๒ อย่าง คือ ความถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ภิกษุละความถือว่า ของเราด้วยตัณหา สละคืนความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิแล้ว ไม่ถือ ไม่จับ ไม่ยึดถือ ไม่ถือมั่น จักษุว่าของเรา ไม่ถือ ไม่จับ ไม่ยึดถือ ไม่ถือมั่น หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ว่าของเรา. คำว่า สังขารอะไรๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไรๆ. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงถือสังขารอะไรๆ ว่าของเราในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย พึงป้องกันหูจากคามกถา ไม่ พึงติดใจในรส ไม่พึงถือสังขารอะไรๆ ว่าของเราในโลก. [๗๓๖] ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะกระทบเข้าแล้ว เมื่อใด เมื่อนั้น ไม่พึงทำความ รำพันในที่ไหนๆ ไม่พึงปรารถนาภพ และไม่พึงหวั่นไหวในเพราะ ความขลาดกลัว.
ว่าด้วยโรคต่างๆ
[๗๓๗] คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะกระทบเข้าแล้ว เมื่อใด ความว่า ภิกษุพึงเป็น ผู้ถูกผัสสะคือโรคถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบเข้าแล้ว คือเป็นผู้ถูกโรคจักษุ โรคตา โรคจมูก โรคลิ้น โรคทางร่างกาย โรคทางศีรษะ โรคในหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมงคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลม เป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดขึ้นแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดขึ้นแต่การบริหารไม่ สม่ำเสมอ อาพาธเกิดขึ้น แต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดขึ้นแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุก ประกอบเข้าแล้ว เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะกระทบเข้าแล้ว เมื่อใด. [๗๓๘] คำว่า เมื่อนั้น ไม่พึงทำความรำพันในที่ไหนๆ ความว่าภิกษุนั้นไม่ควรทำความ รำพัน ความร่ำไห้ อาการรำพัน อาการพูดถึง ความเป็นผู้รำพัน ความเป็นผู้พูดถึง ความร่ำไร ความเพ้อ ความบอกเล่า อาการที่บอกเล่า ความเป็นผู้บอกเล่า คือ ไม่พึงให้เกิด ไม่ให้เกิด พร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ. คำว่า ในที่ไหนๆ คือ ในที่ไหนๆ ในที่ทุกแห่ง ในภายใน ในภายนอก ทั้งในภายในและภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อนั้น ไม่พึงทำความ รำพันในที่ไหนๆ. [๗๓๙] คำว่า ไม่พึงปรารถนาภพ ความว่า ไม่พึงปรารถนา ไม่พึงปรารถนาทั่ว ไม่พึง ปรารถนาเฉพาะ ซึ่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงปรารถนาภพ.
ว่าด้วยภัยและความขลาดกลัว
[๗๔๐] ชื่อว่า ความขลาดกลัว ในคำว่า และไม่หวั่นไหว ในเพราะความขลาดกลัว ความว่า ภัยก็ดี ความขลาดกลัวก็ดี โดยอาการก็อย่างเดียวกัน. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ภัย ความขลาดกลัวนี้นั้น ย่อมมีมาแน่. ภัยนั้นท่านกล่าวว่ามีวัตถุภายนอกเป็นอารมณ์ คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำกรรมชั่ว. อนึ่ง โดยอาการอื่น ความกลัว กิริยา ที่กลัว ความหวาดหวั่น ความเป็นผู้มีขนลุก อันเกิดแก่จิตในภายใน ความหวาดเสียว ความสะดุ้งแห่งจิต ภัยแต่ชาติ ภัยแต่ชรา ภัยแต่พยาธิ ภัยแต่มรณะ ภัยแต่พระราชา ภัยแต่โจร ภัยแต่ไฟ ภัยแต่น้ำ ภัยแต่ความติเตียนตน ภัยแต่ความติเตียนแห่งผู้อื่น ภัยแต่อาชญา ภัยแต่ ทุคติ ภัยแต่คลื่น ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่วังวน ภัยแต่ปลาร้าย ภัยแต่การเลี้ยงชีพ ภัยแต่ความ ติเตียน ภัยแต่ความครั่นคร้ามในประชุมชน ความขลาด ความหวาดหวั่น ความเป็นผู้มีขนลุก ความหวาดเสียว ความสะดุ้งแห่งจิต เรียกว่าภัย. คำว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว คือ ภิกษุเห็นหรือได้ยินวัตถุที่น่ากลัว ไม่พึงสะดุ้งสะทกสะท้าน หวั่นไหว หวาดเสียว ครั่นคร้าม เกรงกลัว ถึงความสะดุ้งกลัว คือ พึงเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป พึงเป็นผู้ละความกลัวความขลาดเสีย ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุก ขนพองอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความ ขลาดกลัว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะกระทบเข้าแล้ว เมื่อใด เมื่อนั้น ไม่พึงทำความ รำพันในที่ไหนๆ ไม่พึงปรารถนาภพ และไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความ ขลาดกลัว. [๗๔๑] ภิกษุได้แล้วซึ่งข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดี ไม่ควรทำการ สั่งสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง.
ว่าด้วยข้าวน้ำและของควรเคี้ยว
[๗๔๒] คำว่า ข้าว ในคำว่า ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดี ได้แก่ข้าวสุก ขนมกุมมาส สัตตู ปลา เนื้อ คำว่า น้ำ ได้แก่ปานะ ๘ อย่าง คือ น้ำผลมะม่วง น้ำผลหว้า น้ำผลกล้วยมีเมล็ด น้ำผลกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำผลมะซาง น้ำผลจันทน์ น้ำรากบัว น้ำผลลิ้นจี่. ปานะ ๘ อีกอย่างหนึ่ง คือน้ำผลสะคร้อ น้ำผลเล็บเหยี่ยว น้ำผลพุทรา ปานะที่ทำด้วยเปรียง น้ำมัน น้ำข้าวยาคู น้ำนม ปานะที่ทำด้วยรส. คำว่า ของควรเคี้ยว ได้แก่ของควรเคี้ยว ที่ทำ ด้วยแป้ง ของควรเคี้ยวที่ทำเป็นขนม ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยเหง้าไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยเปลือกไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยใบไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยดอกไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยผลไม้. คำว่า ผ้า ได้แก่จีวร ๖ ชนิด คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้ เป็นต้นเจือกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดี.
ว่าด้วยการได้โดยธรรม
[๗๔๓] คำว่า ได้แล้ว ในคำว่า ได้แล้ว ... ไม่ควรทำการสั่งสม ความว่า ได้แล้ว รับแล้ว ได้มาแล้ว ประสบแล้ว ได้เฉพาะแล้ว มิใช่ได้ด้วยความโกหก มิใช่ได้ด้วยความพูด เลียบเคียง มิใช่ได้ด้วยการทำนิมิต มิใช่ได้ด้วยความกำจัดคุณเขา มิใช่ได้ด้วยความแสวงหา ลาภด้วยลาภ มิใช่ได้ด้วยการให้ไม้จริง มิใช่ได้ด้วยการให้ไม้ไผ่ มิใช่ได้ด้วยการให้ใบไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้ดอกไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้ผลไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้เครื่องอาบน้ำ มิใช่ได้ด้วยการให้จุรณ มิใช่ได้ด้วยการให้ดินเหนียว มิใช่ได้ด้วยการให้ไม้สีฟัน มิใช่ได้ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก มิใช่ได้ด้วยคำพูดมุ่งให้เขารักตน มิใช่ได้ด้วยถ้อยคำ เหลาะแหละ มิใช่ได้ด้วยกิริยาประจบเขา มิใช่ได้ด้วยความเป็นผู้นั่งบนตั่ง (ความตีสนิทเขา) มิใช่ได้ด้วยวิชาดูพื้นที่ มิใช่ได้ด้วยดิรัจฉานวิชา มิใช่ได้ด้วยวิชาดูลักษณะ มิใช่ได้ด้วยวิชาดู ฤกษ์ยาม มิใช่ได้ด้วยการเดินเป็นทูต มิใช่ได้ด้วยความเป็นคนรับใช้ มิใช่ได้ด้วยความเป็นผู้ เดินสาส์น มิใช่ได้ด้วยเวชกรรม มิใช่ได้ด้วยเนวกรรม มิใช่ได้ด้วยการให้ก้อนข้าวตอบแทน มิใช่ได้ด้วยการให้และการเพิ่มให้ แต่ว่าได้แล้ว รับแล้ว ได้มาแล้ว ประสบแล้ว ได้เฉพาะ แล้ว โดยธรรมสม่ำเสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้แล้ว. คำว่า ไม่ควรทำการสั่งสม คือ ไม่พึงทำการสั่งสมข้าว การสั่งสมน้ำ การสั่งสมผ้า การสั่งสมยาน การสั่งสมที่นอน การสั่งสมเครื่องหอม การสั่งสมอามิส คือ ไม่ยังการสั่งสม นั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้แล้ว ... ไม่ ควรทำการสั่งสม. [๗๔๔] คำว่า เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง ความว่า ภิกษุไม่พึงตกใจ ตื่นเต้น สะดุ้ง กลัว ถึงความหวาดเสียวไปว่า เราไม่ได้ข้าว ไม่ได้น้ำ ไม่ได้ผ้า ไม่ได้สกุล ไม่ได้คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้ บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้คิลานุปัฏฐาก ไม่เป็นผู้มีชื่อ เสียงปรากฏดังนี้ คือ ภิกษุไม่พึงเป็นผู้ขลาด หวาดเสียว ไม่สะดุ้งกลัว ไม่หนีไป พึงเป็น ผู้ละความกลัวและความขลาดเสีย ปราศจากความเป็นผู้ขนลุกขนพองอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสตอบว่า ภิกษุได้แล้วซึ่งข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดี ไม่ควรทำการ สั่งสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง. [๗๔๕] ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเว้นขาดจากความ คะนอง ไม่พึงประมาทและพึงอยู่ในที่นั่ง ในที่นอนที่มีเสียงน้อย.
ว่าด้วยผู้มีฌาน
[๗๔๖] คำว่า มีฌาน ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยปฐมฌาน พึงเป็นผู้มีฌาน แม้ด้วยทุติยฌาน พึงเป็นผู้มี ฌานแม้ด้วยตติยฌาน พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยจตุตถฌาน พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานมีวิตกวิจาร พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานไม่มีวิตกมีแต่วิจาร พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานไม่มีวิตกไม่มีวิจาร พึงเป็นผู้มีฌาน แม้ด้วยฌานมีปีติ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานไม่มีปีติ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วย ฌานอันสหรคตด้วยปีติ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานอันสหรคตด้วยความแช่มชื่น พึงเป็นผู้มี ฌานแม้ด้วยฌานอันสหรคตด้วยความสุข พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานอันสหรคตด้วยอุเบกขา พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็นสุญญตะ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็นอนิมิตตะ พึงเป็นผู้มี ฌานแม้ด้วยฌานเป็นอัปปณิหิตะ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็นโลกิยะ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ ด้วยฌานเป็นโลกุตระ คือ เป็นผู้ยินดีแล้วในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็น หนึ่ง เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีฌาน.
ว่าด้วยผู้โลเลเพราะเท้า
คำว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าอย่างไร? ภิกษุ บางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือ ประกอบด้วยความโลเลเพราะเท้า เป็นผู้ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน สู่อารามแต่อาราม สู่สวน แต่สวน สู่บ้านแต่บ้าน สู่นิคมแต่นิคม สู่นครแต่นคร สู่แว่นแคว้นแต่แว่นแคว้น สู่ชนบท แต่ชนบท ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยความโลเลเพราะเท้าในภายในสังฆาราม ไม่ใช่ เดินไปเพราะเหตุแห่งประโยชน์ ไม่ใช่เดินไปเพราะเหตุแห่งการทำเป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ เดินไปสู่บริเวณแต่บริเวณ เดินไปสู่วิหารแต่วิหาร เดินไปสู่เรือนมีหลังคาแถบเดียวแต่เรือนมี หลังคาแถบเดียว เดินไปสู่ปราสาทแต่ปราสาท เดินไปสู่เรือนหลังคาโล้นแต่เรือนหลังคาโล้น เดินไปสู่ถ้ำแต่ถ้ำ เดินไปสู่ที่หลีกเร้นแต่ที่หลีกเร้น เดินไปสู่กุฎีแต่กุฎี เดินไปสู่เรือนยอดแต่ เรือนยอด เดินไปสู่ป้อมแต่ป้อม เดินไปสู่โรงปะรำแต่โรงปะรำ เดินไปสู่เรือนที่พักแต่เรือน ที่พัก เดินไปสู่เรือนที่เก็บของแต่เรือนที่เก็บของ เดินไปสู่โรงฉันแต่โรงฉัน เดินไปสู่โรงกลม แต่โรงกลม เดินไปสู่โคนต้นไม้แต่โคนต้นไม้ หรือเดินไปในสถานที่ที่ภิกษุทั้งหลายนั่งกัน เธอ เป็นที่สองของภิกษุรูปหนึ่ง เป็นที่สามของภิกษุสองรูป เป็นที่สี่ของภิกษุสามรูป ย่อมพูดเรื่อง เพ้อเจ้อมากในที่นั้นๆ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร ... เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความ เสื่อมด้วยประการนั้นๆ ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้อย่างนี้. คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือ พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ ประพฤติเอื้อเฟื้อ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ ไป รักษา บำรุง เยียวยา. ภิกษุนั้นพึงเป็น ผู้ชอบในความสงัด ยินดีในความสงัด ขวนขวายในความสงบจิต ณ ภายใน ไม่เหินห่างจาก ฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่างเปล่า เป็นผู้มีฌาน ยินดีในฌาน ขวน ขวายในความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า. [๗๔๗] คำว่า ความคะนอง ในคำว่า พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท ความว่า แม้ความคะนองมือ ความคะนองเท้า ความคะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษ ว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษ ว่าไม่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้ รำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ นี้เรียกว่า ความรำคาญ.
ว่าด้วยความรำคาญเกิดเพราะเหตุ ๒ ประการ
อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒ ประการ คือ เพราะกระทำและไม่กระทำ ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างไร? ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความ กลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต เราไม่ได้ทำ วจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ได้ทำมโนสุจริต เราทำปาณาติบาต เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่อง งดเว้นจากปาณาติบาต เราทำอทินนาทาน เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เรา ทำกาเมสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำมุสาวาท เราไม่ได้ ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท เราทำปิสุณาวาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจาก ปิสุณาวาจา เราทำผรุสวาจา เราทำไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา เราไม่ได้ทำอนภิชฌา เราทำ พยาบาท เราไม่ได้ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ เราไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ ความรำคาญ ความ เดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำและไม่กระทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เรา เป็นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในศีล เราเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณใน โภชนะ เราเป็นผู้ไม่ได้ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่ได้ประกอบด้วยสติ สัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญ อริยมรรคมีองค์ ๘ เราไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญมรรค เราไม่ได้ ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ. คำว่า พึงเว้นจากความคะนอง ความว่า พึงงด เว้น เว้นขาด จากความคะนอง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งความคะนอง คือ พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง กับความคะนอง พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเว้นจากความคะนอง.
ว่าด้วยความไม่ประมาท
คำว่า ไม่พึงประมาท ความว่า พึงเป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด มีความ ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ ไม่ประมาท ในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. ความ พอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ ความระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว ความเพียรอันพึงตั้งไว้ ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรมนั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้ บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาท ในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. ความพอใจ ความพยายาม ... ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรมนั้นว่า เมื่อไรเราพึงยังสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์ ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. ความพอใจ ความ พยายาม ... ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรมนั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญาดังนี้ ชื่อว่าความไม่ ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. ความพอใจ ความพยายาม ... ความประกอบเนืองๆ ในกุศล- *ธรรมนั้นว่า เมื่อไรเราพึงยังวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์วิมุตติขันธ์ ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. ความพอใจ ความพยายาม ... ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรมนั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ ความระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความเพียรเป็น เครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว ความเพียรอันพึงตั้งใจ ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรม นั้นว่า เมื่อไร เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้ เราพึงละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ เราพึงยังมรรคที่ยังไม่เจริญให้เจริญ หรือว่าเราพึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้งดังนี้ ชื่อว่า ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท. [๗๔๘] บทว่า อถ ในคำว่า และภิกษุพึงอยู่ในที่นั่ง ในที่นอน ที่มีเสียงน้อย เป็น บทสนธิ ฯลฯ ภิกษุย่อมนั่งในที่ใด ที่นั้นเรียกว่าที่นั่ง ได้แก่ เตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดหญ้า เครื่องลาดใบไม้ เครื่องลาดฟาง. เสนาสนะ เรียกว่าที่นอน ได้แก่วิหาร เรือน หลังคาแถบเดียว ปราสาท เรือนมีหลังคาโล้น ถ้ำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในที่นั่ง ในที่นอน. คำว่า ภิกษุพึงอยู่ ... ที่มีเสียงน้อย ความว่า ภิกษุพึงเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา ในเสนาสนะที่มีเสียงน้อย คือ มีเสียงกึกก้องน้อย ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และภิกษุพึงอยู่ ในที่นั่ง ในที่นอน ที่มีเสียงน้อย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาทและพึงอยู่ในที่นั่ง ในที่นอนที่มีเสียงน้อย. [๗๔๙] ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก พึงมีความเพียร ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรม อันเป็นไปกับด้วยการประดับ.
ว่าด้วยการแบ่งเวลา
[๗๕๐] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก ความว่า ภิกษุพึงแบ่งกลางคืนและ กลางวันให้เป็น ๖ ส่วนแล้ว ตื่นอยู่ ๕ ส่วน นอนหลับ ๑ ส่วน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ ไม่พึงทำความหลับให้มาก. [๗๕๑] คำว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน พึงชำระ จิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี พึงสำเร็จสีหไสยา (นอนเหมือนราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี. คำว่า ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น คือ พึงซ่องเสพ ซ่องเสพพร้อม ซ่องเสพเฉพาะ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น. คำว่า มีความเพียร ความว่า วิริยะเรียกว่าความเพียร ได้แก่การปรารภความเพียร ความก้าวออก ความก้าวหน้า ความย่างขึ้นไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความ มั่นคง ความทรงไว้ ความก้าวหน้ามิได้ย่อหย่อน ความไม่ปลงฉันทะ ความไม่ทอดธุระ ความ ประคองธุระไว้ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันเป็นไปทางจิต ภิกษุเป็นผู้เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ ภิกษุนั้นเรียกว่า มีความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น.
ว่าด้วยความเกียจคร้าน
[๗๕๒] ชื่อว่า ความเกียจคร้าน ในคำว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความหลง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับด้วยการประดับ ได้แก่ความเกียจคร้าน กิริยาที่ เกียจคร้าน ความเป็นผู้เกียจคร้าน ความเป็นผู้มีใจเกียจคร้าน ความขี้เกียจ กิริยาที่ขี้เกียจ ความเป็นคนขี้เกียจ นี้เรียกว่าความเกียจคร้าน. คำว่า ความลวง ความว่า ความประพฤติลวง เรียกว่าความลวง. บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจแล้ว ตั้งความปรารถนาลามกเพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น คือ ย่อมปรารถนา ว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา (ว่าเราประพฤติชั่ว) ย่อมดำริว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา คิดว่า ใครๆ อย่ารู้จัก เรา ดังนี้แล้ว กล่าววาจา (ว่าตนไม่มีความประพฤติชั่ว) คิดว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา ดังนี้แล้ว ก็บากบั่นด้วยกาย. ความลวง ความเป็นผู้ลวง กิริยาเป็นเครื่องปิดบัง กิริยาที่ซ่อนความจริง กิริยา ที่บังความผิด กิริยาที่ปิดความผิด กิริยาที่เลี่ยงความผิด กิริยาที่หลบความผิด กิริยาที่ซ่อนความชั่ว กิริยาที่พรางความชั่ว กิริยาที่บังความชั่ว กิริยาที่ปกปิดความชั่ว ความทำให้ลับ ความไม่เปิดเผย กิริยาที่คลุมความผิด กิริยาที่ชั่ว นี้เรียกว่าความลวง.
ว่าด้วยการเล่น ๒ อย่าง
คำว่า ความหัวเราะ ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมหัวเราะเกินประมาณจนฟัน ปรากฏ. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหัวเราะเกินประมาณจนฟัน ปรากฏนี้เป็นกิริยาของเด็ก ในอริยวินัย ชื่อว่า การเล่น ได้แก่การเล่น ๒ อย่าง คือ การเล่น ทางกาย ๑ การเล่นทางวาจา ๑. การเล่นทางกายเป็นไฉน? ชนทั้งหลายย่อมเล่นช้างบ้าง เล่นม้า บ้าง เล่นรถบ้าง เล่นธนูบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๑๐ ตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาด ให้เห็นรูปต่างๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อยๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นกังหันบ้าง เล่นตวงทรายบ้าง เล่นรถน้อยๆ บ้าง เล่นธนูน้อยๆ บ้าง เล่นเขียนทายกันบ้าง เล่นทายใจกันบ้าง เล่นเลียนคนขอทานบ้าง นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย. การเล่นทางวาจาเป็นไฉน? เล่นตีกลองปาก เล่นพิณพาทย์ปาก เล่นรัวกลองด้วยปาก เล่นผิวปาก เล่นกะเดาะปาก เล่นเป่าปาก เล่นซ้อมเพลง เล่นโห่ร้อง เล่นร้องเพลง เล่นหัวเราะ กัน นี้ชื่อว่าการเล่นทางวาจา.
ว่าด้วยเมถุน
ชื่อว่าเมถุนธรรม ได้แก่ธรรมของอสัตบุรุษ ธรรมของชาวบ้าน ธรรมของคนเลว ธรรมชั่วหยาบ ธรรมมีน้ำชำระเป็นส่วนสุด ธรรมที่ทำในที่ลับ ธรรมเป็นความถึงพร้อมแห่งคน คู่ๆ กัน. เพราะเหตุไรบัณฑิตจึงกล่าวว่า เมถุนธรรม. ธรรมของคนคู่กันผู้กำหนัด กำหนัดนัก ผู้ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะครอบงำ เป็นคนเช่นเดียวกันทั้งสองคน เพราะ เหตุดังนี้นั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เมถุนธรรม. คนสองคนทำความทะเลาะกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนทำความหมายหมั้นกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนทำความอื้อฉาว เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนทำความวิวาทกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนก่ออธิกรณ์กัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสอง คนพูดกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนปราศรัยกัน เรียกว่าคนคู่กัน ฉันใด ธรรมของคนคู่กัน ผู้กำหนัด กำหนัดนัก ผู้ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะครอบงำ เป็นคนเช่นเดียว กันทั้ง ๒ คน เพราะเหตุดังนี้นั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เมถุนธรรม ฉันนั้น.
ว่าด้วยการประดับ ๒ อย่าง
ชื่อว่าการประดับ ได้แก่การประดับมีอยู่ ๒ อย่าง คือการประดับของคฤหัสถ์ ๑ การประดับของบรรพชิต ๑. การประดับของคฤหัสถ์เป็นไฉน? การแต่งผม การแต่งหนวด การทัดดอกไม้ การประพรมเครื่องหอม การย้อมผิว การแต่งเครื่องประดับ การแต่งเครื่องแต่งตัว การนุ่งห่มผ้าสวยงาม การประดับข้อมือ การทรงผ้าโพก การอบตัว การนวดตัว การอาบน้ำ การดัดตัว การส่องกระจก การแต้มตา การสวมพวงดอกไม้ การทาปาก การเจิมหน้า การผูกข้อมือ การเกล้าผม การใช้ไม้เท้า การใช้ทะนาน การใช้ดาบ การใช้ร่ม การสวมรองเท้าที่งาม การ สวมเขียงเท้า การติดกรอบหน้า การปักปิ่น การใช้พัด การนุ่งห่มผ้าขาว การนุ่งห่มผ้าชายยาว นี้ชื่อว่าการประดับของคฤหัสถ์. การประดับของบรรพชิตเป็นไฉน? การตบแต่งจีวร การตบแต่งบาตร หรือการตบแต่ง การประดับ การเล่นสนุกในการประดับ การเพลินในการประดับ การปรารถนาในการประดับ ความชอบในการประดับ กิริยาที่ประดับ ความเป็นแห่งการประดับ ซึ่งกายอันเปื่อยเน่านี้ หรือ บริขารทั้งหลายอันเป็นภายนอก นี้ชื่อว่าการประดับของบรรพชิต. คำว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็น ไปกับด้วยการประดับ ความว่า พึงละเว้น บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับด้วยการประดับ คือ ทั้งบริวาร ทั้งบริภัณฑ์ ทั้งบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความลวง ความ หัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับด้วยการประดับ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง ตรัสตอบว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก พึงมีความเพียร ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรม อันเป็นไปกับด้วยการประดับ. [๗๕๓] ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ ไม่พึงซ่องเสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค.
ว่าด้วยการทำอาถรรพณ์
[๗๕๔] คำว่า ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทาย ลักษณะ และการดูฤกษ์ ความว่า พวกคนที่มีมนต์ทำอาถรรพณ์ย่อมประกอบการทำอาถรรพณ์ คือ เมื่อนครถูกล้อม หรือเมื่อสงครามตั้งประชิดกัน ย่อมทำให้เสนียดจัญไรเกิดขึ้น ให้อุปัทวะ เกิดขึ้น ให้โรคเกิดขึ้น ให้โรคจุกเสียดเกิดขึ้น ให้โรคลงรากเกิดขึ้น ให้โรคไข้เซื่องซึมเกิดขึ้น ให้โรคบิดเกิดขึ้น ในพวกข้าศึกที่เป็นศัตรูกัน พวกชนที่มีมนต์ทำอาถรรพณ์ ย่อมประกอบการ ทำอาถรรพณ์อย่างนี้.
ว่าด้วยการทำนายฝัน
พวกชนที่ทำนายฝัน ย่อมทำนายฝันว่า คนฝันเวลาเช้า จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเวลาเที่ยง จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเวลาเย็น จะมีผลอย่างนี้ คนฝันยามต้น จะมีผลอย่างนี้ คนฝันยามกลาง จะมีผลอย่างนี้ คนฝันยามหลัง จะมีผลอย่างนี้ คนนอนข้างขวาฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนนอน ข้างซ้ายฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนนอนหงายฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนนอนคว่ำฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นพระจันทร์ จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นพระอาทิตย์ จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นมหาสมุทร จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นขุนเขาสิเนรุราช จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นช้าง จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นม้า จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นรถ จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นพลเดินเท้า จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นหมู่เสนา จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นป่า ที่น่ารื่นรมย์ จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นสระที่น่า รื่นรมย์ จะมีผลอย่างนี้ พวกชนที่ทำนายฝัน ย่อมทำนายฝันอย่างนี้.
ว่าด้วยการทำนายลักษณะ
พวกชนที่ทำนายลักษณะ ย่อมทำนายลักษณะ คือ ลักษณะแก้ว ลักษณะไม้เท้า ลักษณะผ้า ลักษณะดาบ ลักษณะศร ลักษณะธนู ลักษณะอาวุธ ลักษณะสตรี ลักษณะบุรุษ ลักษณะกุมารี ลักษณะกุมาร ลักษณะทาสี ลักษณะทาส ลักษณะช้าง ลักษณะม้า ลักษณะกระบือ ลักษณะโค ลักษณะแพะ ลักษณะแกะ ลักษณะไก่ ลักษณะนกคุ่ม ลักษณะเหี้ย ลักษณะช่อฟ้า ลักษณะเต่า ลักษณะมฤค พวกชนที่ทำนายลักษณะย่อมทำนายลักษณะอย่างนี้.
ว่าด้วยการดูฤกษ์
พวกชนที่ดูฤกษ์ ย่อมตรวจดูฤกษ์ว่า ฤกษ์มีอยู่ ๒๘ ฤกษ์ งานมงคลขึ้นบ้านใหม่ พึงทำโดยฤกษ์นี้ งานมงคลผูกเครื่องประดับ พึงทำโดยฤกษ์นี้ งานมงคลแต่งงาน พึงทำโดย ฤกษ์นี้ งานมงคลปลูกพืช พึงทำโดยฤกษ์นี้ งานมงคลอยู่เรือน พึงทำโดยฤกษ์นี้ พวกชนผู้ดู ฤกษ์ ย่อมตรวจดูฤกษ์อย่างนี้. คำว่า ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ ความว่า ไม่พึงประกอบ คือ ไม่พึงประพฤติ ไม่พึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงยึดถือประพฤติ ซึ่งการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทายลักษณะและการดูฤกษ์. อีกอย่างหนึ่ง ไม่ควรยึด ไม่ควรถือ ไม่ควรทรงจำไว้ ไม่ควรเข้าไปทรงจำไว้ ไม่ควรเข้าไปกำหนด ไม่ควรประกอบ ซึ่งการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์.
ว่าด้วยการทำนายเสียงเนื้อและนก
[๗๕๕] เสียงเนื้อและเสียงนก เรียกว่าเสียงร้อง ในคำว่า ภิกษุผู้นับถือไม่พึงซ่อง เสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค ความว่า พวกชนที่รู้เสียงเนื้อ และนก ย่อมทำนายเสียงเนื้อและนก คือ ย่อมรู้เสียงร้อง เสียงเจรจากัน แห่งนกหรือสัตว์สี่เท้า พวกชนที่รู้เสียงเนื้อและนก ย่อมทำนายเสียงเนื้อและนกอย่างนี้.
ว่าด้วยครรภ์ไม่ตั้งด้วยเหตุ ๒ ประการ
พวกชนปรุงยาให้ตั้งครรภ์ ย่อมยังครรภ์ให้ตั้งขึ้น ครรภ์ย่อมไม่ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยเหล่าตัวสัตว์ ๑ ด้วยลมกำเริบ ๑. พวกชนที่ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ ย่อมให้ยา เพื่อบำบัดเหล่าตัวสัตว์ หรือเพื่อบำบัดลมกำเริบ พวกชนที่ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ ย่อมยังครรภ์ให้ตั้ง ขึ้นอย่างนี้.
ว่าด้วยการรักษาโรค
ชื่อว่าการรักษาโรค ได้แก่การรักษาโรค ๕ อย่าง คือรักษาทางเศกเป่า รักษาทางผ่าตัด รักษาทางยา รักษาทางภูตผี รักษาทางกุมาร. คำว่า ภิกษุผู้นับถือ คือ ภิกษุผู้นับถือพระพุทธเจ้า ผู้นับถือพระธรรม ผู้นับถือพระสงฆ์ ภิกษุผู้นับถือนั้น ย่อมนับถือพระผู้มีพระภาค หรือว่าพระ ผู้มีพระภาคย่อมทรงรับบุคคลนั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เหล่าใดเป็นผู้หลอกลวง กระด้าง พูดเหลาะแหละ ชอบตกแต่ง มีมานะสูง เหมือนไม้อ้อ ไม่มีสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ไม่นับถือเรา เป็นผู้ปราศไปจากธรรม วินัยนี้ และย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุ เหล่าใด เป็นผู้ไม่หลอกลวง ไม่พูดเหลาะแหละ มีปัญญา ไม่กระด้าง มีสมาธิดี ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้นับถือเรา เป็นผู้ไม่ปราศไปจากธรรมวินัย และย่อมถึงความ เจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า พวกภิกษุผู้หลอกลวง กระด้าง พูดเหลาะแหละ มีมานะสูง ดังไม้อ้อ ไม่มีสมาธิ ภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่งอกงามในธรรมวินัยที่พระสัมมาสัม- พุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ส่วนพวกภิกษุผู้ไม่หลอกลวง ไม่พูดเหลาะ- แหละ มีปัญญา ไม่กระด้าง มีสมาธิดี ภิกษุเหล่านั้น ย่อมงอกงาม ในธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว. คำว่า ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงซ่องเสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และ การรักษาโรค ความว่า ภิกษุผู้นับถือไม่พึงเสพ ไม่พึงซ่องเสพ ไม่พึงซ่องเสพเฉพาะ ไม่พึง ประพฤติ ไม่พึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงยึดถือประพฤติ ซึ่งการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุง ยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค. อีกอย่างหนึ่ง ไม่พึงยึด ไม่พึงถือ ไม่พึงทรงไว้ ไม่พึงเข้า ไปทรงไว้ ไม่พึงเข้าไปกำหนด ไม่พึงประกอบ ซึ่งการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงซ่องเสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทาย ลักษณะ และการดูฤกษ์ ไม่พึงซ่องเสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุง ยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค. [๗๕๖] ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ถูกเขาสรรเสริญแล้ว ไม่พึง ฟูขึ้น พึงบรรเทาความโลภ พร้อมกับความตระหนี่ ความโกรธ และ การพูดส่อเสียด.
ว่าด้วยไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ
[๗๕๗] คำว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ความว่า คนบางพวกในโลกนี้ ย่อมนินทา ติเตียน ค่อนขอดภิกษุโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง โดยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง โดยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง โดยทรัพย์บ้าง โดยความเชื้อเชิญบ้าง โดยหน้าที่การงานบ้าง โดย ศิลปศาสตร์บ้าง โดยวิทยฐานะบ้าง โดยการศึกษาบ้าง โดยปฏิภาณบ้าง โดยวัตถุอื่นๆ บ้าง. ภิกษุถูกนินทาติเตียนค่อนขอดแล้ว ไม่พึงหวั่น หวั่นไหว เอนเอียง สะดุ้ง ดิ้นรน กระวน กระวาย กลัว ถึงความหวาดเสียว คือ ไม่พึงเป็นผู้ขลาด ครั่นคร้าม หวาดเสียว หนีไป ใน เพราะความนินทา ติเตียน ค่อนขอด เสื่อมเสียเกียรติ ถูกกล่าวโทษพึงเป็นผู้ละความกลัว ความขลาด ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพองอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงหวั่นไหวใน เพราะความนินทา. [๗๕๘] คำว่า ภิกษุถูกเขาสรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น ความว่า คนบางพวกในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณภิกษุโดยชาติบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอื่นๆ บ้าง. ภิกษุ ถูกเขาสรรเสริญ ชมเชย ยกย่องพรรณนาคุณแล้ว ไม่ควรทำความฟูขึ้น ไม่ควรทำความกำเริบ ขึ้น ไม่ควรทำความถือตัว ไม่ควรทำความกระด้าง คือ ไม่ควรเป็นผู้จองหอง เป็นผู้ปั้นปึ่ง เป็น ผู้หัวสูง เพราะความสรรเสริญ เพราะความชมเชย เพราะความยกย่อง เพราะความพรรณนาคุณ เพราะฉะนั้น. จึงชื่อว่าภิกษุถูกเขาสรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น.
ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ ประการ
[๗๕๙] ชื่อว่า ความโลภ ในคำว่า พึงบรรเทาความโลภพร้อมกับความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด ได้แก่ความโลภ กิริยาที่โลภ ความกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ชื่อว่าความตระหนี่ คือ ความ ตระหนี่ ๕ ประการ ได้แก่ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความหวงไว้ นี้เรียกว่าความตระหนี่ ชื่อว่าความโกรธ คือ ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความ เป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความโกรธจนร้องไห้ ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต. คำว่า ความพูดส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือ ได้ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือได้ฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลาย คนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกันบ้าง ชอบคนที่เป็นก๊กกัน ยินดีคนที่เป็นก๊ก กัน เพลินกับคนที่เป็นก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีวาจา ส่อเสียด. อีกอย่างหนึ่งบุคคลย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยความ มุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน ๑ บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความ มุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร? บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เรา จักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นผู้สนิท เป็นคนภายใน เป็นที่ดีใจของบุคคลนี้. บุคคลเป็นผู้มี ความประสงค์ ให้เขาแตกกัน นำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างไร? บุคคลมีความประสงค์ให้เขาแตกกัน อย่างนี้ว่า คนเหล่านี้พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน เป็นสองเหล่า เป็นสองพวก เป็น สองฝ่าย คนเหล่านี้ พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบากไม่ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไร ดังนี้ บุคคลเป็นผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน นำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างหนึ่ง. คำว่า พึงบรรเทาความโลภ พร้อมกับความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด ความว่า ภิกษุพึงบรรเทา พึงสละ กำจัด ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโลภ ความ ตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงบรรเทาความโลภ พร้อม กับความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ถูกเขาสรรเสริญ แล้วไม่พึง ฟูขึ้น พึงบรรเทาความโลภ พร้อมกับความตระหนี่ ความโกรธ และ การพูดส่อเสียด. [๗๖๐] ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอดใน ที่ไหนๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน และไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะ ความอยากได้ลาภ. [๗๖๑] คำว่า ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ความว่า การซื้อการขายเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคตรัสห้ามไว้ในวินัย การซื้อการขายเหล่านั้นมิได้ทรงพระประสงค์เอาในอรรถนี้. ภิกษุตั้งอยู่ในการซื้อการขายอย่างไร? ภิกษุทำความลวง หรือปรารถนาความเจริญ ย่อมแลกเปลี่ยน บาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขารอื่นอะไรๆ ก็ดี กับสหธรรมิก ๕ จำพวก ภิกษุตั้งอยู่ในการซื้อการขาย อย่างนี้. ภิกษุไม่ตั้งอยู่ในการซื้อขายอย่างไร? ภิกษุไม่ทำความลวง หรือไม่ปรารถนาความ เจริญ ย่อมแลกเปลี่ยนบาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขารอื่นอะไรๆ ก็ดี กับสหธรรมิก ๕ จำพวก ภิกษุไม่ตั้งอยู่ในการซื้อการขายอย่างนี้. คำว่า ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ความว่า ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ ไม่พึงดำรงอยู่ในการซื้อการขาย พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มี ซึ่งการซื้อการขาย พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออกไป สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง กับการซื้อการขาย พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงตั้งอยู่ ในการซื้อการขาย.
ว่าด้วยกิเลส
[๗๖๒] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอดในที่ไหนๆ ความว่า กิเลส เป็นเครื่องทำความค่อนขอดเป็นไฉน? มีสมณพราหมณ์บางพวก ผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จัก จิตผู้อื่น สมณพราหมณ์พวกนั้น คนเห็นได้แต่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง รู้จักจิตด้วยจิต บ้าง. พวกเทวดาผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จักจิตผู้อื่น เทวดาพวกนั้น คนเห็นได้แต่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง รู้จักจิตด้วยจิตบ้าง สมณพราหมณ์และเทวดาเหล่านั้น ย่อมค่อนขอด ด้วยกิเลสหยาบบ้าง ด้วยกิเลสปานกลางบ้าง ด้วยกิเลสละเอียดบ้าง. กิเลสหยาบเป็นไฉน? กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เหล่านี้เรียกว่า กิเลสหยาบ. กิเลสปานกลางเป็นไฉน? กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เหล่านี้เรียกว่า กิเลสปานกลาง. กิเลสละเอียดเป็น ไฉน? ความวิตกถึงญาติ ความวิตกถึงชนบท ความวิตกถึงอมรเทพ ความวิตกอันปฏิสังยุต ด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น ความวิตกอันปฏิสังยุตด้วยลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ความวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น วิตกเหล่านี้ เรียกว่ากิเลสละเอียด. สมณพราหมณ์และเทวดาเหล่านั้น พึงค่อนขอดด้วยกิเลสหยาบบ้าง ด้วยกิเลสปาน กลางบ้าง ด้วยกิเลสละเอียดบ้าง. ภิกษุไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอด คือไม่ควรทำกิเลส ทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความค่อนขอด ไม่ควรยังกิเลสเหล่านั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้ บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสทั้งหลายอัน เป็นเครื่องทำความค่อนขอด พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออกไป สลัด พ้นขาด ไม่ เกี่ยวข้องด้วยกิเลสอันเป็นเครื่องทำความค่อนขอด พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ คำว่า ใน ที่ไหนๆ คือ ในที่ไหนๆ ในที่ทุกๆ แห่ง ภายในบ้าง ภายนอกบ้าง ทั้งภายในและภาย นอกบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอดในที่ไหนๆ. [๗๖๓] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้านดังต่อไปนี้ ภิกษุย่อมเกี่ยว ข้องในบ้านอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอยู่เกี่ยวข้อง ร่วมยินดี ร่วมเศร้าโศก กับ พวกคฤหัสถ์ในบ้าน เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุขก็สุขด้วย มีทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อมีธุรกิจที่ต้องทำ เกิดขึ้น ก็ถึงความช่วยเหลือด้วยตน ภิกษุย่อมเกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง เวลาเช้า ภิกษุนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังบ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษา กาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต ไม่ตั้งสติมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอย่อมเกี่ยวข้องในที่นั้นๆ ย่อมรับในที่นั้นๆ ย่อมติดอยู่ในที่นั้นๆ ถึงความฉิบหายในที่นั้นๆ ภิกษุย่อมเกี่ยวข้องใน บ้านแม้อย่างนี้. ภิกษุย่อมไม่เกี่ยวข้องในบ้านอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่อยู่เกี่ยว ข้อง ไม่ร่วมยินดี ไม่ร่วมเศร้าโศก กับพวกคฤหัสถ์ในบ้าน เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุขก็ไม่สุข ด้วย มีทุกข์ก็ไม่ทุกข์ด้วย เมื่อมีธุรกิจที่ต้องทำเกิดขึ้น ก็ไม่ถึงความช่วยเหลือด้วยตน ภิกษุ ย่อมไม่เกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง เวลาเช้าภิกษุนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังบ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต ตั้งสติมั่น สำรวม อินทรีย์ ย่อมไม่เกี่ยวข้องในที่นั้นๆ ย่อมไม่รับในที่นั้นๆ ย่อมไม่ติดอยู่ในที่นั้นๆ ไม่ถึง ความฉิบหายในที่นั้นๆ ภิกษุย่อมไม่เกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้. คำว่า ไม่เกี่ยวข้องในบ้าน ความว่า ภิกษุไม่พึงเกี่ยวข้อง ไม่รับ ไม่ติด ไม่พัวพัน ในบ้าน ไม่พึงเป็นผู้กำหนัดยินดีหลงใหลติดใจในบ้าน พึงเป็นผู้หายกำหนัด ปราศจากกำหนัด สละกำหนัดเสียแล้ว ฯลฯ พึงเป็นผู้มีตนดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงเกี่ยวข้อง ในบ้าน.
ว่าด้วยการพูดเลียบเคียง
[๗๖๔] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะความอยากได้ลาภ ดังต่อไปนี้ การพูดเลียบเคียงเป็นไฉน? การพูดหว่านล้อม การพูดเลียบเคียง การพูดเลียบ เคียงด้วยดี การพูดยกย่อง การพูดยกย่องด้วยดี การพูดผูกพัน การพูดผูกพันด้วยดี การพูดอวดอ้าง การพูดอวดอ้างด้วยดี การพูดฝากรัก ความเป็นผู้พูดมุ่งให้เขารักตน ความเป็นผู้พูดเหลวไหลดังว่า แกงถั่ว ความเป็นผู้พูดประจบ ความเป็นผู้พูดแคะไค้ (ดุจกินเนื้อหลังผู้อื่น) ความเป็นผู้พูด อ่อนหวาน ความเป็นผู้พูดไพเราะ ความเป็นผู้พูดด้วยไมตรี ความเป็นผู้พูดไม่หยาบคาย แก่ ชนเหล่าอื่น แห่งภิกษุผู้มั่นหมายลาภ สักการะและความสรรเสริญ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ เป็นผู้เห็นแก่อามิส หนักอยู่ในโลกธรรม กิริยานี้เรียกว่า การพูด เลียบเคียง. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเลียบเคียงกะชนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูด เลียบเคียงกะชน ๑ ยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชน ๑. ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกะชนอย่างไร? ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดกะชนอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายมี อุปการะมากแก่ฉัน ฉันได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะ อาศัยท่านทั้งหลาย แม้คนอื่นๆ ย่อมสำคัญเพื่อจะให้หรือเพื่อจะทำแก่ฉัน คนเหล่านั้น อาศัย ท่านทั้งหลาย เห็นแก่ท่านทั้งหลาย จึงให้ จึงทำแก่ฉัน แม้ชื่อเก่าเป็นของมารดาและบิดา ชื่อแม้นั้นของฉันหายลับไป ฉันย่อมปรากฏเพราะท่านทั้งหลายว่า เป็นกุลุปกะของอุบาสกโน้น เป็นกุลุปกะของอุบาสิกาโน้น ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกะชนอย่างนี้. ภิกษุยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนอย่างไร? ภิกษุยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนแม้อย่างนี้ว่า ฉันมีอุปการะมากแก่พวกท่าน พวกท่านอาศัยฉันจึงถึงพระ- *พุทธเจ้า เป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณานิบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากเหตุที่ เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ฉันย่อมบอกให้พระบาลี ย่อม บอกให้คำอธิบายพระบาลี ย่อมบอกอุโบสถ ย่อมอำนวยการก่อสร้าง แก่ท่านทั้งหลาย ก็แต่ ท่านทั้งหลายลืมฉันเสียแล้ว ย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาภิกษุเหล่าอื่น ภิกษุยกตนสูง ตั้งผู้ อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนแม้อย่างนี้. คำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชนเพราะความอยากได้ลาภ ความว่า ภิกษุเมื่อจะให้ลาภ สำเร็จ ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน คือพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งการ พูดเลียบเคียงกะชน เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องการ พูดเลียบเคียงเพราะเหตุแห่งลาภ เพราะการณะแห่งลาภ เพราะความบังเกิดขึ้นแห่งลาภ พึง เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะ ความอยากได้ลาภ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอด ในที่ไหนๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะ ความอยากได้ลาภ. [๗๖๕] ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ ไม่พึงศึกษา ความเป็นผู้คะนอง และไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง.
ว่าด้วยการพูดโอ้อวด
[๗๖๖] พึงทราบอธิบายในคำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวดดังต่อไปนี้ ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พูดโอ้อวด อวดอ้าง ภิกษุนั้นย่อมพูดโอ้อวด อวดอ้างว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง ถึงพร้อม ด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นบุตรสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง ถึงพร้อม ด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วยความเชื้อเชิญบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วย ศิลปศาสตร์บ้าง ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยการศึกษาบ้าง ถึงพร้อมด้วยปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอื่นๆ บ้าง เราออกบวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่บ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง ฯลฯ เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัติบ้าง. ภิกษุไม่พูดโอ้อวดอย่างนี้ คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความพูดโอ้อวด พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับการ พูดโอ้อวด พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูด โอ้อวด.
ว่าด้วยการกล่าววาจามุ่งได้
[๗๖๗] พึงทราบอธิบายในคำว่า ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ดังต่อไปนี้ วาจามุ่งได้เป็น ไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าววาจามุ่งได้จีวร กล่าววาจามุ่งได้บิณฑบาต กล่าววาจา มุ่งได้เสนาสนะ กล่าววาจามุ่งได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร วาจานี้เรียกว่า วาจามุ่งได้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุพูดจริงบ้าง พูดเท็จบ้าง พูดส่อเสียดบ้าง พูดไม่ส่อเสียดบ้าง พูดหยาบบ้าง พูดไม่หยาบบ้าง พูดเพ้อเจ้อบ้าง พูดไม่เพ้อเจ้อบ้าง พูดด้วยปัญญาบ้าง เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้วาจานี้ก็เรียกว่า วาจามุ่งได้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุมีจิตเลื่อมใส แสดงธรรมแก่ชนทั้งหลายอื่น ด้วยคิดว่า โอหนอ ขอชนทั้งหลาย พึงฟังธรรมของเรา ครั้นฟังแล้วพึงเลื่อมใสธรรม ครั้นเลื่อมใสแล้วพึงทำอาการของคนผู้เลื่อมใส ต่อเราวาจานี้ก็เรียกว่า วาจามุ่งได้. คำว่า ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ ความว่า ภิกษุไม่พึงบอก ไม่พึงพูด ไม่พึงแสดง ไม่พึง แถลงวาจามุ่งได้ ตลอดถึงวาจาแสดงธรรมเป็นที่สุดคือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มี ซึ่งวาจามุ่งได้ พึงเป็นผู้งดเว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับวาจา มุ่งได้ พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้.
ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง
[๗๖๘] ชื่อว่า ความคะนอง ในคำว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง ได้แก่ความ คะนอง ๓ อย่าง คือ ความคะนองทางกาย ๑ ความคะนองทางวาจา ๑ ความคะนองทางใจ ๑. ความคะนองทางกายเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะ ก็ดี อยู่ในโรงฉันก็ดี อยู่ในเรือนไฟก็ดี อยู่ที่ท่าน้ำก็ดี กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านก็ดี เข้าไปสู่ ละแวกบ้านแล้วก็ดี ก็แสดงความคะนองทางกาย. ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน สงฆ์ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็ง (ยืนไม่ก้ม) พูดบ้าง ไกวแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน คณะ ไม่ทำความยำเกรง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่สวมรองเท้าเดินอยู่ ก็สวมรองเท้าเดินไป เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระเดินอยู่ในที่จงกรมต่ำ ก็เดินในที่จงกรมสูง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระ เดินอยู่บนแผ่นดิน ก็เดินในที่จงกรม ยืนเบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง ไกวแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในคณะ แสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุอยู่ในโรงฉันแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในโรงฉัน ไม่ทำความยำเกรง นั่งแทรกแซงพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง นั่งกีดกันอาสนะพวก ภิกษุที่เป็นนวกะบ้าง ยืนเบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูง บ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง ไกวแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในโรงฉันแสดงความ คะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในเรือนไฟ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระ บ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง ไม่บอก ก่อนแล้วปิดประตูบ้าง ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ ท่าน้ำ ไม่ทำความยำเกรง ลงเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ลงข้างหน้าบ้าง อาบเบียดบ้าง อาบข้างหน้าบ้าง อาบข้างเหนือน้ำบ้าง ขึ้นเบียดบ้าง ขึ้นข้างหน้าบ้าง ขึ้นข้างเหนือน้ำบ้าง ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้. ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน แสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน ไม่ทำความยำเกรง เดินเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง เดินข้างหน้าบ้าง เดินขึ้นหน้าพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน แสดงความ คะนองกายอย่างนี้. ภิกษุเข้าไปในละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางกายอย่างไร? ภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว เมื่อเขาไม่บอกว่า เข้าไปเถิดพระคุณเจ้า ก็เข้าไป เมื่อเขาไม่บอกว่า ยืนอยู่เถิดพระคุณเจ้า ก็ยืน เมื่อเขาไม่บอกว่า นั่งเถิดพระคุณเจ้า ก็นั่ง เข้าไป สู่ที่เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง ยืนอยู่ในที่เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง นั่งอยู่ในที่เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง ถลันเข้าไปในห้องเล็กลับปิดบังของสกุล อันเป็นที่นั่งอยู่แห่งพวกหญิงของสกุล ธิดาของสกุล สะใภ้ของสกุล กุมารีของสกุลบ้าง จับศีรษะเด็กบ้าง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความ คะนองทางกายอย่างนี้. นี้ชื่อว่าความคะนองทางกาย. ความคะนองทางวาจาเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ก็ดี อยู่ใน คณะก็ดี เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วก็ดี ก็แสดงความคะนองทางวาจา. ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ไม่ทำความยำเกรง ไม่บอกพวกภิกษุที่เป็นเถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระ ไม่เชื้อเชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในอารามแก้ปัญหาเอง สวดปาติโมกข์เอง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง ไกวแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้. ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน คณะไม่แสดงความยำเกรง ไม่บอกพวกภิกษุที่เป็นเถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่ เชื้อเชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในอารามแก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็ง พูดบ้าง ไกวแขน พูดบ้าง แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง ไกวแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้. ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร? ภิกษุบางรูปใน ธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว พูดกะสตรีบ้าง กุมารีบ้างและพูดฟุ้งไปว่า ดูกรหญิงมีชื่อ อย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ สิ่งอะไรมีหรือ ยาคูมีไหม ภัตมีไหม ของควรเคี้ยวมีไหม พวกเราจัก ดื่มอะไร จักฉันอะไร จักเคี้ยวอะไร สิ่งอะไรมีหรือ หรือพวกท่านจะให้อะไรแก่เรา ภิกษุเข้า ไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้. นี้ชื่อว่าความคะนองทางวาจา. ความคะนองทางใจเป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ใช่เป็นผู้ออกบวชจาก สกุลสูง ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลสูง ไม่ใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลใหญ่ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลใหญ่ ไม่ใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติ มาก ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก ไม่ใช่เป็นผู้ออกบวชจาก สกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เป็นผู้ทรงจำพระสูตร ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ทรงจำพระสูตร ไม่ใช่เป็นผู้ทรงวินัย ... ไม่ใช่เป็นพระธรรมกถึก ... ไม่ใช่เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ... ไม่ใช่เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็น วัตร ... ไม่ใช่เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... ไม่ใช่เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... ไม่ใช่เป็น ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตร ... ไม่ใช่เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร ... ไม่ใช่เป็นผู้ถือเนสัชชิกธุดงค์เป็นวัตร ... ไม่ใช่เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็น วัตร ... ไม่ใช่เป็นผู้ได้ปฐมฌาน ... ไม่ใช่เป็นผู้ได้ทุติยฌาน ... ไม่ใช่เป็นผู้ได้ตติยฌาน ... ไม่ใช่ เป็นผู้ได้จตุตถฌาน ... ไม่ใช่เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ... ไม่ใช่เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตน สมาบัติ ... ไม่ใช่เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... ไม่ใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัติ ก็มีจิตวางตนเหมือนภิกษุผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าความคะนองทางใจ. คำว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง คือ ภิกษุไม่พึงศึกษา ไม่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ไม่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี ไม่พึงสมาทานประพฤติ ซึ่งความเป็นผู้คะนอง คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้คะนอง พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้คะนอง พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง. [๗๖๙] พึงทราบอธิบายในคำว่า ไม่พึงกล่าวคำแก่งแย่ง ดังต่อไปนี้ ถ้อยคำแก่งแย่ง เป็นไฉน? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขถ้าท่านสามารถ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ เมื่อถ้อยคำ ที่แก่งแย่งกันมีอยู่ ก็ต้องพูดมาก เมื่อพูดมาก ก็ต้องมีความฟุ้งซ่าน เมื่อฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ก็ต้องมี เมื่อไม่สำรวม จิตก็ห่างไกลจากสมาธิ ดังนี้. คำว่า ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง ความว่า ไม่พึงกล่าว พูด แสดง แถลง ถ้อยคำ แก่งแย่ง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งถ้อยคำแก่งแย่ง พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับถ้อยคำแก่งแย่ง พึงเป็นผู้มีจิตปราศจาก แดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงกล่าว ถ้อยคำแก่งแย่ง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ ไม่พึงศึกษาความ เป็นผู้คะนอง และไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง. [๗๗๐] ภิกษุพึงเว้นจากความพูดเท็จ เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความโอ้อวด อนึ่ง ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่น ด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร.
ว่าด้วยมุสาวาทมีด้วยอาการ ๓ อย่าง
[๗๗๑] คำว่า พึงเว้นจากความพูดเท็จ ความว่า มุสาวาทเรียกว่าความพูดเท็จ. บุคคล บางคนในโลกนี้ อยู่ในสภาก็ดี อยู่ในที่ประชุมชนก็ดี ฯลฯ เป็นผู้กล่าวคำเท็จทั้งที่รู้สึกตัว เพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง นี้เรียกว่า ความพูดเท็จ. อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วย อาการ ๓ อย่าง คือ ในเบื้องต้นบุคคลนั้นก็มีความรู้ว่า เราจักพูดเท็จ ๑ เมื่อกำลังพูดอยู่ก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๑ เมื่อพูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว ๑ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อย่างนี้. อนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๔ ด้วยอาการ ๕ ด้วยอาการ ๖ ด้วยอาการ ๗ ด้วยอาการ ๘ คือ ในเบื้องต้น บุคคลนั้นก็มีความรู้ว่า เราจักพูดเท็จ ๑ เมื่อกำลังพูดอยู่ก็รู้ว่า เรากำลังพูด เท็จ ๑ เมื่อพูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว ๑ ปกปิด ทิฏฐิ ๑ ปกปิดความควร ๑ ปกปิดความ ชอบใจ ๑ ปกปิดสัญญา ๑ ปกปิดความจริง ๑ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๘ นี้. คำว่า พึงเว้น จากความพูดเท็จ ความว่า ภิกษุพึงเว้นจากความพูดเท็จ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ ไม่มี ซึ่งความพูดเท็จ เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ความพูดเท็จ พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเว้นจากความพูด เท็จ. [๗๗๒] คำว่า เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความโอ้อวด ความว่า ความเป็นผู้โอ้อวดเป็น ไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้อวดอ้างความโอ้อวด กิริยาที่โอ้อวด ความ เป็นผู้โอ้อวด ความเป็นผู้ฟุ้งเฟ้อ กิริยาที่ฟุ้งเฟ้อ ความเป็นผู้เห่อ กิริยาที่เห่อ ที่มีในบุคคลนั้น ลักษณะนี้เรียกว่า ความเป็นผู้โอ้อวด. คำว่า เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความโอ้อวด ความว่า เมื่อเป็นผู้รู้สึกตัว ไม่พึงทำความเป็นผู้โอ้อวด ไม่พึงยังความโอ้อวดให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความ เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความเป็นผู้ โอ้อวด พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความ โอ้อวด. [๗๗๓] ศัพท์ว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ด้วย ปัญญา ด้วยศีลและวัตร ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ ศัพท์ว่า อถ นี้เป็นไปตามลำดับบท. ภิกษุ บางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นอยู่อย่างเศร้าหมอง ย่อมดูหมิ่นภิกษุอื่นที่เป็นอยู่อย่างประณีตว่า ก็ภิกษุนี้ ทำไมจึงมีความเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย ย่อมได้ฉันพืชทั้งปวง คือ พืชแต่ราก พืชแต่ ลำต้น พืชแต่ผล พืชแต่ยอด พืชแต่พืชเป็นที่ ๕ ภิกษุนี้ข้าม (ทุกข์) ไม่ได้แล้วเพราะความ ที่ตนมีความเพียรเสมอด้วยฟ้าแลบและพะเนินเหล็ก. ภิกษุนั้น ย่อมดูหมิ่นภิกษุอื่นที่เป็นอยู่อย่าง ประณีต ด้วยความเป็นอยู่เศร้าหมอง. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นอยู่อย่างประณีต ย่อมดู หมิ่นภิกษุอื่นที่เป็นอยู่อย่างเศร้าหมองว่า ภิกษุนี้ ทำไมจึงมีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. ภิกษุนั้น ย่อมดูหมิ่นภิกษุอื่นที่เป็นอยู่อย่าง เศร้าหมองด้วยความเป็นอยู่อย่างประณีต. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ใครถามปัญหาแล้ว ก็แก้ได้. เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ส่วนภิกษุ อื่นเหล่านี้ ไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญา. เธอก็ดูหมิ่นภิกษุอื่น ด้วยความถึงพร้อม ด้วยปัญญานั้น. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม. เธอก็ดูหมิ่นภิกษุอื่นด้วยความถึงพร้อมด้วยศีลนั้น. ภิกษุบางรูปใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร คือ เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็น วัตร เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตาม ลำดับตรอกเป็นวัตร เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร เป็นผู้ถือเนสัชชิกธุดงค์เป็นวัตร หรือ เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร. เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร. เธอก็ดูหมิ่นภิกษุอื่นด้วย ความถึงพร้อมด้วยวัตรนั้น. คำว่า อนึ่ง ไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วย ศีลและวัตร ความว่า ไม่ควรดูหมิ่นดูแคลนผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่เศร้าหมอง ด้วยความเป็น อยู่ประณีต ด้วยความถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยความถึงพร้อมด้วยศีล หรือด้วยความถึงพร้อม ด้วยวัตร คือ ไม่พึงให้ความถือตัวเกิดขึ้นด้วยความเป็นอยู่เป็นต้นนั้น ไม่พึงเป็นผู้หัวดื้อ หัวแข็ง หัวสูง ด้วยความเป็นอยู่เป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง ไม่พึงดูหมิ่น ผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัส ตอบว่า ภิกษุพึงเว้นจากความพูดเท็จ เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความโอ้อวด อนึ่ง ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร. [๗๗๔] ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ฟังวาจามากของพวกสมณะ หรือของพวกคน ผู้มีถ้อยคำมาก ไม่พึงโต้ตอบกะคนเหล่านั้น ด้วยคำหยาบ เพราะภิกษุ ผู้สงบ ย่อมไม่ทำผู้อื่นให้เป็นศัตรู. [๗๗๕] คำว่า ถูกประทุษร้าย ในคำว่า ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ฟังวาจามากของ พวกสมณะ หรือของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก ความว่า คนอื่นประทุษร้าย ด่า เสียดสี เหยียด หยาม ติเตียน ค่อนว่าเข้าแล้ว. คำว่า ของพวกสมณะ คือ พวกชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้ เข้าถึงการบวช ยอมตัวบวช ในภายนอกแต่ศาสนานี้. คำว่า ของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก คือ พวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร์ คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. ชน เหล่านั้นพึงด่า บริภาษ ติเตียน สาปแช่ง เบียดเบียน ย่ำยี ให้ฆ่า เข้าไปฆ่าเอง ทำ ความเข้าไปฆ่าด้วยวาจาเป็นอันมาก อันไม่น่าปรารถนารักใคร่ชอบใจ. ภิกษุได้ฟัง ได้ยิน จำ ไว้ เข้าไปทรงจำไว้ กำหนดแล้วซึ่งวาจามาก ของชนเหล่านั้น อันไม่น่าปรารถนารักใคร่ ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ฟังวาจาของพวกสมณะ หรือของ พวกคนผู้มีถ้อยคำมาก. [๗๗๖] คำว่า ด้วยคำหยาบ ในคำว่า ไม่พึงโต้ตอบกะคนเหล่านั้นด้วยคำหยาบ ความว่า ด้วยคำหยาบคาย. คำว่า ไม่พึงโต้ตอบ คือ ไม่พึงกล่าวตอบ ไม่พึงด่าตอบคนที่ ด่า ไม่พึงแช่งตอบคนที่แช่ง ไม่พึงขัดเคืองตอบคนที่ขัดเคือง ไม่พึงทำความทะเลาะ ไม่พึง ทำความขัดเคือง ไม่พึงทำความแก่งแย่ง ไม่พึงทำความวิวาท ไม่พึงทำความทุ่มเถียง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความทะเลาะ ความขัดเคือง ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง พึงงด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง กับความทะเลาะ ความขัดเคือง ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง พึงเป็นผู้มีจิต ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงโต้ตอบกะคนเหล่านั้นด้วยคำหยาบ. [๗๗๗] คำว่า ผู้สงบ ในคำว่า เพราะภิกษุผู้สงบย่อมไม่ทำผู้อื่นให้เป็นศัตรู ความ ว่า ภิกษุชื่อว่าผู้สงบ เข้าไปสงบ สงัด ดับ ระงับ เพราะราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นบาปธรรมสงบ ถึงความสงบ สงัด ไหม้ ดับ หายไป ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้สงบ. คำว่า ภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำให้ ผู้อื่นเป็นศัตรู ความว่า ภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำผู้อื่นให้เป็นศัตรู ให้เป็นข้าศึก ให้เป็นเสี้ยน หนาม ให้เป็นปฏิปักษ์ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำผู้อื่นให้เป็นศัตรู เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ ภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ฟังวาจามากของพวกสมณะ หรือของพวกคน ผู้มีถ้อยคำมาก ไม่พึงโต้ตอบกะชนเหล่านั้นด้วยคำหยาบ เพราะภิกษุ ผู้สงบ ย่อมไม่ทำผู้อื่นให้เป็นศัตรู. [๗๗๘] ก็ภิกษุรู้ธรรมนั้นแล้วค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาในกาลทุกเมื่อ ภิกษุรู้ความดับว่าเป็นความสงบแล้ว ไม่พึงประมาทในศาสนาของ พระโคดม. [๗๗๙] คำว่า นั้น ในคำว่า ภิกษุรู้ธรรมนั้นแล้ว คือ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัส บอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว. คำว่า รู้ ธรรมนั้นแล้ว ความว่า รู้ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว แม้ ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่ารู้ธรรมนั้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งธรรมอันเสมอ ธรรมอันไม่เสมอ ธรรมเป็นทาง ธรรมไม่เป็นทาง ธรรม มีโทษ ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเลว ธรรมประณีต ธรรมดำ ธรรมขาว ธรรมที่วิญญูชนติเตียน ธรรมที่วิญญูชนสรรเสริญ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า รู้ธรรมนั้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ซึ่งความปฏิบัติชอบ ความ ปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน ธรรมเป็นข้อปฏิบัติ เครื่องให้ถึงนิพพานแม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่ารู้ธรรมนั้นแล้ว. [๗๘๐] คำว่า ค้นคว้าอยู่ ในคำว่า ภิกษุค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาในกาล ทุกเมื่อ ความว่า ค้นคว้าอยู่ คือ ค้นหา พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็น แจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง มีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ค้นคว้าอยู่. คำว่า ในกาลทุกเมื่อ คือ ใน กาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า มีสติ คือ มีสติ โดยเหตุ ๔ อย่าง คือ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ก็มีสติ ฯลฯ ภิกษุนั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสติ. คำว่า พึงศึกษา ความว่า สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญสิกขา ฯลฯ นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา. ภิกษุนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้อยู่ ก็พึงศึกษา ฯลฯ พึงศึกษา คือ พึง ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทาน ประพฤติไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาในกาลทุกเมื่อ. [๗๘๑] คำว่า รู้ความดับว่าเป็นความสงบแล้ว ความว่า รู้ ทราบ พิจารณา เทียบ เคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ซึ่งความดับราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร ทั้งปวง ว่าเป็นความสงบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ความดับว่าเป็นความสงบแล้ว. [๗๘๒] คำว่า ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม ความว่า ในศาสนาของพระ โคดม คือ ในพุทธศาสนา ในศาสนาของพระชินเจ้า ในศาสนาของพระตถาคต ในศาสนา ของท่านผู้เป็นเทพ ในศาสนาของพระอรหันต์. คำว่า ไม่พึงประมาท ความว่า พึงเป็นผู้ทำ โดยเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ฝ่ายกุศล ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความ เป็นผู้ขยัน ความเป็นผู้มีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ ความระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความ เพียรเป็นเครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว ความเพียรอันพึงตั้งไว้ ความตั้งใจ ความหมั่น ประกอบใน กุศลธรรมนั้นว่า เมื่อไรเราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ ฯลฯ เมื่อไรเราพึงยัง สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ เมื่อ ไรเราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้ก็ดี พึงละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ก็ดี พึงเจริญมรรค ที่ยังไม่เจริญก็ดี พึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ที่ยังไม่ทำให้แจ้งแล้วก็ดี ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรม ทั้งหลายฝ่ายกุศล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม. เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุรู้ธรรมนั้นแล้วค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษาในกาลทุกเมื่อ ภิกษุ รู้ความดับว่าเป็นความสงบแล้ว ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม. [๗๘๓] ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรมโดย ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นแหละภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทใน ศาสนาของพระผู้มีพระภาคนั้น นมัสการอยู่พึงหมั่นศึกษาในกาลทุก เมื่อ พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้. [๗๘๔] คำว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ความว่า ภิกษุชื่อว่าเป็น ผู้ครอบงำ เพราะครอบงำ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นผู้ไม่ถูกกิเลสอะไร ครอบงำ อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ครอบงำเหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันทำให้เศร้าหมองอัน ให้เกิดในภพ ใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ อันเป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ. [๗๘๕] คำว่า ซึ่งสักขิธรรม ในคำว่า ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้ อื่น ความว่า ได้เห็น เห็นทั่ว พบเห็น แทงตลอดแล้ว ซึ่งธรรมที่ประจักษ์แก่ตน อันตนรู้ ยิ่งเองมิใช่โดยต้องเชื่อต่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยได้ฟังต่อๆ กันมา มิใช่โดยถือตามลำดับสืบๆ กันมา มิใช่โดยได้อ้างตำรา มิใช่โดยนึกเดาเอาเอง มิใช่โดยคาด- *คะเนเอา มิใช่โดยได้ตรึกตามอาการ มิใช่โดยเห็นว่าควรแก่ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น. [๗๘๖] คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้นแหละ ... ในศาสนาของพระผู้มี พระภาคนั้น ความว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณะนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะ นิทานนั้น. คำว่า ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคนั้น ความว่า ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคนั้น คือ ในศาสนาของพระโคดม ในพุทธศาสนา ในศาสนาของพระชินเจ้า ในศาสนาของพระ ตถาคต ในศาสนาของท่านผู้เป็นเทพ ในศาสนาของพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะ ฉะนั้นแหละ ... ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคนั้น. [๗๘๗] คำว่า พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาท นมัสการอยู่ พึงตามศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ทำโดยความเคารพ ฯลฯ ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. คำว่า ในกาลทุกเมื่อ คือ ในกาลทุกเมื่อ ในกาล ทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า นมัสการอยู่ ความว่า นมัสการ สักการะ เคารพ นับ ถือ บูชา ยำเกรง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยจิต ด้วยความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์หรือด้วย ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. คำว่า พึงหมั่นศึกษา ความว่า สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา. ภิกษุนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้อยู่ ก็พึง ศึกษา ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งอยู่ ก็พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติ เอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติ. คำว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ ฯลฯ เป็น สัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ... นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาใน กาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ ต้องเชื่อต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนา ของพระผู้มีพระภาคนั้น นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล.
จบ ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๗๖๓๙-๙๐๙๓ หน้าที่ ๓๒๑-๓๘๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=7639&Z=9093&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=699&items=89              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=699&items=89&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=699&items=89              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=699&items=89              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=699              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]