ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๘๗๖] คำว่า ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
กิเลสทั้งหลาย อันก่อให้เกิดภัย เพราะผู้นั้นเป็นผู้ละราคะอันก่อให้เกิดภัย ฯลฯ ละกิเลสทั้งหลาย
อันก่อให้เกิดภัยเสียแล้ว ชื่อว่าย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง คือ ย่อมเห็นความไม่มีภัย
ไม่มีเสนียด ไม่มีอุบาทว์ ไม่มีอุปสรรค ความระงับ ในที่ทุกสถาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          อภิสังขารอะไรๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่ บุคคลนั้น
                          งดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง.
             [๘๗๗] 	มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวกคนที่ต่ำกว่า ในพวก
                          คนที่สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ผู้ปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ
                          ย่อมไม่สลัด (พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้).
ว่าด้วยคุณสมบัติของมุนี
[๘๗๘] คำว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวกคนที่ต่ำกว่า ในพวก คนที่สูงกว่า ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่อง ข้อง และตัณหาเพียงดังข่ายดำรงอยู่ บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. มุนีย่อมไม่พูดถึง ไม่กล่าว ไม่บอก ไม่แสดง ไม่แถลง ว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา หรือว่า เราเลวกว่าเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวกคนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า. [๘๗๙] คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า มุนีนั้น เป็นผู้สงบปราศจากความตระหนี่ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับแล้ว ระงับแล้ว เพราะราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นสภาพ สงบ สงบเงียบ เข้าไปสงบวิเศษ ถูกเผา ดับ ปราศไป ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ. คำว่า ปราศจากความ ตระหนี่ ความว่า ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความหวงไว้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่. ความตระหนี่นั้น อันมุนีใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้นเรียกว่า ผู้ปราศจากความตระหนี่ หายจาก ความตระหนี่ กำจัดความตระหนี่ สำรอกความตระหนี่ พ้นความตระหนี่ ละความตระหนี่ สละคืนความตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากความตระหนี่. [๘๘๐] คำว่า ย่อมไม่ยึดถือ ในความว่า ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด พระผู้มีพระภาค ตรัสดังนี้ ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ยึดถือ ไม่ถือเอา ไม่เข้าไปถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือ มั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ยึดถือ. คำว่า ย่อมไม่สลัด ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ละ ไม่ บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มีซึ่ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่สลัด. คำว่า ภควา เป็นคำเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ บทว่า ภควา นี้เป็นสัจฉิกาบัญญัติ. เพราะเหตุนั้น พระ ผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวกคนที่ต่ำกว่า ในพวก คนที่สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด (พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้).
จบ อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๐๐๙๙-๑๐๑๓๖ หน้าที่ ๔๒๔-๔๒๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=10099&Z=10136&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=876&items=5              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=876&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=876&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=876&items=5              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=876              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]